หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องเรือน

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-PAIF-134B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องเรือน

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


1 5152 พนักงานดูแลงานบ้านแม่บ้าน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดเครื่องเรือน ประเภทไม้ โลหะ พลาสติก เครื่องหนัง และประเภทผ้า โดยการเตรียมความพร้อม  และเลือกใช้วัสดุ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องเรือนได้เหมาะสมตามประเภทของเครื่องเรือน ให้สะอาดปลอดภัย และการบำรุงรักษาเครื่องเรือนแต่ละประเภทได้ถูกวิธี 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10311

ทำความสะอาดเครื่องใช้ได้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องเรือน

อธิบายลักษณะเครื่องเรือนแต่ละประเภทได้

10311.01 219822
10311

ทำความสะอาดเครื่องใช้ได้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องเรือน

เลือกใช้วัสดุ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องเรือนได้เหมาะสมตามแต่ละประเภท

10311.02 219823
10311

ทำความสะอาดเครื่องใช้ได้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องเรือน

ทำความสะอาดเครื่องเรือนแต่ละประเภทได้สะอาด ปลอดภัย

10311.03 219824
10312

บำรุงรักษาเครื่องใช้ได้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องเรือน

สังเกต ตรวจสอบสภาพตามประเภทเครื่องเรือนเป็นประจำ เพื่อหาความผิดปกติได้

10312.01 219825
10312

บำรุงรักษาเครื่องใช้ได้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องเรือน

บำรุงรักษาเครื่องเรือนได้ถูกวิธีตามประเภทของเครื่องเรือน

10312.02 219826

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานแม่บ้านได้

ประเภทของเครื่องเรือนที่ใช้ตามบ้าน และสำนักงาน 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการทำความสะอาดเครื่องเรือน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการทำความสะอาดเครื่องเรือน 

ความรู้ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง 

ความรู้ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดเครื่องเรือนประเภทไม้ได้อย่างเหมาะสม)

2. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดเครื่องเรือนประเภทโลหะได้อย่างถูกต้อง

3. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดเครื่องเรือนประเภทพลาสติกได้อย่างเหมาะสม)

4. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดเครื่องเรือนประเภทหนังได้อย่างเหมาะ)

5. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดเครื่องเรือนประเภทผ้า)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์ (แยกประเภทของเครื่องเรือนประเภทไม้ได้อย่างถูกต้อง)

2. แบบสัมภาษณ์ (แยกประเภทเครื่องเรือนประเภทโลหะได้อย่างถูกต้อง)

3. แบบสัมภาษณ์ (ดูแลรักษาเครื่องเรือนประเภทพลาสติกได้อย่างถูกต้อง)

4. แบบสัมภาษณ์ (แยกประเภทของเครื่องเรือนประเภทหนังได้อย่างถูกต้อง)

5. แบบสัมภาษณ์ (แยกประเภทของเครื่องเรือนประเภทผ้าได้อย่างถูกต้อง)    

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง)  วิธีการประเมิน

1. การสังเกตการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การทำความสะอาดเครื่องเรือนไม้

ประเภทของเครื่องเรือนไม้ประกอบไปด้วย ไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้ออ่อน

1.1 การทำความสะอาดเครื่องเรือนไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้ประดู่ เป็นต้น มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน เช่น ตู้โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ  

1)  ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออกให้หมด  

2) ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าขนหนูที่สะอาดชุบน้ำบิดให้หมาด 

3) เช็ดฝุ่นให้สะอาดทุกซอกทุกมุม ทิ้งให้แห้ง หากมีรอยเปื้อนมากๆ ขัดออกด้วยกระดาษทราย ทาขี้ผึ้งแล้วขัดด้วยผ้าแห้งหรือใช้น้ำยา ชักเงาฉีดแล้วทิ้งให้แห้ง ไม่ควรให้เปียกน้ำ

1.2 การทำความสะอาดเครื่องเรือนไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ไผ่ หวาย มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน ชั้นวางของ                    

1) ใช้แปรงหรือไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นให้ออก  

2) ใช้ผ้าฝ้ายสะอาดชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดออก ทิ้งไว้ให้แห้ง  

3) ควรฉีดยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมอด แล้วนำออกตากแดด ไม่ควรใช้มือเปียกจับเครื่องเรือน เพราะจะทำให้เกิดรอยด่าง ถ้ามีรอยเปื้อนมากๆ ให้เช็ดด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำอุ่นให้ทั่ว  แล้วขัดด้วยขี้ผึ้ง เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษให้เช็ดด้วยผ้าแห้งหรือปัดฝุ่น หลีกเลี่ยงจุดวางที่มีแดดแรงๆ เพราะจะทำลายสีของไม้ หลังจากทำความสะอาดแล้วให้ลงน้ำมันบำรุงผิวอีกที คราบสกปรกจากน้ำเช็ดน้ำให้แห้งสนิทจากนั้นใช้ผ้าสะอาดแตะมายองเนสถูลงบนรอยนั้น ถ้าเนื้อไม้มีรอยขีดข่วน ใช้ยาขัดรองเท้าสีใกล้เคียงกับเฟอร์นิเจอร์ทาลงบนรอยนั้น

2. การทำความสะอาดเครื่องเรือนประเภทโลหะ

ประเภทของเครื่องโลหะประกอบไปด้วย เหล็ก เครื่องเงิน อะลูมิเนียม แสตนเลส

2.1 การทำความสะอาดเครื่องเรือนเหล็ก

1) หลังจากใช้แล้วรีบทำความสะอาดทันที โดยใช้น้ำสบู่ล้างออกจะสะอาด หากสกปรกมากให้ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด แล้วล้างด้วยน้ำ สะอาด เช็ดให้แห้ง

2) ควรทาน้ำมันเคลือบเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันสนิม

3) อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ที่เป็นเหล็กถูกน้ำนานๆ หรือแช่น้ำนานๆ เพราะจะทำให้เป็นสนิม ถ้ามีสนิมขึ้น ให้ใช้ฝอยขัดสนิมให้หมด เช็ดให้แห้ง ใช้น้ำมันทากันสนิม แล้วเก็บเข้าที่

4) เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง ปลอก หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด ไม่วาง ไว้ในที่ลมพัดผ่าน เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม

2.2 การทำความสะอาดเครื่องเรือนโลหะเงิน  เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะเงิน เช่น ชุดน้ำชา ขันเงิน พาน ถ้าถูกอากาศจะเกิดปฏิกิริยา ทำให้เครื่องเงินหมองคล้ำ  

1) ล้างด้วยน้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะ หรือน้ำมะนาวผสมสบู่ ขัดให้สะอาด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

2) ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่ล้าง แล้วขัดให้สะอาด

3) ห้ามใช้ใยขัดโลหะ หรือฝอยขัดหม้อขัดเครื่องเงิน เพราะอาจทำให้เป็นรอยขีดข่วน และสึกหรอได้

4) เมื่อทำความสะอาดแล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกหรือ ใส่กล่อง แล้วนำเก็บเข้าตู้ไม่ให้ถูกอากาศ

2.3 การทำความสะอาดเครื่องเรือนอะลูมิเนียม   ซึ่งอะลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม จัดทำรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย มักนำมาทำภาชนะเครื่องใช้ เช่น หม้อ กระทะ ทัพพี ถาด ขันน้ำ 

มีวิธีดูแลรักษาดังนี้

1) ใช้ฝอยขัดหม้อหรือแผ่นขัด ขัดให้สะอาด แล้วล้างด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ ห้ามใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างเข้มข้นขัด

2) รอยไหม้บนอะลูมิเนียม ห้ามใช้ไม้หรือเหล็กแคะ ให้ต้มด้วยน้ำผสมเกลือให้เดือด รอยไหม้จะกะเทาะออกไปเอง หรือใช้ฝอยขัดหม้อขัดแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

3) เมื่อทำความสะอาดแล้ว ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง เก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้

2.4 การทำความสะอาดเครื่องเรือนสแตนเลส ซึ่งสแตนเลสมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อนได้ดี ทนทานต่อความกัดกร่อนไม่เป็นสนิม และดูแลรักษาง่าย นิยมใช้ทำภาชนะหุงต้ม ภาชนะในการรับประทานอาหารอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น อ่างล้างชาม เป็นต้น

1) ใช้ฟองน้ำชุบน้ำผสมผงซักฟอก หรือ น้ำยาล้างจานขัดถูให้สะอาด คว่ำไว้ แล้ว ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง

2) เมื่อทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งแล้ว นำไปเก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้

3. การทำความสะอาดเครื่องเรือนประเภทพลาสติก

3.1 การดูแลรักษาเครื่องเรือนพลาสติก เครื่องเรือนที่เป็นพลาสติกจะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการโดนน้ำแต่อาจมีปัญหาเรื่องของงความทนทาน เพราะพลาสติกอาจเกิดการกรอบ หักง่าย เมื่อโดนแสงแดด จึงควรวางห่างจากแสงแดงจัด           

3.2 วิธีการทำความสะอาดเครื่องเรือนพลาสติก ดังนี้

1) ให้ใช้แปรงสีฟันเก่าๆ จุ่มลงไปในน้ำที่ผสมผงซักฟอกหรือน้ำยกทำความสะอาดจากนั้นถูให้ทั่วอย่าใช้แปรงทองเหลืองหรือที่ขัดถูหม้อกระทะที่หยาบ เพราะจะ ทำให้พลาสติกเป็นรอยขีดข่วนได้ 

2) เมื่อขัดถูเรียบร้อยแล้วให้ล้างด้วยน้ำสะอาด ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งเครื่องเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากพลาสติกจะใหม่และสวยงามดังเดิม 

4. การทำความสะอาดเครื่องเรือนประเภทหนัง

ประเภทของเครื่องเรือนหนังประกอบด้วย หนังแท้ หนังเทียม

4.1 การทำความสะอาดเครื่องเรือนที่ทำจากหนังแท้  โดยหนังแท้มี 2 แบบ คือ แบบหนังเรียบธรรมดา และแบบหนังกลับ มีวิธีทำความสะอาดตามชนิดของเครื่องหนัง ดังนี้

1) หนังธรรมดา ให้ทำความสะอาดด้วยการใช้แปรงอ่อนๆ ปัดฝุ่น หรือสิ่งสกปรกออกให้หมดก่อน แล้วใช้เศษผ้า ฟองน้ำ หรือแปรงขัด หนัง ขัดให้ทั่ว ต่อจากนั้นให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม ทิ้งไว้ให้แห้งแล้ว เก็บเข้าที่

2) หนังกลับ ทำความสะอาดด้วยการปัดฝุ่นละออง โดยใช้แปรงปัดฝุ่นให้ชนลู่ไปทางเดียวกันเพื่อให้สวยงาม และให้ใช้แปลงขนสีดำค่อนข้างแข็ง แปรงไปในทางเดียวกันประมาณ 1-2 อาทิตย์ต่อครั้ง แต่หากเกิดรอยเปื้อนมากให้ใช้แปรงสีฟันจุ่มลงน้ำสบู่พอหมาดๆ แล้วแปรงบริเวณรอยเปื้อนไปในทางเดียวกัน จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำหมาดเช็ดออกอีกครั้ง ส่วนที่เป็นผ้าคล้ายหนังควรใช้สก็อตการ์ด พ่นเพื่อป้องกันน้ำ และฝุ่น เท่ากับเป็นการเคลือบด้วย ควรทำประมาณ 6 เดือน ต่อครั้ง ระวังอย่าให้ถูกความชื้นและความร้อน  เพราะจะทำให้เสียรูปทรงเมื่อ ทำความแล้วเฟอร์นิเจอร์หนังควรอยู่ในห้องปรับอากาศ ไม่จำเป็นต้อง เช็ดบำรุงรักษาบ่อยมากนัก แต่ถ้าเฟอร์นิเจอร์ ถูกแดดและโดนฝุ่นบ่อยๆ ก็ต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ



4.2 การทำความสะอาดเครื่องเรือนที่ทำจากหนังเทียม มีวิธีดังนี้

1) ให้เอาฝุ่น เศษผงต่างๆ ทุกซอกทุกมุม ออกให้หมด

2) ใช้ผ้า หรือกระดาษทิชชู่ เช็ดฝุ่นให้หมด ถ้าเป็นรอยเปื้อนไม่เยอะใช้แค่ผ้าหรือกระดาษ ชุบน้ำหมาดๆ เช็ดออก 



3) ถ้าเป็นรอยฝังแน่นที่ใช้น้ำเช็ดไม่ออก ให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ทั่วๆ ไปเช็ดออกแล้วใช้ผ้าแห้งนุ่มๆ เช็ดซ้ำอีกครั้ง เอาน้ำมันที่เคลือบออก 

4) นำมาผึ่งลมบ้าง เดือนละครั้ง

5. การทำความสะอาดเครื่องเรือนประเภทผ้า   โดยผ้าที่ใช้ทำเครื่องเรือน ประกอบด้วย ผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ และผ้าจากใยสังเคราะห์  

5.1 วิธีการทำความสะอาดเครื่องเรือนผ้า ดังนี้

1) ถอดปลอกหมอนและปลอกโซฟาไปซักทำความสะอาดก่อน โดยหลีกเลี่ยงการซักด้วยเครื่องเพราะอาจจะทำให้เนื้อผ้าเสียรูปทรงหรือเป็นขุยได้ เพราะฉะนั้นซักด้วยมือจะดีที่สุด แต่ถ้าเป็นโซฟาที่ถอดทำความสะอาดไม่ได้ ก็ให้ใช้เครื่องดูดฝุ่น ทำความสะอาดฝุ่นและเศษขนมต่างๆ ที่ตกค้างอยู่บนโซฟา โดยเฉพาะบริเวณที่พักแขนและพนักพิงซึ่งเป็นบริเวณที่มักจะมีฝุ่นเยอะกว่าบริเวณอื่นๆ

2) บริเวณที่ไม่มีผ้าคลุม เช่น บริเวณขาโต๊ะ หรือบริเวณโครงโซฟา ทำความสะอาด  ด้วยผ้าชุบน้ำ บิดพอหมาด แล้วนำมาเช็ดทำความสะอาดให้ทั่ว หรือฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อผสมไปด้วยเพื่อฆ่าเชื้อโรค

3) หมอนอิง ถอดปลอกหมอนออกไปซักก่อนเสร็จแล้วให้นำหมอนมาแช่ลงในน้ำอุ่นที่ผสมน้ำยาทำความสะอาดจนหมอนชุ่มน้ำยา ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นเทน้ำยาออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดพร้อมกับใช้มือกดหมอนเพื่อบีบน้ำยาออกจากหมอนให้หมด หากน้ำในถังเต็มไปด้วยฟองจากน้ำยา ก็ให้เปลี่ยนน้ำใหม่ทำซ้ำอย่างนี้จนแน่ใจว่าไม่มีน้ำยาตกค้างในหมอนอีกแล้ว จากนั้นนำไปตากในที่ที่ลมโกรกดี และแสงแดดส่องถึง โดยหลีกเลี่ยงการตากในมุมอับชื้น เพื่อป้องกันเชื้อราไม่ให้มาเจริญเติบโตในหมอน

4) การทำความสะอาดโซฟาชิ้นใหญ่ โดยผสมน้ำเย็นและน้ำอุ่นอย่างละครึ่ง กับน้ำยาทำความสะอาดโซฟาโดยเฉพาะ หรืออาจจะใช้น้ำยาทำความสะอาดเบาะรถยนต์ก็ได้เช่นกัน ปริมาณที่ใช้ก็ตามฉลากที่บอกไว้ ค่อยๆ ใช้ผ้าชุบน้ำยาพอหมาด อย่าให้ชุ่มมาก (ควรใช้ผ้าสีขาว เพื่อจะเห็นคราบสกปรกได้ชัด) แล้วเช็ดทำความสะอาดโซฟาให้ทั่ว โดยกดเน้นในจุดที่มีคราบสกปรกติดอยู่เป็นพิเศษ เพื่อกำจัดคราบให้จางลงหากผ้าเริ่มดำก็เปลี่ยนผ้าผืนใหม่ทันที คราบสกปรกจากผ้าจะได้ไม่ตกค้างบนโซฟาอีก จากนั้นให้ใช้ผ้าแห้งซับความชื้นในโซฟาอีกครั้ง จนแน่ใจว่าโซฟาเริ่มแห้ง และก็นำโซฟาไปตากแดดจัดๆ เพื่อกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์และฆ่าเชื้อโรคหรือใช้ไดร์เป่าผมมาเป่า

5.2อักษรย่อที่มักระบุในแถบผ้าได้แก่ 

WS สามารถทำความสะอาดได้ด้วยน้ำและสบู่หรือโฟม และซักแห้ง, 

W ควรใช้โฟมหรือสบู่อ่อนในการทำความสะอาดเท่านั้น, S ควรทำความสะอาดโดยใช้ผลิตภัณฑ์ซักแห้งเท่านั้น, 

X ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาด ควรใช้แปรงปัดหรือดูดฝุ่นเท่านั้น 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสังเกตการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

 

 



ยินดีต้อนรับ