หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลเบื้องต้นผู้สูงอายุ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-HALN-145B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลเบื้องต้นผู้สูงอายุ

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


1 5152 พนักงานดูแลงานบ้านแม่บ้าน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้สูงอายุ การจัดเตรียมเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัวผู้สูงอายุ และวิธีการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20321

จัดเตรียมอาหารผู้สูงอายุ

จัดเตรียมอาหารสำหรับผู้สูงอายุได้และครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

20321.01 219878
20321

จัดเตรียมอาหารผู้สูงอายุ

จัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับโรคประจำตัวผู้สูงอายุตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

20321.02 219879
20322

จัดเตรียมเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัวผู้สูงอายุ

จัดเตรียมเสื้อผ้าได้เหมาะสมกับวัยและฤดูกาล

20322.01 219880
20322

จัดเตรียมเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัวผู้สูงอายุ

ดูแลเครื่องใช้ส่วนตัวเหมาะกับวัยผู้ใหญ่

20322.02 219881
20323

ดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ

ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ

20323.01 219882
20323

ดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ

ดูแลให้ผู้สูงอายุรับประทานยาให้ครบถ้วน จัดเก็บยาของผู้สูงอายุอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

20323.02 219883
20323

ดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ

สนับสนุนการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุได้อย่างปลอดภัย

20323.03 219884

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานแม่บ้านได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการจัดเตรียมเลือกประเภทอาหารให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ 

2. มีทักษะการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวในการเตรียมอาหาร

2. ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาล 

3. ความรู้เกี่ยวกับการให้ยา การใช้ยาสามัญประจำบ้าน

4. ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (จัดเตรียมเสื้อผ้าเครื่องใช้เหมาะสมกับวัยและฤดูกาล)

2. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ดูแลความสะอาดของที่นอน)

3. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ดูแลความสะอาดเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้)

4. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์ (จัดเตรียมเลือกประเภทอาหารให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ)

2. แบบสัมภาษณ์ (จัดเตรียมเสื้อผ้าเครื่องใช้เหมาะสมกับวัยและฤดูกาล)

2. แบบสัมภาษณ์ (ดูแลเครื่องใช้ส่วนตัวเหมาะกับวัยผู้ใหญ่)

3. แบบสัมภาษณ์ (ปฐมพยาบาลและสังเกตอาการเป็น)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสาธิตการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ผู้สูงอายุ หมายถึง สมาชิกในครอบครัวที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่สมาชิกที่มีอยู่ในแต่ละครอบครัว

2. การจัดอาหารผู้สูงอายุสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด แต่ควรลดปริมาณอาหารที่มีไขมัน น้ำตาลมากอาหารที่รับประทานควรเป็นอาหารประเภทปลา นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง ผัก ผลไม้ เป็นอาหารทั้งรสไม่จัดและย่อยง่าย

3. ลักษณะอาหารของผู้สูงอายุ

3.1 รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลเรื่องน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน

3.2 รับประทานข้าวเป็นหลักโดยเฉพาะข้าวกล้อง หรือข้าวซ่อมมือ

3.3 ทานพืช ผัก ผลไม้ เป็นประจำ

3.4 รับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่ว เมล็ดแห้ง

3.5 ดื่มนม อย่างน้อยวันละ 1 แก้ว

3.6 หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด

3.7 รับประทานไขมันให้น้อยลง ป้องกันการเกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง

3.8 งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

4. เสื้อผ้าผู้สูงอายุ หมายถึง คุณลักษณะของเสื้อผ้า แบบ ลักษณะการตัดเย็บรวมถึงวัสดุตกแต่ง

4.1 คุณลักษณะของผ้า ควรสวมใส่สบาย ไม่หนาหรือบางเกินไป

4.2 แบบสุภาพเรียบร้อย เข้ารูปเล็กน้อย

4.3 การใช้สีของเสื้อผ้า ควรเลือกให้เหมาะกับสีผิวและบุคลิกภาพ

4.4 การตัดเย็บประณีต ไม่มีการตกแต่งมากเกินไป

4.5 เสื้อผ้าไปเที่ยวควรเป็นเสื้อผ้ารัดกุม ไม่รัดรูป เป็นกางเกงหรือกระโปรงก็ได้

4.6 ชุดออกกำลัง ควรเป็นกางเกงยืดขายาว เสื้อยืด เนื้อผ้ามีความยืดหยุ่น                                                                                                                              5. เครื่องใช้ส่วนตัว หมายถึง ของใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ผ้าขนหนู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ฯลฯ

5.1 ผ้าขนหนู เลือกผ้าชนิดนุ่ม ซับผ้าได้ดี สีพื้นหรือมีลวดลาย ควรมี 2 ผืน คือผืนใหญ่สำหรับเช็ดตัว และผืนเล็กสำหรับเช็ดหน้า ผม ซักทำความสะอาด อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

5.2 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แชมพู ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ขนแปรงสีฟันนุ่มไม่แข็ง ยาสีฟันไม่มีส่วนผสมของเมนทอลเพราะจะทำให้เกิดความเผ็ดร้อนในเยื่อบุปาก สบู่ แชมพู ใช้ชนิดอ่อน หรืออาจใช้ผลิตภัณฑ์ของเด็กได้ 

6. ที่อยู่ที่นอน หมายถึง ความเป็นสัดส่วนของผู้สูงอายุ มีความสะดวกและปลอดภัย เหมาะสมกับสุขภาพของผู้สูงอายุ

6.1 ที่นอนของผู้สูงอายุ ควรมีความเป็นสัดส่วน สะดวก ปลอดภัย ควรอยู่ชั้นล่างของอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นลง – ลงบันได

6.2 จัดเก็บทำความสะอาดทุกวัน

6.3 ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

6.4 เก็บเครื่องนอน ผึ่งแดดบ้าง เพื่อป้องกันความอับชื้น และไรฝุ่น

6.5 ดูแลเรื่องความสะอาดเครื่องแต่งกาย และของใช้

6.6 ทำความสะอาด ซักรีด เสื้อผ้า ซ่อมแซม ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้

6.7 จัดเก็บไม่ปะปนกัน เพื่อสะดวกในการหยิบใช้

6.8 เปลี่ยนของใช้ส่วนตัว เมื่อถึงเวลาอันควร เช่นแปรงสีฟัน

6.9 ทำความสะอาดผ้าเช็ดตัว อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง  

7. ปฐมพยาบาล หมายถึง ความรู้เบื้องต้นในการดูแลอาการเจ็บป่วย ทำแผล ใส่ยา

8. สังเกตอาการเป็น หมายถึง รู้ว่าผู้สูงอายุที่มีอาการผิดปกติ เช่น เหม่อลอย เป็นลม มีไข้สูง สามารถบอกนายจ้างทันเวลา    

9. การออกกำลังกายชะลอความเสี่ยงของร่างกาย หมายถึง ความเสื่อมของร่างกายเป็นสิ่งที่เกิดจากพฤติกรรม และวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละเวลา ทั้งอาหารการกิน การทำกิจกรรมในแต่ละวัน การนอนหลับพักผ่อน หากทำอย่างไม่ถูกต้อง ร่างกายจะเสื่อมลงเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงใช้การออกกำลังกายซึ่งสามารถช่วยให้ ร่างกาย มีความยืดหยุ่น เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ร่างกายชะลอการเสื่อมสภาพ ได้อย่างมีประสิทธิผล

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสาธิตการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ