หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เฝ้าระวัง ติดตาม การทำงานเครื่องมือแพทย์ระดับสูงระหว่างใช้งาน

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-JGMT-498A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เฝ้าระวัง ติดตาม การทำงานเครื่องมือแพทย์ระดับสูงระหว่างใช้งาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมความรู้ทักษะและทัศนคติขั้นสูงที่จำเป็นในการเฝ้าระวัง ติดตาม การทำงานเครื่องมือแพทย์ระดับสูงระหว่างใช้งานโดยจะทำการทดสอบสมรรถนะย่อย ได้แก่ ตรวจจับปัญหาความผิดปกติระหว่างใช้งานของเครื่องมือแพทย์ วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติทั่วไปของเครื่องมือแพทย์ วิเคราะห์สาเหตุของความผิดปกติที่ซับซ้อนทั้งตัวเครื่องและอาการผู้ป่วยร่วมกัน และควบคุมการทำงานของเครื่องมือแพทย์ในระดับสูงตามระบบควบคุมการติดเชื้อ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพนักเทคโนโลยีคลินิก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3020601

ตรวจจับปัญหาความผิดปกติระหว่างใช้งานของเครื่องมือแพทย์

1.1 เฝ้าระวัง (Monitor) การทำงานของเครื่องมือแพทย์ แต่ละชนิด

3020601.01 219742
3020601

ตรวจจับปัญหาความผิดปกติระหว่างใช้งานของเครื่องมือแพทย์

1.2 ประเมินผู้ป่วยเบื้องต้น

3020601.02 219743
3020601

ตรวจจับปัญหาความผิดปกติระหว่างใช้งานของเครื่องมือแพทย์

1.3 รู้สัญญาณบ่งชี้เครื่องทำงานผิดปกติ

3020601.03 219744
3020602

วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติทั่วไปของเครื่องมือแพทย์

2.1 บอกสาเหตุความผิดปกติของเครื่องหรือการ Alarm

3020602.01 219745
3020602

วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติทั่วไปของเครื่องมือแพทย์

2.2 บอกสาเหตุความผิดปกติที่เกิดจากความตัวผู้ป่วย

3020602.02 219746
3020602

วินิจฉัยสาเหตุความผิดปกติทั่วไปของเครื่องมือแพทย์

2.3 สามารถวิเคราะห์ แปรผลปัญหาที่เกิดจากการใช้งานเครื่องมือแพทย์ฯ

3020602.03 219747
3020603

วิเคราะห์สาเหตุของความผิดปกติที่ซับซ้อนทั้งตัวเครื่องและอาการผู้ป่วยร่วมกัน

3.1 ประเมินอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยตามระบบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือที่ใช้

3020603.01 219748
3020603

วิเคราะห์สาเหตุของความผิดปกติที่ซับซ้อนทั้งตัวเครื่องและอาการผู้ป่วยร่วมกัน

3.2 วิเคราะห์แปลผลการวัดที่ได้เช่น Wave form ต่างๆ

3020603.02 219749
3020604

ควบคุมการทำงานของเครื่องมือแพทย์ระดับสูงตามระบบควบคุมการติดเชื้อ

4.1 ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมการติดเชื้อและเฝ้าระวัง

3020604.01 219750
3020604

ควบคุมการทำงานของเครื่องมือแพทย์ระดับสูงตามระบบควบคุมการติดเชื้อ

4.2 ทำความสะอาด เก็บรักษาเครื่องมือได้ถูกหลักการควบคุมการติดเชื้อ

3020604.02 219751

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        1.   30101 ประเมินความคุ้มค่า เหมาะสมเครื่องมือแพทย์ (Technology Assessment)

        2.   30103 จัดเตรียมข้อมูลสำหรับจัดทำคุณสมบัติเครื่องมือแพทย์

        3.   30201 จัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ในระดับต้น สำหรับใช้งานกับผู้ป่วย

        4.   30203 ติดตั้งเครื่องมือแพทย์แบบ Noninvasive ระดับต้นกับผู้ป่วย

        5.   30205 เฝ้าระวัง ติดตาม การทำงานเครื่องมือแพทย์ระดับต้นระหว่างใช้งาน

        6.   30301 ร่วมจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

        7.   30303 บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

        8.   30401 แก้ไขปัญหาการทำงานผิดปกติของเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

        9.   30501 ให้คำแนะนำในการใช้งาน แก่ผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์อื่นในเบื้องต้น

        10.  30601 บริหาร จัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับหน่วยงาน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการเฝ้าระวัง ติดตามสภาวะผู้ป่วยด้วยเครื่องมือ

-    ทักษะการอ่าน แปลผลข้อมูลเครื่อง และผู้ป่วยผ่านเครื่องมือแพทย์

-    ทักษะการตรวจสอบความปลอดภัย ของเครื่องมือแพทย์

-    ทักษะการควบคุมโรคติดเชื้อ Infection control

-    ทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน

-    ทักษะการสื่อสาร (การพูดและการฟัง)

-    ทักษะการสังเกตการณ์ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้ด้านสรีระวิทยา และกายวิภาคศาสตร์

-    ความรู้ด้านคลินิก พยาธิสภาพผู้ป่วย ที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือแพทย์ในการรักษา วินิจฉัยผู้ป่วย

-    ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำงานเครื่องมือแพทย์แบบ Invasive และ Noninvasive

-    ข้อจำกัด ข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือแพทย์และ อุปกรณ์

-    มาตรฐาน ความปลอดภัยเครื่องมือแพทย์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

      (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              -    มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง

      (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              -    มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

      (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

              -    หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่นำมาแสดงจะต้องออกให้หรือรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับสายงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

      (ง)    วิธีการประเมิน

              -   ยื่นหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      (ก)    คําแนะนํา

              N/A

      (ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

              เครื่องมือช่าง (Tools)

              -    มัลติมิเตอร์ (Multi meter)

              -    ชุดทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า (Electrical Safety Test Device)

              -    คีม (Pliers)

              -    ไขควง (Screwdriver)

              -    ปืนบัดกรี (Soldering iron)

              -    ประแจ (Wrench)

             เครื่อง (Equipment)

              -    ระบบเครื่องไตเทียม (Hemodialysis system) ได้แก่

                    •    ระบบน้ำบริสุทธิ์ (Water purification system)

                    •    เครื่องไตเทียม (Dialysis machine)

                    •    เครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่อง Continuous renal replacement  therapy  (Multifunctional machine) 

                    •    เครื่องล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis machine)

                    •    เครื่องฟอกไตแบบ Apheresis machine (centrifugal and membrane technique including absorbers)

                    •    ตัวกรอง (Dialyzer)

               -    เครื่องมือในระบบหายใจ (Respiration) ได้แก่

                    •    เครื่องช่วยหายใจเบิร์ด (Bird’s ventilator)

                    •    เครื่องช่วยหายใจแบบเมคคานิกส์ แบบโหมดพื้นฐาน (Mechanical ventilators (Basic mode))

                    •    เครื่องช่วยหายใจแบบเมคคานิกส์ แบบโหมดขั้นสูง Mechanical ventilators (Advance mode)

                    •    เครื่องช่วยหายใจแบบไม่รุกล้ำ (Noninvasive Oxygen therapy)

              -    เครื่องมือในระบบประสาท (Neurological)

                    •    เครื่องควบคุมอุณหภูมิผู้ป่วยร้อน/เย็น (Hypo/hyperthermia)

                    •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

                    •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)

                    •    เครื่องตรวจการนอนหลับ (Sleep lab)

              -    เครื่องเฝ้าระวังและติดตามสัญญานชีพผู้ป่วย (Patient Monitors)

                    •    เครื่องวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับชีพจร (Pulse pressure variation)

                    •    เครื่องวัดปริมาตรก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ขณะหายใจออกสิ้นสุด (End tidal CO2)

                    •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบรุกล้ำ แบบ PAOP

                    •    เครื่องวัดปริมาณเลือดที่ไหลออกจากหัวใจ (Cardiac output monitoring)

                    •    เครื่องวัดความต้านทานภายในแบบเทอโมกราฟฟี่ (Electro impedance tomography (EIT))

                    •    อุปกรณ์วัดความดันในหลอดลม (Esophageal pressure)

                    •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบไม่รุกล้ำ (NIBP)

                    •    เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oxymeter)

                    •    เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)

                    •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบรุกล้ำ (Arterial blood pressure, CVP monitoring)

              -    เครื่องดมยาสลบ (Anesthetic machine)

              -    กล้องส่องภายใน (Endoscope)

              สถานที่ปฏิบัติงาน (Worksite) 

              -    แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) /หอผู้ป่วย (Ward) /ห้องฉุกเฉิน (Emergency Room) /หอผู้ป่วยหนัก (ICU)

              -    ห้องผ่าตัด (Operation Room) / ห้องคลอด (Delivery Room)

              -    หน่วยงานไตเทียม (Dialysis Unit)

              -    หน่วยงานส่องกล้อง (Endoscope Unit)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน:

      -    การสัมภาษณ์ / ข้อสอบข้อเขียน

      -    สาธิตการปฏิบัติงาน (จำลอง)

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

 



ยินดีต้อนรับ