หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-BLRD-143B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่เหมาะสมในการจัดโต๊ะอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มตามหลักวิธีการเสิร์ฟ จัดวางอุปกรณ์เครื่องใช้ ในการรับประทานอาหารตามชนิดของอาหาร เก็บล้างทำความสะอาดภาชนะและอุปกรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถสื่อสารพื้นฐานเพื่อการให้บริการได้

สามารถสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานแม่บ้านได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการจัดโต๊ะรูปแบบต่างๆ

2. ทักษะการใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการจัดโต๊ะ 

3. ทักษะในการเสิร์ฟ

4. มีทักษะในการจัดวางวัสดุ-อุปกรณ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องรูปแบบและการใช้อุปกรณ์ในการจัดโต๊ะ

2. ความรู้เรื่องการเสิร์ฟอาหารประเภทต่างๆ

3. รู้ลำดับการเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการจัดโต๊ะแบบต่างๆ)

2. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (เสิร์ฟอาหารได้เหมาะสมกับประเภทของอาหาร)

3. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (วิธีการทำความสะอาด และจัดเก็บภาชนะแต่ละประเภท)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์ (จัดโต๊ะอาหารรูปแบบต่างๆ)

2. แบบสัมภาษณ์ความรู้ (รู้วิธีการเสิร์ฟอาหารแต่ละประเภท)

3. แบบสัมภาษณ์ความรู้ (กำหนดวิธีการจัดวางอุปกรณ์เครื่องใช้ในการรับประทานอาหาร)

4. แบบสัมภาษณ์ความรู้ (เลือกประเภทอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสาธิตการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การจัดโต๊ะอาหาร เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหารทำให้ผู้รับประทานอาหารเกิดความเพลิดเพลินและมีความสุข ซึ่งการจัดตกแต่งโต๊ะอาหารมีวิธีการจัดหลากหลายรูปแบบ  ขึ้นอยู่กับประโยชน์ในการใช้งานตามโอกาสต่างๆ และความพึงพอใจของผู้รับประทานอาหาร 

1. การจัดโต๊ะอาหารแบบทั่วไป

จัดวางอุปกรณ์รับประทานอาหารเช่น จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ ให้เพียงพอกับผู้รับประทานอาหารอย่างเป็นระเบียบโดย มีวิธีการวางดังนี้ 

1.1 วางจานไว้หน้าผู้รับประทานอาหาร 

1.2 วางช้อนไว้ด้านขวาของจาน

1.3 วางส้อมไว้ด้านซ้ายของจาน

1.4 แก้วน้ำไว้ด้านขวามือเยื้องไปทางด้านบนของจาน

2. การจัดโต๊ะแบบบุฟเฟต์

1.1 วางอาหารบนโต๊ะกลาง

1.2 อุปกรณ์ จาน ถ้วย ช้อนส้อม จัดวางไว้หัวโต๊ะ ผู้รับประทานต้องหยิบเอง

3. การจัดโต๊ะแบบขันโตก

จัดอาหารพร้อมช้อน ส้อม วางมาในภาชนะที่เรียกว่าขั้นโตก เป็นชุดๆ เฉพาะคน  

วัสดุ – อุปกรณ์ ที่ใช้ในการรับประทานอาหาร โดยปกติทั่วไป ประกอบด้วย จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ยกเว้นการจัดโต๊ะแบบสากลหรือแบบมีผู้บริการ อาจมี มีด ช้อนซุป แก้วไวน์ เพิ่มขึ้น ตามรายการอาหารที่จัดเสิร์ฟในมื้อนั้นๆ

ตกแต่ง เป็นส่วนที่ทำให้โต๊ะอาหารมองดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น เช่น แจกันดอกไม้ ผ้าปูโต๊ะ เป็นต้น

4. ประเภทของอาหาร หมายถึง อาหารคาว อาหารหวาน เครื่องดื่ม

5. หลักการเสิร์ฟอาหารแต่ละประเภท

5.1 อาหารคาว ประเภท แกงจืด ต้มยำ ก๋วยเตี๋ยว ต้องเสิร์ฟขณะร้อน                                                                      



5.1.1 ประเภทยำ ปรุงเสร็จต้องเสิร์ฟทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานเพราะน้ำของผักและส่วนผสมอื่นๆ จะทำให้รสชาติเปลี่ยนไป

5.1.2 ประเภทผัดผัก ผัดเสร็จต้องเสิร์ฟทันทีจะได้รสชาติ ความหวานของผัก

5.2 อาหารหวาน เสิร์ฟหลังจากทานอาหารคาวเสร็จเรียบร้อยแล้ว

5.3 เครื่องดื่ม  

5.3.1 ประเภทเสิร์ฟร้อน เช่น ชา กาแฟ

5.3.2 ประเภทเสิร์ฟเย็น เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำอัดลม

6. อุปกรณ์ เครื่องใช้ ในการรับประทานอาหาร หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวกในการรับประทานอาหาร ประกอบด้วย จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ  

7. วิธีการจัดวาง วางจานข้าวไว้หน้าผู้รับประทาน วางช้อนและมีดด้านขวามือ วางส้อมด้านซ้ายมือ และวางแก้วน้ำไว้ด้านขวามือ เหนือจานและช้อนเล็กน้อย

8. อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ประกอบด้วย ฟองน้ำ แผ่นขัด น้ำยาล้างจาน

9. เก็บล้างทำความสะอาดภาชนะ หมายถึง การเก็บภาชนะที่ใช้ในการรับประทานอาหารประกอบด้วย จาน ชาม ถ้วย แก้วน้ำช้อน ส้อม และทำความสะอาด

10. วิธีทำความสะอาดและจัดเก็บภาชนะให้ถูกต้องจะช่วยรักษาให้มีสภาพสมบูรณ์และมีอายุการใช้งานได้นาน

10.1 เครื่องแก้ว  

- ล้างด้วยน้ำสบู่อุ่นแล้วล้างด้วยน้ำเปล่าให้หมดสบู่ เนื้อแก้วจะใสเป็นเงา ไม่ควรใช่แผ่นเหล็กขัด จะทำให้เป็นรอย

- เก็บโดยการคว่ำเรียงในชั้นวางให้เป็นระเบียบ ระวังการกระแทก    

10.2 จาน-ชาม

- ใช้ฟองน้ำหรือน้ำล้างชามพร้อมน้ำยาทำความสะอาด ถูให้ทั่วแล้วล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาดไม่ควรใช้แผ่นโลหะขัด เพราะจะทำให้เกิดรอย 

- การเก็บ โดยการเช็ดทำความสะอาด จัดเรียงในชั้นเก็บให้เรียบร้อย ระวังอย่างให้กระทบกันจะทำให้เกิดรอยอาจแตกหรือร้าวได้

10.3 ช้อน-ส้อม

- ใช้ฟองน้ำกับน้ำยาล้างจาน ขัดถูคราบสกปรกทีละชิ้น แล้วล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้งควรเก็บใส่กล่องมีฝาปิดมิดชิด ถ้าเป็นเครื่องเงิน ต้องห่อด้วยกระดาษทึบแสงไม่ให้ถูกอากาศจะดูใหม่อยู่เสมอ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสาธิตการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ