หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขปัญหาและซ่อมแซมความผิดปกติของเครื่องมือแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-VEBY-504A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขปัญหาและซ่อมแซมความผิดปกติของเครื่องมือแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมความรู้ทักษะและทัศนคติที่จำเป็นในการดำเนินการค้นหาและซ่อมแซมความผิดพลาดของเครื่องมือและเทคโนโลยีคลินิกโดยจะทำการทดสอบสมรรถนะย่อย ได้แก่ 3040201  ประเมินและจำแนก อาการชำรุดของเครื่องมือแพทย์ระดับสูง วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติของเครื่องมือแพทย์ระดับสูง แก้ไขความผิดปกติหรือปัญหาจากการทำงานของเครื่องมือแพทย์ระดับสูงตามสาเหตุ ซ่อมแซม อาการชำรุดของเครื่องมือแพทย์ขั้นต้น และตรวจสอบความพร้อมเครื่องมือแพทย์หลังการซ่อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพนักเทคโนโลยีคลินิก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3040201

ประเมินและจำแนก อาการชำรุดของเครื่องมือแพทย์ระดับสูง

1.1 ประเมินอาการชำรุดเครื่องมือแพทย์ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

3040201.01 219780
3040201

ประเมินและจำแนก อาการชำรุดของเครื่องมือแพทย์ระดับสูง

1.2 จำแนกอาการชำรุดจากตัวเครื่องและการใช้งานตามที่กำหนด

3040201.02 219781
3040202

วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติของเครื่องมือแพทย์ระดับสูง

2.1 วิเคราะห์สาเหตุของการชำรุดได้ถูกต้องและสอดคล้องกับอาการชำรุดที่เกิดขึ้น   

3040202.01 219782
3040202

วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติของเครื่องมือแพทย์ระดับสูง

2.2 ระบุสาเหตุของการชำรุดได้โดยใช้เครื่องมือช่างและเครื่องมือทดสอบที่เหมาะสม สอดคล้องกับกระบวนการปฏิบัติงานหรือคู่มือการแก้ไขความผิดปกติ (Troubleshooting)

3040202.02 219783
3040203

แก้ไขความผิดปกติหรือปัญหาจากการทำงานของเครื่องมือแพทย์ระดับสูงตามสาเหตุ

3.1 สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาความผิดปกติเบื้องต้นตามสาเหตุ

3040203.01 219784
3040203

แก้ไขความผิดปกติหรือปัญหาจากการทำงานของเครื่องมือแพทย์ระดับสูงตามสาเหตุ

3.2 เปลี่ยนชิ้นส่วน/อะไหล่ ทดแทน อุปกรณ์ที่ชำรุด

3040203.02 219785
3040204

ซ่อมแซม อาการชำรุดของเครื่องมือแพทย์ขั้นต้น

4.1 สามารถดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขอาการชำรุดเบื้องต้นด้วยเทคนิคเชิงช่างตามสาเหตุการชำรุดของเครื่องมือ

3040204.01 219786
3040204

ซ่อมแซม อาการชำรุดของเครื่องมือแพทย์ขั้นต้น

4.2 สามารถดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขอาการชำรุดเครื่องมือแพทย์ตามคู่มือ (Service manual)

3040204.02 219787
3040205

ตรวจสอบความพร้อมเครื่องมือแพทย์หลังการซ่อม

5.1 ทดสอบเครื่องมือแพทย์หลังการตรวจซ่อมด้วยเครื่องมือทดสอบ

3040205.01 219788
3040205

ตรวจสอบความพร้อมเครื่องมือแพทย์หลังการซ่อม

5.2 ปรับตั้ง/แก้ไขเครื่องมือแพทย์หากผลการทดสอบไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และทำการทดสอบซ้ำ

3040205.02 219789

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        1.   30101  ประเมินความคุ้มค่า เหมาะสมเครื่องมือแพทย์ (Technology Assessment)

        2.   30103  จัดเตรียมข้อมูลสำหรับจัดทำคุณสมบัติเครื่องมือแพทย์

        3.   30201  จัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ในระดับต้น สำหรับใช้งานกับผู้ป่วย

        4.   30203  ติดตั้งเครื่องมือแพทย์แบบ Noninvasive ระดับต้นกับผู้ป่วย

        5.   30205  เฝ้าระวัง ติดตาม การทำงานเครื่องมือแพทย์ระดับต้นระหว่างใช้งาน

        6.   30301  ร่วมจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

        7.   30303  บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

        8.   30401  แก้ไขปัญหาการทำงานผิดปกติของเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

        9.   30501  ให้คำแนะนำในการใช้งาน แก่ผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์อื่นในเบื้องต้น

        10.  30601  บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับหน่วยงาน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการบำรุงรักษา

-    ทักษะการจัดทำแผนงาน

-    ทักษะการสื่อสารเพื่อตีความและนิยามและอธิบายขั้นตอนการทำงาน

-    ทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน    

-    ทักษะการบัดกรี

-    ทักษะการการแก้ไขปัญหาการทำงานของเครื่อง    

-    ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เรื่องข้อมูลจำเพาะของเครื่องมือและการใช้งานที่เหมาะสม

-    แนวคิดและหลักการทั่วไปด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

     •    แหล่งจ่ายไฟตรง/ไฟสลับ (AC/DC power supplies)

     •    อุปกรณ์ขยายสัญญาณ(Operational amplifiers)

     •    ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์

     •    เทคนิคการเดินสายไฟ

     •    ไมโครโพรเซสเซอร์

     •    โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน

-    การใช้งานอุปกรณ์ (Instrument) และ/หรือเครื่อง (Equipment) ทดสอบ

-    การประยุกต์ใช้ทางคลินิกของ เครื่อง/อุปกรณ์/เครื่องมือ (Tools)

-    การบำรุรักษาเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐานสากล

-    การจัดการเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

      (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              -    มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง

      (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              -    มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

      (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

              -    หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่นำมาแสดงจะต้องออกให้หรือรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับสายงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

      (ง)    วิธีการประเมิน

              -    ยื่นหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      (ก)    คําแนะนํา

              N/A

      (ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

              เครื่องมือช่าง (Tools)

              -    มัลติมิเตอร์ (Multi meter)

              -    ชุดทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า (Electrical Safety Test Device)

              -    คีม (Pliers)

              -    ไขควง (Screwdriver)

              -    ปืนบัดกรี (Soldering iron)

              -    ประแจ (Wrench)

             เครื่อง (Equipment)

              -    ระบบเครื่องไตเทียม (Hemodialysis system) ได้แก่

                   •    ระบบน้ำบริสุทธิ์ (Water purification system)

                   •    เครื่องไตเทียม (Dialysis machine)

                   •    เครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่อง Continuous renal replacement  therapy  (Multifunctional machine) 

                   •    เครื่องล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis machine)

                   •    เครื่องฟอกไตแบบ Apheresis machine (centrifugal and membrane technique including absorbers)

                   •    ตัวกรอง (Dialyzer)

              -    เครื่องมือในระบบหายใจ (Respiration) ได้แก่

                   •    เครื่องช่วยหายใจเบิร์ด (Bird’s ventilator)

                   •    เครื่องช่วยหายใจแบบเมคคานิกส์ แบบโหมดพื้นฐาน (Mechanical ventilators (Basic mode))

                   •    เครื่องช่วยหายใจแบบเมคคานิกส์ แบบโหมดขั้นสูง Mechanical ventilators (Advance mode)

                   •    เครื่องช่วยหายใจแบบไม่รุกล้ำ (Noninvasive Oxygen therapy)

              -    เครื่องมือในระบบประสาท (Neurological)

                   •    เครื่องควบคุมอุณหภูมิผู้ป่วยร้อน/เย็น (Hypo/hyperthermia)

                   •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

                   •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)

                   •    เครื่องตรวจการนอนหลับ (Sleep lab)

              -    เครื่องเฝ้าระวังและติดตามสัญญานชีพผู้ป่วย (Patient Monitors)

                   •    เครื่องวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับชีพจร (Pulse pressure variation)

                   •    เครื่องวัดปริมาตรก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ขณะหายใจออกสิ้นสุด (End tidal CO2)

                   •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบรุกล้ำ แบบ PAOP

                   •    เครื่องวัดปริมาณเลือดที่ไหลออกจากหัวใจ (Cardiac output monitoring)

                   •    เครื่องวัดความต้านทานภายในแบบเทอโมกราฟฟี่ (Electro impedance tomography (EIT))

                   •    อุปกรณ์วัดความดันในหลอดลม (Esophageal pressure)

                   •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบไม่รุกล้ำ (NIBP)

                   •    เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oxymeter)

                   •    เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)

                   •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบรุกล้ำ (Arterial blood pressure, CVP monitoring)

             -    เครื่องดมยาสลบ (Anesthetic machine)

             -    กล้องส่องภายใน (Endoscope)

            สถานที่ปฏิบัติงาน (Worksite) 

             -    แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) /หอผู้ป่วย (Ward) /ห้องฉุกเฉิน (Emergency Room) /หอผู้ป่วยหนัก (ICU)

             -    ห้องผ่าตัด (Operation Room) / ห้องคลอด (Delivery Room)

             -    หน่วยงานไตเทียม (Dialysis Unit)

             -    หน่วยงานส่องกล้อง (Endoscope Unit)

            ข้อมูลและคู่มือบริการ (Service manuals and information) 

             -    คู่มือการทำงาน    

             -    แผ่นรายงานการทำงาน

             -    คู่มือบริการ คู่มือทางเทคนิค    

             -    ใบสั่ง/ใบคำขอ การทำงาน

             -    คู่มือติดตั้ง    

             -    บัตรประวัติเครื่อง

             -    คู่มือรายการชิ้นส่วน    

             -    ดัชนีผู้จำหน่าย

             -    มาตรฐาน ECRI และ มาตรฐานการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์สากล

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน:

      -    การสัมภาษณ์ / ข้อสอบข้อเขียน

      -    สาธิตการปฏิบัติงาน (จำลอง)

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

 



ยินดีต้อนรับ