หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับกลุ่มงาน

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-BNRN-508A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับกลุ่มงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กำหนดความสามารถที่จำเป็นในการใช้ทักษะและความรู้ในการใช้หรืออัพเกรดเทคโนโลยีใหม่ ความสำคัญและที่มาของหน่วยนี้เน้นความสำคัญของการตรวจสอบกระบวนการทำงาน ทักษะและเทคนิคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่ามีการรักษาระดับคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับสูงสุดด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้วิศวกรชีวการแพทย์จึงต้องคอยติดตามงานวิจัย เพื่อค้นพบและใช้เทคโนโลยีหรือเทคนิคใหม่ด้านอุปกรณ์ชีวการแพทย์ในการปรับปรุงกิจการขององค์กรโดยจะทำการทดสอบสมรรถนะย่อย ได้แก่ บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับกลุ่มงานหรือระดับภาพรวมทั้งโรงพยาบาล ให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้งาน ตามมาตรฐานสากล ประเมินมูลค่า วิเคราะห์ต้นทุนในงานเครื่องมือแพทย์ของกลุ่มงานหรือโรงพยาบาล และวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานข้อเสนอต่อผู้บริหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพนักเทคโนโลยีคลินิก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3060201

บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับกลุ่มงานหรือระดับภาพรวมทั้งโรงพยาบาล ให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้งาน ตามมาตรฐานสากล

1.1 จัดทำระบบทะเบียน และฐานข้อมูลเครื่องมือแพทย์ Inventoryในระดับกลุ่มงานหรือโรงพยาบาล

3060201.01 219807
3060201

บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับกลุ่มงานหรือระดับภาพรวมทั้งโรงพยาบาล ให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้งาน ตามมาตรฐานสากล

1.2 จำแนกเครื่องมือตามระดับความเสี่ยงและแนวทางมาตรฐานสากล

3060201.02 219808
3060201

บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับกลุ่มงานหรือระดับภาพรวมทั้งโรงพยาบาล ให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้งาน ตามมาตรฐานสากล

1.3 ติดตาม ประเมินความเพียงพอ

3060201.03 219809
3060201

บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับกลุ่มงานหรือระดับภาพรวมทั้งโรงพยาบาล ให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้งาน ตามมาตรฐานสากล

1.4 บริหารจัดการระบบเครื่องมือ แพทย์ ตามมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานในประเทศที่กำหนดขึ้น

3060201.04 219810
3060202

ประเมินมูลค่าวิเคราะห์ต้นทุนในงานเครื่องมือแพทย์ของกลุ่มงานหรือโรงพยาบาล

2.1 ประเมินความต้องการใช้งานเครื่องมือแพทย์ของกลุ่มงานหรือโรงพยบาล

3060202.01 219811
3060202

ประเมินมูลค่าวิเคราะห์ต้นทุนในงานเครื่องมือแพทย์ของกลุ่มงานหรือโรงพยาบาล

2.2 ระบุปัญหาความไม่เพียงพอของเครื่องมือแพทย์ของกลุ่มงาน

3060202.02 219812
3060202

ประเมินมูลค่าวิเคราะห์ต้นทุนในงานเครื่องมือแพทย์ของกลุ่มงานหรือโรงพยาบาล

2.3 จัดทำแผนการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ประจำปี

3060202.03 219813
3060203

วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานข้อเสนอต่อผู้บริหาร

3.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ในระดับกลุ่มงานหรือโรงพยาบาล เพื่อการพัฒนาคุณภาพ และการบริหารองค์กร

3060203.01 219814
3060203

วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานข้อเสนอต่อผู้บริหาร

3.2 วิเคราะห์และจัดทำรายงานความต้องการใช้งานเสนอผู้บริหาร

3060203.02 219815

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        1.   30101  ประเมินความคุ้มค่า เหมาะสมเครื่องมือแพทย์ (Technology Assessment)

        2.   30103  จัดเตรียมข้อมูลสำหรับจัดทำคุณสมบัติเครื่องมือแพทย์

        3.   30201  จัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ในระดับต้น สำหรับใช้งานกับผู้ป่วย

        4.   30203  ติดตั้งเครื่องมือแพทย์แบบ Noninvasive ระดับต้นกับผู้ป่วย

        5.   30205  เฝ้าระวัง ติดตาม การทำงานเครื่องมือแพทย์ระดับต้นระหว่างใช้งาน

        6.   30301  ร่วมจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

        7.   30303  บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

        8.   30401  แก้ไขปัญหาการทำงานผิดปกติของเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

        9.   30501  ให้คำแนะนำในการใช้งาน แก่ผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์อื่นในเบื้องต้น

        10.  30601  บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับหน่วยงาน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการบริหารจัดการทรัพยากร (Utilization management)

-    ทักษะการประเมินเทคโนโลยี ทางการแพทย์

-    ทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

-    ทักษะการบริหารโครงการ

-    ทักษะการบริหารความเสี่ยง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    การจัดการทรัพยากร (Utilization management)

-    การบริหารความเสี่ยง

-    มาตรฐานการจัดการเครื่องมือแพทย์

-    การบริหารโครงการ

-    ระเบียบงานพัสดุ การจัดซื้อ จัดจ้าง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

      (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              N/A

      (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              N/A

      (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

              N/A

      (ง)    วิธีการประเมิน

              N/A

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      (ก)    คําแนะนํา

              N/A

      (ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

              -    มาตรฐานการจัดการเครื่องมือแพทย์ HA หรือมาตรฐานล่าสุดที่ประกาศใช้ภายในประเทศ

              -    มาตรฐานการจัดการเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐานสากล JCI, ISO

             เครื่อง (Equipment)

              -    ระบบเครื่องไตเทียม (Hemodialysis system) ได้แก่

                   •    ระบบน้ำบริสุทธิ์ (Water purification system)

                   •    เครื่องไตเทียม (Dialysis machine)

                   •    เครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่อง Continuous renal replacement  therapy  (Multifunctional machine) 

                   •    เครื่องล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis machine)

                   •    เครื่องฟอกไตแบบ Apheresis machine (centrifugal and membrane technique including absorbers)

                   •    ตัวกรอง (Dialyzer)

              -    เครื่องมือในระบบหายใจ (Respiration) ได้แก่

                   •    เครื่องช่วยหายใจเบิร์ด (Bird’s ventilator)

                   •    เครื่องช่วยหายใจแบบเมคคานิกส์ แบบโหมดพื้นฐาน (Mechanical ventilators (Basic mode))

                   •    เครื่องช่วยหายใจแบบเมคคานิกส์ แบบโหมดขั้นสูง Mechanical ventilators (Advance mode)

                   •    เครื่องช่วยหายใจแบบไม่รุกล้ำ (Noninvasive Oxygen therapy)

              -    เครื่องมือในระบบประสาท (Neurological)

                   •    เครื่องควบคุมอุณหภูมิผู้ป่วยร้อน/เย็น (Hypo/hyperthermia)

                   •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

                   •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)

                   •    เครื่องตรวจการนอนหลับ (Sleep lab)

             -    เครื่องเฝ้าระวังและติดตามสัญญานชีพผู้ป่วย (Patient Monitors)

                   •    เครื่องวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับชีพจร (Pulse pressure variation)

                   •    เครื่องวัดปริมาตรก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ขณะหายใจออกสิ้นสุด (End tidal CO2)

                   •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบรุกล้ำ แบบ PAOP

                   •    เครื่องวัดปริมาณเลือดที่ไหลออกจากหัวใจ (Cardiac output monitoring)

                   •    เครื่องวัดความต้านทานภายในแบบเทอโมกราฟฟี่ (Electro impedance tomography (EIT))

                   •    อุปกรณ์วัดความดันในหลอดลม (Esophageal pressure)

                   •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบไม่รุกล้ำ (NIBP)

                   •    เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oxymeter)

                   •    เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)

                   •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบรุกล้ำ (Arterial blood pressure, CVP monitoring)

             -    เครื่องดมยาสลบ (Anesthetic machine)

             -    กล้องส่องภายใน (Endoscope)

            สถานที่ปฏิบัติงาน (Worksite) 

             -    แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) / หอผู้ป่วย (Ward) /ห้องฉุกเฉิน  (Emergency Room) /หอผู้ป่วยหนัก (ICU)

             -    ห้องผ่าตัด (Operation Room) / ห้องคลอด (Delivery Room)

             -    หน่วยงานไตเทียม (Dialysis Unit)

             -    หน่วยงานส่องกล้อง (Endoscope Unit)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน:

      -    การสัมภาษณ์ / ข้อสอบข้อเขียน

      -    สาธิตการปฏิบัติงาน (จำลอง)

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

 



ยินดีต้อนรับ