หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-DFON-146B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


1 5152 พนักงานดูแลงานบ้านแม่บ้าน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคารบำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้าและสวน   จำแนกประเภทของรั้วประตู ดูแลรักษาบริเวณรั้วประตูและถนนเข้าอาคาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30111

ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคาร

อธิบายวิธีการใช้งานวัสดุ-อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้าและสวน

30111.01 219885
30111

ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคาร

เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้าและสวน

30111.02 219886
30111

ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคาร

บำรุงรักษาสนามหญ้าและสวน 

30111.03 219887
30112

ดูแลรักษาบริเวณรั้วประตูและถนนเข้าอาคาร

จำแนกประเภทของรั้วประตู

30112.01 219888
30112

ดูแลรักษาบริเวณรั้วประตูและถนนเข้าอาคาร

บำรุงรักษารั้วประตูและถนนเข้าอาคาร

30112.02 219889

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถสื่อสารพื้นฐานเพื่อการให้บริการได้

วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลสนามหญ้าและสวน  

ประเภทของรั้วประตูและวิธีการบำรุงรักษา

การใช้งานเครื่องมือในการบำรุงรักษา

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการบำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงาน ที่รับผิดชอบมีทักษะด้านความปลอดภัยการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ หรือภาษาในประเทศอาเซียน และมีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในการบำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคารได้)

2. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ใช้วัสดุอุปกรณ์ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง)

3. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (จำแนกประเภทของขยะ)

4. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (จัดเก็บได้อย่างถูกต้อง)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์ (ขั้นตอนในการบำรุงรักษาสนามหญ้าและสวน)

2. แบบสัมภาษณ์ (จำแนกประเภทของรั้วประตูได้อย่างถูกต้อง)

3. แบบสัมภาษณ์ (ขั้นตอนในการบำรุงรักษารั้วประตูและถนนเข้าอาคาร)

4. แบบสัมภาษณ์ (กำจัดขยะได้อย่างถูกต้อง)    

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสัมภาษณ์

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคาร

1.1 วัสดุ-อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้าและสวน ประกอบด้วย กรรไกรตัดหญ้า เครื่องตัดหญ้า ไม้กวาด ทางมะพร้าว บุ้งกี้ กรรไกรตัด เลื่อยตัดแต่งกิ่ง

1.2 ขั้นตอนในการบำรุงรักษาสนามหญ้าและสวน

1.2.1 ตัดแต่งไม้พุ่มต่างๆ ในบริเวณอาคารให้เสร็จสิ้นก่อนตัดหญ้าเสมอ เก็บกวาดกิ่งใหญ่ ออกให้หมด ส่วนเศษใบเล็กๆ น้อยๆ ที่ตกอยู่ในสนามหญ้า พอเครื่องตัดหญ้าตัดผ่าน เครื่องที่มีกล่องเก็บหญ้าจะดูดเก็บเศษใบไม้เหล่านี้ไปได้ 

1.2.2 เดินสำรวจสนามให้รอบ ดูว่ามีเศษอิฐเศษหินหลงมาอยู่ในสนามหญ้าของเราหรือไม่ ถ้าเจอก็เก็บออกให้หมด

1.2.3 เวลาที่เหมาะสำหรับการตัดหญ้าประมาณบ่ายสามโมง เพราะเป็นเวลาที่ใบหญ้าถูกแดดจนน้ำค้างแห้งดีแล้ว ใบหญ้าที่ยังชื้นจะตัดยากกว่าใบหญ้าที่แห้ง 

1.2.4 หลังการตัดหญ้าเมื่อตัดหญ้าในสนามเสร็จ อย่าปล่อยให้เศษหญ้าหลงเหลืออยู่ในสนามใช้ไม้กวาดทางมะพร้าว กวาดใส่บุ้งกี๋ 

1.3 การปรับปรุงสวน

1.3.1 ไม้กระถาง หากพบว่าดินปลูกในกระถางเหลือน้อยลง จำเป็นจะต้องเติมดินลงในกระถางหรือไม้กระถางนั้นเจริญเติบโตเกินกว่าจะอยู่ในกระถางเดิมได้ ก็ควรจะเปลี่ยนกระถางหรือย้ายไม้นั้นลงปลูกในดินหรือทำการเปลี่ยนไม้กระถางใหม่ 

1.3.2 พรรณไม้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เถาเลื้อย เมื่อเจริญเติบโตจนเบียดกัน ต้องแยกออกบางต้นหรือตัดแต่งให้ได้ขนาดที่ต้องการ หากจุดใดพรรณไม้ตายไปก็ควรจะหาพรรณไม้นั้นๆ มาปลูกทดแทน หรือจะเปลี่ยนแปลงเป็นไม้ชนิดอื่นก็อาจทำได้ ทั้งนี้ต้องพิจารณาความเหมาะสมของพรรณไม้นั้นๆ ด้วย

1.4 ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง

- ก่อนทำการตัดหญ้าให้ตรวจสอบว่าไม่มีวัตถุแปลกปลอมอยู่ในสนามหญ้า อย่างเช่น ของเล่น ท่อนไม้หรือก้อนหิน

- ต้องมั่นใจว่าใบมีดของเครื่องตัดหญ้าที่คุณใช้มีความคมอยู่ตลอดเวลา ทุกครั้งที่ใช้

- ห้ามตรวจสอบเครื่องตัดหญ้าขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่

- ห้ามใช้มือหรือเท้าเขี่ยเศษหญ้าออกจากเครื่องตัดหญ้าขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ให้ทำเมื่อปิดเครื่องแล้วเท่านั้น

- ก่อนใช้จะต้องมั่นใจว่าเครื่องป้องกันไม่หลุดหาย

- ถ้าจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมอื่น ต้องปิดเครื่องตัดหญ้าก่อนทุกครั้ง

- สวมชุดป้องกัน เช่น แว่นตา กางเกงขายาวและถุงมือ ไม่ควรใส่รองเท้าฟองน้ำ

2. ดูแลรักษาบริเวณรั้ว ลาน ถนน ทางเดิน และรั้วอาคาร

2.1 ประเภทของวัสดุพื้นผิวของอาคารสถานที่ ประกอบด้วยวัสดุหลายอย่างที่แตกต่างกันตามประโยชน์ใช้งาน เช่น คอนกรีต ปูนซีเมนต์ ไม้ โลหะ หินอ่อน (แผ่น) 

2.2 ขั้นตอนการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณรอบอาคาร ใช้วิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนวัสดุต้องทำความสะอาดให้เหมาะสมกับพื้นผิว รั้วแต่ละประเภท

- เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุทำความะสอาดให้พร้อมทำความสะอาด

- ทำความสะอาดเบื้องต้นก่อน โดยใช้ไม้กวาดอ่อนหรือไม้กวาดทางมะพร้าว ปัดกวาดเศษดิน ฝุ่น หิน ใบไม้หรือเศษขยะอื่นๆ เก็บและนำไปทิ้งในที่กำหนด

 - ทำความสะอาดคราบสกปรกหรือรอยเปื้อนที่ติดแน่น ตะไคร่น้ำ เชื้อรา ด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุทำความสะอาดที่เหมาะสมกับพื้นผิวแต่ละชนิด ดังนี้

2.2.1 วัสดุไม้

-ใช้ผ้านุ่มๆ ชุบน้ำผสมสบู่จางๆเช็ดก็เพียงพอ อย่าใช้น้ำมาก เพราะจะทำให้ผิวเป็นรอยด่างอย่าใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียหรือแอลกอฮอลล์กับไม้เด็ดขาด 

- ใช้แลคเกอร์เคลือบผิวก็จะให้ความเงางาม ใช้น้ำมัน บำรุงรักษาผิว เช่น Teak Oil หรือ Oil Stain ควรทาทุก 3 เดือน

- รั้วไม้นั้นมีศัตรูที่คอยทำลายความแข็งแรงตรวจตราอยู่สม่ำเสมอว่ามีบริเวณไหนที่ได้รับความเสียหายให้ทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่โดยทันที

2.2.2 วัสดุปูนหรือคอนกรีต

- ราดน้ำให้เปียกจากนั้นใช้ผงซักฟอกอุตสาหกรรมราดให้ทั่ว 

- ขัดคราบด้วยแปรงที่มีขนแข็งๆ ขัดให้สะอาด

- ล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งหรือฉีดล้างด้วยน้ำที่มีแรงดันสูง (High-Pressure) ทิ้งไว้จนแห้งข้อควรระวังในการใช้สารเคมีในการขจัดคราบ กรดไฮโดรคลอริคเจือจาง, ผงซักฟอกอุตสาหกรรมหรือสารทำความสะอาดอื่นที่มีสารเคมีเป็นองค์ประกอบหลัก สามารถทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ ถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้องอ่านขั้นตอนการเตรียมสารละลายและคำเตือนของผู้ผลิตสารเคมีอย่างละเอียดก่อนใช้ปฏิบัติตามข้อแนะนำความปลอดภัยและอัตราการผสมในการผสมสารเคมีควรเจือจางกรดด้วยการเติมกรดลงในน้ำที่เตรียมไว้ โดยไม่ควรเติมน้ำไปเจือจางกรดสวมเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม และควรปฏิบัติงานในที่ที่มีอากาศถ่ายเท  กรดสามารถทำลายพื้นผิวของคอนกรีตได้ ในการใช้จึงจะต้องเจือจางก่อนและล้างทำความสะอาดทันทีหลังจากการใช้งาน

2.2.3 วัสดุไม้เฌอร่า

- ใช้ผ้านุ่มๆชุบน้ำผสมสบู่จางๆเช็ด

- ฉีดน้ำล้างทำความสะอาด ถูพื้นให้แห้ง เป็นวัสดุที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม่มีปัญหาเรื่องของแมลงกินไม้ แต่ความยืดหยุ่นจะน้อยกว่ารั้วไม้จริง ถ้าเกิดการกระแทกแรงๆ สามารถหักได้ ควรระวังป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกกับรั้วโดยตรงไม่ควรใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง ประเภทใช้ทำความสะอาดสุขภัณฑ์หรือห้องน้ำ เพราะจะทำให้พื้นไม้เทียมเกิดรอยด่างเสียหายไม่สามารถแก้ไขได้

2.2.4 วัสดุโลหะ ได้แก่ เหล็ก อัลลอยด์ สแตนเลส

1) เหล็ก

- ทำความสะอาดรั้วเหล็กด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำมันสน

- ขัดสนิมและคราบสีเก่าออกด้วยแปรงลวดทองเหลือง เกรียงเหล็ก และกระดาษทรายจนถึงเนื้อโลหะ

- เช็ดด้วยผ้าสะอาดแล้วรอให้แห้งสนิท

- ทาสีรองพื้นแดงกันสนิม 2 รอบทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

2) อัลลอยด์

- ล้างด้วยน้ำสบู่ ฉีดด้วยน้ำสะอาดจนหมดคราบแล้วเช็ดด้วย ผ้า จนแห้งสนิทรั้วอัลลอยด์มีความคงทนสูงเนื่องจากไม่เป็นสนิม สีที่เคลือบไว้นั้นก็ป้องกันฝุ่นหรือ ความชื้นได้ดีสีที่จะซีดเก่าไปตามกาลเวลาต้องดูแลทาสีใหม่ในเวลาที่เหมาะสม ห้ามกระแทกหรือโดนอะไรแรง

3) สแตนเลส

- ทำความสะอาดทันทีที่พบรอยเปื้อนและฝุ่น

- ใช้น้ำสะอาดล้างและเช็ดให้แห้งด้วยผ้าเนื้อนุ่มหรือกระดาษชำระแผ่นใหญ่เมื่อใช้กรดทำความสะอาด ควรใช้มาตรการป้องกันและระมัดระวังอย่างเหมาะสมขั้นตอนการขจัดคราบต่างๆ เช่น รอยเปื้อน: น้ำมัน คราบน้ำมัน: ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน/ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างออกด้วยสบู่ /ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง สิ่งที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวสแตนเลส

- อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของคลอไรด์ ( Chlorides) และ เฮไลด์ (Helides) เช่น โบรไมน์ (Bromine) ไอโอดีน (Iodine) และ ฟลูออรีน (Fluorine)

- อย่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดสแตนเลส

- อย่าใช้กรดไฮโดรคลอริค (HCI) ในการทำความสะอาด เพราะจะทำให้เกิดการกัดกร่อน แบบรูเข็มและแบบเป็นรอยร้าวได้ อย่าใช้ปริมาณสบู่และผงซักฟอกมากเกินไปในการทำความสะอาด เพราะอาจทิ้งคราบไว้บนพื้นผิวได้อย่าทำความสะอาดส่วนที่มีคราบฝังแน่นในขั้นตอนเดียว ควรทำความสะอาดเบื้องต้นก่อนขจัดคราบฝังแน่น

2.3 ขั้นตอนการทำความสะอาดถนน 

1) กวาดด้วยไม้กวาดดอกหญ้าให้สะอาด 

2) ถูด้วยไม้ถูพื้นที่ชุบน้ำบิดหมาดๆ 

3) ถ้าพื้นสกปรกมากควรล้างด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือผงซักฟอก 

4) แล้วใช้แปรงทองเหลืองขัดถูและกวาดให้สะอาดด้วยไม้กวาดทางมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง

5) พื้นที่ผ่านการใช้งานและขาดการดูแลรักษามานาน ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบเข้มข้นขจัดคราบสกปรก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสัมภาษณ์

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ