หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำจัดขยะตามการคัดแยกประเภทของขยะ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-PLOD-147B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำจัดขยะตามการคัดแยกประเภทของขยะ

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


1 5152 พนักงานดูแลงานบ้านแม่บ้าน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการคัดแยกและกำจัดขยะมูลฝอยได้อย่างถูกสุขลักษณะและถูกสุขอนามัยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการคัดแยกและจัดเก็บขยะ  คัดแยกขยะตามประเภทของขยะอย่างถูกต้องปลอดภัย และจัดเก็บขยะแต่ละประเภทในภาชนะรองรับที่ถูกสุขลักษณะและถูกสุขอนามัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30121

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการคัดแยกและจัดเก็บขยะ

เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับการจัดเก็บขยะแต่ละประเภท ที่สอดคล้องกับปริมาณขยะอย่างเหมาะสม

30121.01 219890
30121

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการคัดแยกและจัดเก็บขยะ

เลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและสอดคล้องประเภทของขยะ

30121.02 219891
30121

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการคัดแยกและจัดเก็บขยะ

อธิบายสัญลักษณ์ของขยะประเภทต่างๆ ของภาชนะจัดเก็บขยะได้ เช่น สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงินและสีแดง (ถุงขยะ/ถังขยะ)

30121.03 219892
30122

คัดแยกขยะตามประเภทของขยะ

จำแนกขยะตามเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปได้อย่างถูกต้อง เช่น ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะอันตราย ขยะติดเชื้อ

30122.01 219893
30122

คัดแยกขยะตามประเภทของขยะ

คัดแยกขยะที่ถูกสุขลักษณะ และถูกสุขอนามัย รวดเร็วและปลอดภัย รวมทั้งสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

30122.02 219894
30122

คัดแยกขยะตามประเภทของขยะ

บริหารจัดการพื้นที่สำหรับการคัดแยกขยะให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และรักษาไว้ซึ่งความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

30122.03 219895
30122

คัดแยกขยะตามประเภทของขยะ

จดบันทึกข้อมูลการคัดแยกประเภท ปริมาณและแหล่งที่มาของขยะอย่างเป็นระบบและถูกต้อง

30122.04 219896
30122

คัดแยกขยะตามประเภทของขยะ

รีไซเคิลนำขยะกลับมาใช้ใหม่ได้ที่ถูกสุขลักษณะ และสุขอนามัย

30122.05 219897
30123

จัดเก็บขยะแต่ละประเภทในภาชนะรองรับที่ถูกสุขลักษณะและถูกสุขอนามัย

อธิบายวิธีการจัดเก็บขยะแต่ละประเภทในภาชนะรองรับที่ถูกสุขลักษณะและถูกสุขอนามัย

30123.01 219898
30123

จัดเก็บขยะแต่ละประเภทในภาชนะรองรับที่ถูกสุขลักษณะและถูกสุขอนามัย

ใช้ภาชนะรองรับขยะที่ถูกต้อง ป้องกันแมลง สัตว์มารบกวน และขจัดมลพิษที่ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน

30123.02 219899
30123

จัดเก็บขยะแต่ละประเภทในภาชนะรองรับที่ถูกสุขลักษณะและถูกสุขอนามัย

บริหารจัดการพื้นที่สำหรับการจัดเก็บขยะให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และรักษาไว้ซึ่งความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

30123.03 219900

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานแม่บ้านได้

คุณลักษณะของขยะทั้งการก่อเกิดประโยชน์และโทษที่เกิดขึ้นจากขยะ 

ประเภทของขยะ 

ความหมายของสีสัญลักษณ์ประเภทของถังและถุงจัดเก็บขยะ 

ทักษะในการคัดแยกขยะ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการวัสดุอุปกรณ์และภาชนะสำหรับการคัดแยกและจัดเก็บขยะ

2. ทักษะการคัดแยกประเภทของขยะ

3. ทักษะการจัดเก็บขยะ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของขยะมูลฝอย ประโยชน์และโทษที่เกิดจากขยะมูลฝอย

2. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และภาชนะสำหรับการคัดแยกและจัดเก็บขยะ การสวมใส่ชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในการปฏิบัติงาน

3. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของการจำแนกขยะตามเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปได้อย่างถูกต้อง เช่น ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะอันตราย

4. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการคัดแยกขยะที่ถูกสุขลักษณะ และถูกสุขอนามัย

5. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับการคัดแยกขยะ และจัดเก็บขยะ

6. ความรู้เกี่ยวกับการจดบันทึกข้อมูลการคัดแยกประเภท ปริมาณและแหล่งที่มาของขยะ

7. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรีไซเคิลนำขยะกลับมาใช้ใหม่ที่ถูกสุขลักษณะ และสุขอนามัย

8. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บขยะ การใช้ภาชนะรองรับขยะที่ถูกต้อง ป้องกันแมลง สัตว์มารบกวน และขจัดมลพิษที่ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

N/A

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

N/A

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสาธิตปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การกำจัดขยะตามการคัดแยกประเภทของขยะ หมายถึง ความสามารถในการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกประเภทของขยะ การนำขยะไปกำจัดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์

2. ประเภทของขยะ สามารถจำแนกประเภทของขยะ เช่น ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป

3. ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาและคำนึงถึงในการกำจัดขยะ ประกอบด้วย

3.1 กฎหมายและระเบียบ เข้าใจกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ

3.2 กระบวนการจัดการขยะ เข้าใจขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการจัดการขยะ ตั้งแต่การคัดแยก การรวบรวม การขนส่ง ไปจนถึงการกำจัด

3.3 ผลกระทบของขยะต่อสิ่งแวดล้อม เข้าใจผลกระทบที่เกิดจากการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง

3.4 การคัดแยกขยะ สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

3.5 การใช้เครื่องมือ สามารถใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะได้อย่างถูกวิธี เช่น ถังขยะที่มีสัญลักษณ์

3.6 การสื่อสาร สามารถสื่อสารและให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะกับผู้อื่นได้

3.7 การแก้ปัญหา สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการขยะได้

3.8 ความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

3.9 การมีส่วนร่วม มีความเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ

3.10 การเรียนรู้ มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับการจัดการขยะ

4. เหตุผลที่ต้องแยกขยะ มีดังนี้

4.1 ลดปริมาณขยะในหลุมฝังกลบ การแยกขยะทำให้สามารถนำวัสดุที่ย่อยสลายได้และวัสดุรีไซเคิลไปจัดการแยกต่างหาก ช่วยลดปริมาณขยะที่ถูกฝังกลบ

4.2 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การนำวัสดุรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตใหม่

4.3 ลดมลภาวะ การจัดการขยะที่ถูกวิธีช่วยลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางอากาศ น้ำ และดิน

4.5 สร้างรายได้ การขายวัสดุรีไซเคิลสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน

5. ประเภทของขยะที่ควรแยก มีดังนี้

5.1 ขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ใบไม้ สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักได้

5.2 ขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ สามารถนำกลับมาผลิตใหม่ได้

5.3 ขยะทั่วไป ขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือทำปุ๋ยหมักได้ เช่น ถุงพลาสติก โฟม

5.4 ขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ยาหมดอายุ ต้องมีการจัดการพิเศษ

6. วิธีการแยกขยะ ดำเนินการดังนี้

6.1 เตรียมถังขยะ เตรียมถังขยะแยกประเภทที่ชัดเจน โดยใช้สีที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละประเภทของขยะ

6.2 ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ ศึกษาสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับแต่ละประเภทของขยะ เพื่อให้สามารถแยกขยะได้อย่างถูกต้อง

6.3 ล้างทำความสะอาด ล้างทำความสะอาดภาชนะบรรจุที่ว่างเปล่าก่อนนำไปทิ้ง

6.4 บีบอัด บีบอัดขยะให้มีปริมาตรลดลง เพื่อประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ

6.5 นำไปทิ้งในจุดที่กำหนด นำขยะแต่ละประเภทไปทิ้งในจุดที่กำหนด เช่น จุดรับซื้อของรีไซเคิล หรือจุดทิ้งขยะชุมชน

7. สิ่งที่ควรระวัง มีดังนี้

7.1 อย่าปนเปื้อน หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของขยะประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน

7.2 ระวังขยะอันตราย จัดเก็บขยะอันตรายแยกจากขยะประเภทอื่น และนำไปทิ้งในจุดที่กำหนดอย่างถูกวิธี

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสังเกตการปฏิบัติงาน

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

3. การสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ