หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลางและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-MOMN-457A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลางและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

      2149 วิศวกร (ยกเว้นวิศวกรเทคโนโลยีไฟฟ้า) ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น 

               -  วิศวกรชีวการแพทย์

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมความรู้ ทักษะและทัศนคติที่จำเป็นในการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลางและระบบสนับสนุนทางการแพทย์โดยจะทำการทดสอบสมรรถนะย่อย ได้แก่ วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลาง ดำเนินการบำรุงรักษา และจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
วิศวกรชีวการแพทย์นักอุปกรณ์การแพทย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2010301

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลาง

1.1 วางแผนการบำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลาง

2010301.01 219193
2010301

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลาง

1.2 จัดทำรายการ อะไหล่ เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลาง/สินค้าคงคลังที่มี เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมการบำรุงรักษา ให้สอดคล้องกับคู่มือการซ่อมบำรุง (Service Manuals)

2010301.02 219194
2010301

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลาง

1.3 สร้างแบบฟอร์มข้อมูลการบำรุงรักษาได้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการ

2010301.03 219195
2010301

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการบำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลาง

1.4 ระบุเครื่องมือช่างและเครื่องมือทดสอบที่ใช้ในการบำรุงรักษาได้

2010301.04 219196
2010302

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.1 จัดเตรียมเครื่องมือวัดและเครื่องมือทดสอบที่จะใช้ในการบำรุงรักษา

2010302.01 219197
2010302

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.2 ตั้งค่าการทำงาน/การทดสอบของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลางเพื่อใช้ในการบำรุงรักษาตามมาตรฐานการใช้งานของผู้ผลิตหรือตามมาตรฐานสากล

2010302.02 219198
2010302

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.3 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลางและอุปกรณ์เสริม/ต่อพ่วงก่อนการบำรุงรักษา

2010302.03 219199
2010302

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.4 ทำการบำรุงรักษาตามกระบวนการที่กำหนดและสามารถวิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาได้

2010302.04 219200
2010302

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.5 มีการบันทึกผลการบำรุงรักษาของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลางอย่างครบถ้วน และถูกต้อง

2010302.05 219201
2010302

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.6 ปรับตั้ง/ แก้ไขเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลางหากผลการบำรุงรักษาไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และทำการบำรุงรักษาซ้ำ/บันทึกผลการบำรุงรักษาอีกครั้ง

2010302.06 219202
2010302

ดำเนินการบำรุงรักษา

2.7 ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน

2010302.07 219203
2010303

จัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษา

3.1 บันทึกข้อมูลและตรวจสอบเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษาตามขั้นตอนของการบริหารจัดการเอกสาร

2010303.01 219204
2010303

จัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษา

3.2 จัดเก็บเอกสารบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบและมีการปรับปรุงฐานข้อมูลขั้นตอนของการบริหารจัดการเอกสาร

2010303.02 219205

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานและทักษะการติดตั้ง ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงพื้นฐาน (ตามรายการเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงในอาชีพช่างอุปกรณ์การแพทย์ ระดับ 3)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการตีความคำแนะนำการทำงาน ไดอะแกรม 

-    ทักษะการตีความ กำหนด และอธิบายขั้นตอนการทำงาน

-    ทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน

-    ทักษะการแก้ไขปัญหาการทำงานของเครื่อง

-    ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

-    ทักษะทางช่าง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เรื่องข้อมูลจำเพาะของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและการใช้งานที่เหมาะสม

-    แนวคิดและหลักการทั่วไปด้านเทคโนโลยีการฉายรังสี (Radiation technology)

-    ความรู้เบื้องต้นเรื่องสรีระวิทยาและกายวิภาค

-    แนวคิดและหลักการทั่วไปด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

-    การใช้งานเครื่องมือช่าง และ/หรือ เครื่องมือทดสอบ

-    การประยุกต์ใช้ทางคลินิกของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง/อุปกรณ์การแพทย์

-    การอ่านแบบวงจรไฟฟ้า

-    การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์

-    ความรู้ทางวิศวกรรมสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น นิวเมติกส์ ระบบท่อ เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

      (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

               -   มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง

      (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

               -   มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

      (ค)    คำแนะนำในการประเมิน 

               -   หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่นำมาแสดงจะต้องออกให้หรือรับรองโดย หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับสายงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

      (ง)    วิธีการประเมิน

              -   ยื่นหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      (ก)  คําแนะนํา

            N/A

      (ข)  คำอธิบายรายละเอียด 

            คำขอ (Request)  แบบฟอร์มคำขอรับบริการ

            -    คำขอรับบริการแบบเป็นทางการ ได้แก่ จดหมาย

            -    คำขอรับบริการด้วยวาจา เช่น ทางโทรศัพท์ หรือ ทางอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

           เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับกลาง ได้แก่

            -    เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse oximeter)

            -    เครื่องวัดอัตราการไหลของสารละลาย (Infusion pump)

            -    เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือด (Syringe pump)

            -    เครื่องให้ความอบอุ่นแก่เด็กแรกคลอด (Infant warmer)

            -    ตู้เย็นเก็บเลือด (Blood bank)

            -    ตู้เพาะเชื้อ (Incubator)

            -    อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ (Water bath)

            -    เครื่องปั่นเหวี่ยง (Centrifuge)

            -    เครื่องดูดช่วยคลอดสุญญากาศ (Vacuum)

            -    เครื่องดูดของเหลวในกระเพาะอาหาร (Aspirator)

            -    เครื่องปั่นผสมสารอุดฟัน (Amalgamator)    

            -    ยูนิตทันตกรรม (Dental unit)

            -    เครื่องขูดหินปูนไฟฟ้า (Electric scaler)

            -    โคมไฟผ่าตัด/หัตถการ (Surgical lighting)

            แบบฟอร์มข้อมูลการบำรุงรักษา รวมถึง เช็คลิสต์อุปกรณ์สำหรับการทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 

            เครื่องมือช่าง (Tools)   

            -    เครื่องมือกล (ตัด ไส เจาะ) (Mechine tools) 

            -    เครื่องมือรื้อ และ เครื่องมือประกอบ (Accessories mechine)

            -    คีมช่าง (Pliers) ไขควง (Screwdriver) ประแจ (Wrench)

            -    อุปกรณ์บัดกรี (Soldering device) สว่านไฟฟ้า (Electric drill)

           เครื่องมือทดสอบ (Test equipment)     

            -    มัลติมิเตอร์ (Multi-meter)         

            -    โวลต์มิเตอร์ (Volt meter)

            -    โอห์มมิเตอร์ (Ohm meter)            

            -    แอมป์มิเตอร์  (Amp meter)

            -    เครื่องวัดความถี่ (Frequency meter)

          คู่มือการซ่อมบำรุง (Service manuals) 

            -    คู่มือการใช้งาน    

            -    ใบรายงานการทำงาน

            -    คู่มือการซ่อมบำรุง/คู่มือทางเทคนิค    

            -    ใบสั่ง/ใบคำขอการทำงาน

            -    คู่มือการติดตั้ง    

            -    ฐานข้อมูลประวัติเครื่อง

            -    คู่มือรายการชิ้นส่วน    

            -    ฐานข้อมูลผู้แทนจำหน่า

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน

      -    การสัมภาษณ์/การตอบคำถามปากเปล่า/ข้อสอบข้อเขียน

      -    การสังเกตการณ์ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน/การสาธิต

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

 



ยินดีต้อนรับ