หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อป้องกันอัคคีภัยในบ้านและภายนอกอาคาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-JWPR-148B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อป้องกันอัคคีภัยในบ้านและภายนอกอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


1 5152 พนักงานดูแลงานบ้านแม่บ้าน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ตรวจสอบดูแลการใช้งาน ความชำรุดบกพร่อง เพื่อป้องกันอัคคีภัยบริเวณภายในบ้านและภายนอกอาคาร โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดความชำรุดขัดข้อง เสื่อมสภาพ สามารถแก้ไขสถานการณ์ป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่เกิดขึ้นภายในบริเวณบ้านและภายนอกอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30211

ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

ตรวจสอบสายไฟ ปลั๊กและเต้าเสียบ ปลั๊กไฟพ่วง สวิตช์ไฟฟ้า หลอดไฟ แสงสว่าง 

30211.01 219901
30211

ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

ตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด

30211.02 219902
30211

ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า เครื่องตัดไฟรั่ว (EFCI) ตู้ควบคุมไฟ

30211.03 219903
30211

ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและบริเวณโดยรอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองสะสม

30211.04 219904
30212

ระบุและแจ้งปัญหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระบุอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่มีอยู่ในบ้านและภายนอกอาคาร

30212.01 219905
30212

ระบุและแจ้งปัญหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประเมินสภาพของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อายุการใช้งาน ร่องรอยความชำรุดเสียหาย ประวัติการใช้งาน

30212.02 219906
30212

ระบุและแจ้งปัญหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แก้ไขปัญหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้นได้อย่างปลอดภัย

30212.03 219907
30212

ระบุและแจ้งปัญหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แจ้งเหตุปัญหาชำรุดขัดข้องอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

30212.04 219908
30213

ดูแลรักษาอุปกรณ์ดับเพลิง

ตรวจสอบสภาพถังดับเพลิงตามกำหนด

30213.01 219909
30213

ดูแลรักษาอุปกรณ์ดับเพลิง

ศึกษาวิธีการใช้งานถังดับเพลิงอย่างถูกต้อง

30213.02 219910

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานแม่บ้านได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้เครื่องมือตรวจสอบไฟฟ้า เครื่องวัด 

2. ทักษะการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าเบื้องต้น

3. วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์

4. ทักษะการดับเพลิงเบื้องต้น เพื่อสามารถควบคุมสถานการณ์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในบ้าน

2. หลักการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ

3. สาเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัยจากอุปกรณ์ไฟฟ้า

4. วิธีการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิด

5. มาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้า

6. กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

N/A

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

N/A

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสาธิตปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. นิยามของศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

การประเมินความเสี่ยงจากอัคคีภัยที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ประเมินความเสี่ยงของอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

การตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า ตรวจสอบสภาพภายนอกและภายในของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊ก เต้าเสียบ สวิตช์

การทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้นเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ

การบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น แก้ไขปัญหาเล็กน้อยที่พบในการตรวจสอบ เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟหรือปลั๊กที่ชำรุด

2. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า มีดังนี้

2.1 ตรวจสอบสายไฟ ตรวจสอบว่าสายไฟมีรอยขาด รอยฉีกขาด หรือมีรอยไหม้หรือไม่

2.2 ตรวจสอบปลั๊กและเต้าเสียบ ตรวจสอบว่าปลั๊กและเต้าเสียบแน่นสนิท ไม่มีรอยไหม้ หรือมีฝุ่นละอองเกาะ

2.3 ตรวจสอบสวิตช์ ตรวจสอบว่าสวิตช์ทำงานได้ดี ไม่มีรอยไหม้ หรือมีส่วนที่หลวม

2.4 ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิด ตรวจสอบสภาพภายนอกและภายในของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น เตาไฟ ไมโครเวฟ

2.5 ทดสอบการทำงาน เปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบว่าทำงานได้ตามปกติหรือไม่

2.6 ทำความสะอาด ทำความสะอาดอุปกรณ์ไฟฟ้าและบริเวณโดยรอบอย่างสม่ำเสมอ

หมายเหตุ การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ หากพบความผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญ เพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุด

คำเตือน การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องทำด้วยความระมัดระวัง หากไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทุกบ้านควรทำเป็นประจำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟไหม้ หรือไฟฟ้าช็อต ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เสามารถระบุและแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายลง

3. ความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า

3.1 ป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพอาจเป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและนำไปสู่การเกิดเพลิงไหม้ได้

3.2 ป้องกันไฟฟ้าช็อต การสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดอาจทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตได้

3.3 ยืดอายุการใช้งาน การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

3.4 ประหยัดค่าไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสังเกตการปฏิบัติงาน

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

3. การสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ