หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำแนะนำในการใช้งาน แก่ผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์อื่นในเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-RTQS-505A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำแนะนำในการใช้งาน แก่ผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์อื่นในเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมความรู้ ทักษะและทัศนคติที่จำเป็นในการฝึกอบรมผู้ใช้และผู้ปฏิบัติการเทคโนโลยีคลินิกโดยจะทำการทดสอบสมรรถนะย่อย ได้แก่ ให้คำแนะนำในการใช้งาน การดูแล เครื่องมือแพทย์ แก่ผู้ใช้งานอื่นในเบื้องต้น และให้คำแนะนำในการเฝ้าระวัง(Monitor) และตรวจจับความผิดปกติระหว่างใช้งานเครื่องมือแพทย์ แก่ผู้ใช้งานอื่นในเบื้องต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพนักเทคโนโลยีคลินิก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3050101

ให้คำแนะนำในการใช้งาน การดูแล เครื่องมือแพทย์ แก่ผู้ใช้งานอื่นในเบื้องต้น

1.1 ให้คำแนะนำในการใช้งานแก่ผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

3050101.01 219790
3050101

ให้คำแนะนำในการใช้งาน การดูแล เครื่องมือแพทย์ แก่ผู้ใช้งานอื่นในเบื้องต้น

1.2 ให้คำแนะนำในการดูแลเครื่องมือแพทย์ระดับต้น ผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์ในระดับต้น

3050101.02 219791
3050102

ให้คำแนะนำในการเฝ้าระวัง (Monitor) และตรวจจับความผิดปกติระหว่างใช้งานเครื่องมือแพทย์แก่ผู้ใช้ งานอื่นในเบื้องต้น

2.1 ให้คำแนะนำในการเฝ้าระวังและตรวจจับความผิดปกติเครื่องมือแพทย์แก่ผู้ใช้งาน

3050102.01 219792
3050102

ให้คำแนะนำในการเฝ้าระวัง (Monitor) และตรวจจับความผิดปกติระหว่างใช้งานเครื่องมือแพทย์แก่ผู้ใช้ งานอื่นในเบื้องต้น

2.2 ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาความผิดปกติเครื่องมือแพทย์แก่ผู้ใช้งาน

3050102.02 219793

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    การวางแผนการฝึกอบรม        

-    การประเมินความต้องการการฝึกอบรม

-    การเตรียมความพร้อมการฝึกอบรม    

-    การถ่ายทอด ฝึกอบรม

-    การประเมินผลการฝึกอบรม    

-    การใช้คอมพิวเตอร์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    วิธีการและแนวทางการเรียนรู้    

-    การพัฒนาวัสดุการฝึกอบรม

-    การใช้คอมพิวเตอร์    

-    กฎและระเบียบความปลอดภัย

-    หลักการและการทำงานของอุปกรณ์    

-    การประเมินความต้องการการฝึกอบรม

-    ขั้นตอนและเทคนิคการประเมิน    

-    การประเมินผลการฝึกอบรม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

      (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              -    มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง

      (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              -    มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

      (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

              -    หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่นำมาแสดงจะต้องออกให้หรือรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับสายงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

      (ง)    วิธีการประเมิน

              -    ยื่นหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      (ก)    คําแนะนํา

              N/A

      (ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

              วัสดุฝึกอบรม

               -    คู่มือของผู้ผลิต(Service manual, Operator manual, etc.) 

               -    เอกสารประกอบคำบรรยายการฝึกอบรม

               -    หนังสืออ้างอิง (ข้อกำหนด กฏหมาย มาตรฐาน ฯลฯ)

              เครื่องมือช่าง (Tools)

               -    มัลติมิเตอร์ (Multi meter)

               -    ชุดทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า (Electrical Safety Test Device)

               -    คีม (Pliers)

               -    ไขควง (Screwdriver)

               -    ปืนบัดกรี (Soldering iron)

               -    ประแจ (Wrench)

              เครื่อง (Equipment)

               -    ระบบเครื่องไตเทียม (Hemodialysis system) ได้แก่

                     •    ระบบน้ำบริสุทธิ์ (Water purification system)

                     •    เครื่องไตเทียม (Dialysis machine)

                     •    ตัวกรอง (Dialyzer)

               -    เครื่องมือในระบบหายใจ (Respiration) ได้แก่

                     •    เครื่องช่วยหายใจเบิร์ด (Bird’s ventilator)

                     •    เครื่องช่วยหายใจแบบเมคคานิกส์ แบบโหมดพื้นฐาน (Mechanical ventilators (Basic mode))

                     •    เครื่องช่วยหายใจแบบไม่รุกล้ำ (Noninvasive Oxygen therapy)

               -    เครื่องมือในระบบประสาท (Neurological)

                     •    เครื่องควบคุมอุณหภูมิผู้ป่วยร้อน/เย็น (Hypo/hyperthermia)

                     •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

                     •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)

                     •    เครื่องตรวจการนอนหลับ (Sleep lab)

                -    เครื่องเฝ้าระวังและติดตามสัญญานชีพผู้ป่วย (Patient Monitors)

                     •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบไม่รุกล้ำ (NIBP)

                     •    เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oxymeter)

                     •    เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)

                     •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบรุกล้ำ (Arterial blood pressure, CVP monitoring)

                สถานที่ปฏิบัติงาน (Worksite) 

                -    แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) /หอผู้ป่วย (Ward) /ห้องฉุกเฉิน (Emergency Room) /หอผู้ป่วยหนัก (ICU)

                -    ห้องผ่าตัด (Operation Room) / ห้องคลอด (Delivery Room)

                -    หน่วยงานไตเทียม (Dialysis Unit)

                -    หน่วยงานส่องกล้อง (Endoscope Unit)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน:

      -    การสัมภาษณ์ / ข้อสอบข้อเขียน

      -    สาธิตการปฏิบัติงาน (จำลอง)

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

 



ยินดีต้อนรับ