หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-AFHP-461A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

      2149 วิศวกร (ยกเว้นวิศวกรเทคโนโลยีไฟฟ้า) ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น 

                -  วิศวกรชีวการแพทย์

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมความรู้ ทักษะและทัศนคติที่จำเป็นในการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์โดยจะทำการทดสอบสมรรถนะย่อย ได้แก่ วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง ดำเนินการบำรุงรักษา และจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
วิศวกรชีวการแพทย์นักอุปกรณ์การแพทย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2010701

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง

1.1 วางแผนการบำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง

2010701.01 219263
2010701

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง

1.2 จัดทำรายการ อะไหล่ เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง สินค้าคงคลังที่มี เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมการบำรุงรักษา ให้สอดคล้องกับคู่มือการซ่อมบำรุง (Service Manuals)

2010701.02 219264
2010701

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง

1.3 สร้างแบบฟอร์มข้อมูลการบำรุงรักษาได้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการ 

2010701.03 219265
2010701

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง

1.4 ระบุเครื่องมือช่างและเครื่องมือทดสอบที่ใช้ในการบำรุงรักษาตามที่กำหนด

2010701.04 219266
2010702

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.1 จัดเตรียมเครื่องมือวัดและเครื่องมือทดสอบที่จะใช้ในการบำรุงรักษา

2010702.01 219267
2010702

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.2 ตั้งค่าการทำงาน/การทดสอบของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงเพื่อใช้ในการบำรุงรักษาตามมาตรฐานการใช้งานของผู้ผลิตหรือตามมาตรฐานสากล

2010702.02 219268
2010702

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.3 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและอุปกรณ์เสริม ต่อพ่วงก่อนการบำรุงรักษา

2010702.03 219269
2010702

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.4 ทำการบำรุงรักษาตามกระบวนการที่กำหนดและสามารถวิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาได้

2010702.04 219270
2010702

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.5 มีการบันทึกผลการบำรุงรักษาของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงอย่างครบถ้วน และถูกต้อง

2010702.05 219271
2010702

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.6 ปรับตั้ง/แก้ไขเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงหากผลการบำรุงรักษาไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และทำการบำรุงรักษาซ้ำ/บันทึกผลการบำรุงรักษาอีกครั้ง

2010702.06 219272
2010702

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.7 ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน

2010702.07 219273
2010703

จัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษา

3.1 บันทึกข้อมูลและตรวจสอบเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษาตามขั้นตอนของการบริหารจัดการเอกสาร 

2010703.01 219274
2010703

จัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษา

3.2 จัดเก็บเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบและมีการปรับปรุงฐานข้อมูลขั้นตอนของการบริหารจัดการเอกสาร

2010703.02 219275

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานและทักษะการติดตั้ง ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงพื้นฐาน (ตามรายการเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงในอาชีพช่างอุปกรณ์การแพทย์ ระดับ 3-4)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการตีความคำแนะนำการทำงาน ไดอะแกรม 

-    ทักษะการตีความ กำหนด และอธิบายขั้นตอนการทำงาน

-    ทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน

-    ทักษะการแก้ไขปัญหาการทำงานของเครื่อง

-    ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

-    ทักษะทางช่าง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เรื่องข้อมูลจำเพาะของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและการใช้งานที่เหมาะสม

-    แนวคิดและหลักการทั่วไปด้านเทคโนโลยีการฉายรังสี (Radiation technology)

-    ความรู้เบื้องต้นเรื่องสรีระวิทยาและกายวิภาค

-    แนวคิดและหลักการทั่วไปด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

-    การใช้งานเครื่องมือช่าง และ/หรือ เครื่องมือทดสอบ

-    การประยุกต์ใช้ทางคลินิกของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง/อุปกรณ์การแพทย์

-    การอ่านแบบวงจรไฟฟ้า

-    การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์

-    ความรู้ทางวิศวกรรมสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น นิวเมติกส์ ระบบท่อ เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

      (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              -   มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง

      (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              -   มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

      (ค)    คำแนะนำในการประเมิน 

              -   หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่นำมาแสดงจะต้องออกให้หรือรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับสายงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

      (ง)    วิธีการประเมิน

              -   ยื่นหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      (ก)    คําแนะนํา

              N/A

      (ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

              คำขอ (Request)  แบบฟอร์มคำขอรับบริการ

              -    คำขอรับบริการแบบเป็นทางการ ได้แก่ จดหมาย

              -    คำขอรับบริการด้วยวาจา เช่น ทางโทรศัพท์ หรือ ทางอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

             เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง ได้แก่

              -    เครื่องกระตุกหัวใจ (Defibrillator) 

              -    เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) 

              -    เครื่องติดตามสัญญาณชีพผู้ป่วย (Patient monitor)

              -    เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ (Pacer)

              -    เครื่องฟังเสียงหัวใจเด็กในครรภ์

              -    เครื่องวัดการบีบตัวของมดลูก

              -    เครื่องช่วยหายใจ ( Ventilator)

              -    เครื่องจี้ตัดด้วยไฟฟ้า (Electro surgical)

              -    เครื่องเอ็กซเรย์ทั่วไป (X-ray machine)

              -    เครื่องเอ็กซเรย์ฟัน (Dent x-ray machine)

              -    เครื่องUltrasound : ULS

              -    เครื่องUltrasound : Therapeutic

              -    ตู้อบเด็ก (Infant incubator)

              -    เครื่องให้สารสลบ (Anesthesia)

             แบบฟอร์มข้อมูลการบำรุงรักษา รวมถึง เช็คลิสต์อุปกรณ์สำหรับการทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

             เครื่องมือช่าง (Tools)    

              -    เครื่องมือกล ตัด ไส เจาะ เครื่องมือรื้อ และ เครื่องมือประกอบ

              -    คีมช่าง

              -    ไขควง ประแจ

              -    อุปกรณ์บัดกรี

              -    สว่านไฟฟ้า

            เครื่องมือทดสอบ (Test equipment)     

              -    มัลติมิเตอร์ (Multi-meter)         

              -    ออสซิโลสโคป (Oscilloscope)

              -    คาลิเบเตอร์ (Calibrators)         

              -    มาตรวัด (Gauges) 

              -    เครื่องกำเนิดสัญญาณ (Signal generator)

              -    ตัวตรวจจับรังสี (Radiation detectors)

             คู่มือการซ่อมบำรุง (Service manuals) 

              -    คู่มือการใช้งาน    

              -    ใบรายงานการทำงาน

              -    คู่มือการซ่อมบำรุง/คู่มือทางเทคนิค    

              -    ใบสั่ง/ใบคำขอการทำงาน

              -    คู่มือการติดตั้ง    

              -    ฐานข้อมูลประวัติเครื่อง

              -    คู่มือรายการชิ้นส่วน    

              -    ฐานข้อมูลผู้แทนจำหน่าย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน

      -    การสัมภาษณ์/การตอบคำถามปากเปล่า/ข้อสอบข้อเขียน

      -    การสังเกตการณ์ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน/การสาธิต

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

 



ยินดีต้อนรับ