หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-SATU-140B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


1 5152 พนักงานดูแลงานบ้านแม่บ้าน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการใช้ทักษะและความรู้ในการซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด โดยเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับซ่อมแซมเสื้อผ้า และสามารถซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุดขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20131

เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับซ่อมแซมเสื้อผ้า

เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อมแซมเสื้อผ้าได้

20131.01 220000
20131

เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับซ่อมแซมเสื้อผ้า

จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อมแซมเสื้อผ้าให้นำมาใช้งานได้

20131.02 220001
20132

ซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุดขั้นพื้นฐาน

เลือกวิธีการซ่อมแซมเสื้อผ้าได้อย่างเหมาะสม

20132.01 220002
20132

ซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุดขั้นพื้นฐาน

ซ่อมแซมเสื้อผ้าได้เหมาะสมกับลักษณะการชำรุดของเสื้อผ้า

20132.02 220003

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานแม่บ้านได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมเสื้อผ้า

2. ทักษะการซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมืองานตัดเย็บเสื้อผ้า

2. ความรู้เกี่ยวกับการงานตัดเย็บเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อมแซมเสื้อผ้า)

2. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อมแซมเสื้อผ้าได้อย่างถูกต้อง)

3. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ปฏิบัติการซ่อมแซมเสื้อผ้าได้เหมาะสมกับลักษณะการชำรุดของเสื้อผ้า)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

แบบสัมภาษณ์ (เลือกวิธีการซ่อมแซมเสื้อผ้าได้เหมาะสมกับลักษณะการชำรุดของเสื้อผ้า)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสาธิตการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมเสื้อผ้า

1.1 เข็มเย็บด้วยมือใช้สำหรับเนา สอย ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น เข็มเบอร์ 7-8 ใช้เย็บผ้าหนามาก เข็มเบอร์ 9 ใช้เย็บผ้าหนาปานกลาง เข็มเบอร์ 10 ใช้เย็บผ้าบาง

1.2 เข็มหมุด ใช้กลัดยึดผ้าให้ติดกัน เพื่อป้องกันผ้าเคลื่อนเวลาเย็บหรือตัดผ้า

1.3 ด้าย ใช้สำหรับเย็บควรเลือกสีให้เหมาะสมกับสีผ้า ด้ายที่นิยมใช้กับผ้าทุกชนิดจะเป็นเบอร์ 60

1.4 กรรไกร ใช้สำหรับตัดผ้าขนาดที่ใช้สะดวกจะมีขนาดยาว 7-8 นิ้วควรมีความคมตลอดแนว สามารถใช้ติดผ้าหนาและผ้าบางได้ดี

1.5 ที่เลาะผ้า ใช้สำหรับเลาะเส้นด้ายหรือเส้นเย็บที่ไม่ต้องการมีด้ามจับ ตรงปลายทำด้วยโลหะ มีความคมไม่เป็นสนิม

2. ซ่อมแซมเสื้อผ้า หมายถึง การทำให้เสื้อผ้าที่ชำรุดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง

วิธีการซ่อมแซมเสื้อผ้า ประกอบด้วย

2.1 การเนา คือ การเย็บผ้าให้ติดกัน โดยใช้เข็มแทงขึ้นลงบนผ้าให้มีระยะสม่ำเสมอ ใช้ในการเนาผ้าก่อน สอย เนาก่อนการเย็บตะเข็บ

2.2 การด้นถอยหลัง คือ การเย็บตะเข็บผ้าที่ขาดหรือปริ โดยใช้เข็มแทงขึ้นทางซ้ายดึงด้ายให้ตึง แล้วแทงเข็มย้อนกลับลงตรงจุดกึ่งกลางของฝีเข็ม การด้นถอยหลังมีความแน่นเหมือนฝีจักร

2.3 การสอยซ่อนด้าย คือ การเย็บชายกระโปรง กางเกง ที่เห็นรอยด้ายด้านนอกน้อยที่สุด โดยสอดเข็มเข้าไปในรอยพับของผ้า แล้วเย็บให้ติดผ้าด้านนอกเล็กน้อยที่มองไม่เห็นรอยเย็บ

2.4 การปะ คือ การซ่อมเสื้อผ้าที่มีรอยขาดโดยนำผ้ามาปะให้สีเหมือนกับผ้าที่ขาดประกบด้านหลังของรอยขาด พับริมเข้าข้างในแล้วสอยโดยรอบ และกลับรอยขาดตัดริมผ้าเข้าด้านในสอยรอบๆ รอยขาด

2.5 การชุน คือ การซ่อมเสื้อผ้าที่ขาดหายไป เหมาะกับเสื้อผ้าที่รอยขาดไม่กว้างมาก โดยใช้ด้ายสีเดียวกับผ้ามาถักปิดรอยขาด

2.6 การเย็บเครื่องเกาะเกี่ยว คือ วัสดุที่ใช้ยึดเสื้อผ้าให้ติดกันโดยสามารถเปิดและปิด หรือถอดออกเพื่อสวมใส่ได้ เช่น กระดุม กระดุมแป๊ก ตะขอ ซิบ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสาธิตการปฏิบัติงาน    

2. การสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ