หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือกใช้ ดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-EJAV-160B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือกใช้ ดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


1 5152 พนักงานดูแลงานบ้านแม่บ้าน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการแยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นภายนอกอาคาร   การเลือกใช้และดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้อย่างปลอดภัย โดยแก้ปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้จำกัด  และมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากหัวหน้างาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎกระทรวงสาธารณสุข กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10211

แยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

กำหนดงานทำความสะอาดภายนอกอาคาร

10211.01 219833
10211

แยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

บอกประเภทของวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

10211.02 219834
10211

แยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

อธิบายลักษณะการใช้งานของวัสดุอุปกรณ์แต่ละประเภทได้

10211.03 219835
10212

เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดตามพื้นและผนังภายนอกอาคารแต่ละประเภทได้

10212.01 219836
10212

เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดให้เหมาะสมกับพื้นและผนังภายนอกอาคารแต่ละประเภทได้

10212.02 219837
10213

ดูแลรักษาและจัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์และทำความสะอาดได้อย่างปลอดภัย

10213.01 219838
10213

ดูแลรักษาและจัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

จัดเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้อย่างปลอดภัย

10213.02 219839

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถสื่อสารพื้นฐานเพื่อการให้บริการได้

ประเภทชองวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร

การใช้งานวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดภายนอกอาคารตามคำแนะนำของผู้ผลิต

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร

2. มีทักษะในการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้เหมาะกับงาน

3. มีทักษะในการดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับชนิดของวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร

2. มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

3. มีความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน                                  

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)

2. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (จัดเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)

3. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (เตรียมความพร้อมก่อนทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)

4. แบบสาธิตการปฏิบัติงาน (ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารด้วยความระมัดระวัง)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์ (กำหนดงานทำความสะอาดภายนอกอาคาร) 

2. แบบสัมภาษณ์ (บอกประเภทของวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร)

3. แบบสัมภาษณ์ (อธิบายการใช้งานของวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)

4. แบบสัมภาษณ์ (เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)

5. แบบสัมภาษณ์ (ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสังเกตการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์

3. การสาธิตการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. งานทำความสะอาดภายนอกอาคาร ได้แก่ พื้น ผนัง

2. ประเภทของวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร

2.1 วัสดุ-อุปกรณ์สำหรับปัดและกวาด           

2.2 วัสดุ-อุปกรณ์สำหรับเช็ดถู 

2.3 วัสดุ-อุปกรณ์สำหรับขัด

3. วัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดผนัง ได้แก่ ไม้กวาดขนไก่ ไม้กวาดเสี้ยนตาล ฟองน้ำ ผ้าสะอาดและเครื่องดูดฝุ่น 

4. วัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดพื้น ได้แก่ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดทางมะพร้าว แผ่นขัด แปรงพลาสติก แปรงไนลอน แปรงกาบมะพร้าว แปรงทองเหลือง ไม้กวาดทางมะพร้าว ผ้าถูพื้น ฟองน้ำ ไม้ถูพื้นถังน้ำและกะละมัง

5. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นและผนัง ได้แก่ สารซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาขัดและผงขัดใช้ร่วมกับวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารประเภทต่างๆ

6. ลักษณะการใช้งาน

6.1 ไม้กวาดขนไก่ใช้สำหรับปัดฝุ่นตามผนัง ขอบหน้าต่าง โดยต้องใช้ในบริเวณที่แห้งเท่านั้น

6.2 ไม้กวาดดอกหญ้า ใช้สำหรับกวาดพื้นที่แห้งและเรียบ เช่น พื้นไม้ พื้นซีเมนต์ขัดเรียบ พื้นหินขัด พื้นกระเบื้อง  

6.3 ไม้กวาดเสี้ยนตาล ชนิดที่มีด้ามยาว ใช้สำหรับกวาด หยากไย่บนเพดานหรือกวาดบริเวณที่อยู่ไกลและเอื้อมไม่ถึง

6.4 ไม้กวาดทางมะพร้าว ใช้กวาดพื้นผิวที่หยาบหรือกวาดพื้นที่มีน้ำขัง ใช้กวาดน้ำเพื่อล้างพื้นประเภทต่างๆ

6.5 เครื่องดูดฝุ่น ใช้แทนไม้กวาดเกือบทุกประเภท โดยเลือกใช้หัวเครื่องดูดฝุ่นให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นผิวที่จะทำความสะอาด

6.6 แผ่นขัด ใช้ขัดถูคราบสกปรกที่พื้นกระเบื้องใช้ร่วมกับน้ำยาขัดหรือผงขัด

6.7 แปรงกาบมะพร้าว ใช้ขัดมุ้งลวด พื้นไม้ พื้นกระเบื้อง พื้นซีเมนต์ที่ไม่ต้องการให้เห็นรอยขัดถู 

6.8 แปรงทองเหลืองใช้ขัดพื้นไม้ พื้นซีเมนต์ พื้นหินขัดที่สกปรกมากใช้น้ำราดพื้นให้เปียกก่อนทำการขัด

6.9 ฟองน้ำ ใช้ซับน้ำออกจากเครื่องใช้หรือเช็ดถูคราบสกปรก

6.10 ไม้ถูพื้นใช้ถูพื้นต่างๆ ภายในอาคาร

6.11 ถังน้ำและกะละมังใช้ใส่น้ำเพื่อซักล้างและทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ

7. การเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร

7.1 การปัดกวาด 

- ไม้กวาดขนไก่ใช้สำหรับปัดฝุ่นตามชั้นวางของ หลังตู้หรือตามเฟอร์นิเจอร์ โดยต้องใช้ในบริเวณที่แห้งเท่านั้น

- ไม้กวาดดอกหญ้า ใช้สำหรับกวาดพื้นที่แห้งและเรียบ เช่น พื้นไม้ พื้นซีเมนต์ขัดเรียบ พื้นหินขัด พื้นกระเบื้อง 

- ไม้กวาดเสี้ยนตาล ใช้กวาดที่สูง ใช้สำหรับกวาด  หยากไย่บนเพดานหรือกวาดบริเวณที่อยู่ไกลและเอื้อมไม่ถึง

7.2 การเช็ดถู 

- ผ้าถูพื้น เส้นด้าย ฟองน้ำ ต้องสะอาด ไม่ทิ้งฝุ่น คราบ หรือเส้นใยผ้าหลังเช็ดถู ไม่ทำลายพื้นผิว และมีขนาดกว้าง พอสมควรซึ่งจะทำให้งานเสร็จเร็ว

- ไม้ถูพื้นมีด้ามจับเหมาะมือ สะดวกต่อการใช้งาน ไม่ยุ่งยากในการถอดออกและล้างโครงสร้างของ ไม้ถูพื้นควรแข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน

7.3 การขัด

- เลือกใช้ให้เหมาะกับพื้นผิว ไม่ทำลายพื้นผิวให้สึกกร่อน เช่น พื้นกระเบื้องให้ใช้แปรงที่ทำจากวัสดุอ่อนๆ ไม่แข็ง ไม่ใช้แปรงพลาสติกหรือแปรงลวด

- มีด้ามหรือที่จับเหมาะสม ไม่ผุกกร่อนได้ง่าย

- แปรงแน่น เรียบเสมอ มีความแข็งแรง ผลึกติดแน่นกับด้ามหรือแผ่นไม้ แผ่นพลาสติก

7.4 เครื่องดูดฝุ่น  

- ก่อนใช้งานควรศึกษาคู่มือการใช้งานให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำ

- ประกอบต่อท่อหัวแปรงดูดฝุ่นให้แน่นไม่ให้เกิดรอยรั่วของอากาศ ถ้าไม่แน่นมอเตอร์จะทำงานหนักหรือไหม้ได้

- ห้ามดูดฝุ่นที่เป็นเศษแก้ว เศษใบมีดหรือบุหรี่ที่กำลังติดไฟเพราะจะทำให้ตัวเครื่องเสียหาย

- ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับพื้นอาคารที่เป็นรอยง่าย

- หมั่นถอดตัวกรองหรือตะแกรงดักฝุ่นออกมาทำความสะอาดเพราะถ้าอุดตันจะดูดฝุ่นได้ไม่เต็มที่และเปลืองไฟ

7.5 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 

- สารซักฟอก ใช้งานตามที่ระบุในฉลาก เช่น ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้า ซักล้างทั่วไป 

- น้ำยาล้างจาน ก่อนการเลือกใช้ควรศึกษาฉลากและพิจารณาถึงส่วนผสมและคุณสมบัติให้เหมาะสม

- น้ำยาขัดและผงขัด การใช้ ใช้ทำความสะอาดพื้น ขัดภาชนะตามที่ระบุไว้ในฉลาก

8. หลักการใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดอาคาร

8.1 ต้องปลอดภัยในการทำงาน

8.2 ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่าย พลังงานไฟฟ้า และน้ำ

8.3 ขั้นตอนการใช้งานและบำรุงรักษาง่าย ไม่ซับซ้อน

8.4 มีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานทำจากวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

9. การดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ทำความความสะอาดภายนอกอาคาร

9.1 ไม้กวาดขนไก่ หลังจากใช้เสร็จแล้ว ต้องสะบัดฝุ่นออกให้หมด แล้วแขวนไว้ในที่เหมาะสม

9.2 ไม้กวาดดอกหญ้า ควรทำที่แขวนโดยแขวนให้สูงกว่าพื้นเล็กน้อย ทำให้ปลายไม้กวาดไม่หักงอไม่เสียรูปทรง

9.3 ไม้กวาดทางมะพร้าว ล้างให้สะอาด เก็บในที่ร่มและแห้ง โดยการแขวนหรือวางราบกับพื้นวางตั้ง

9.4 ไม้กวาดเสี้ยนตาล เมื่อใช้เสร็จแล้วควรดึงหยาบไย่ที่ติดอยู่กับไม้กวาดออกให้หมด เก็บโดยตั้งพิง ไว้กับฝาผนัง ให้ปลายไม้กวาดอยู่ด้านบน

9.5 เครื่องดูดฝุ่น ควรทำความสะอาดตามคู่มือการใช้อุปกรณ์อย่างเคร่งครัด เพื่อจะช่วยยืดอายุการใช้งาน

9.6 แผ่นขัด ฟองน้ำ หลังใช้แล้วต้องล้างให้สะอาด บีบน้ำออกและผึ่งให้แห้ง

9.7 แปรงทองเหลือง เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องล้างให้สะอาดและตากให้แห้งสนิทก่อน เพื่อป้องกันสนิม

9.8 แปรงเสี้ยนตาล เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องใช้น้ำฉีดล้างให้สะอาดแล้วแขวนตากไว้

9.9 ผ้าถูพื้นชนิดต่างๆ ต้องซักให้สะอาด สะบัดหรือบีบไล่เศษผงออกให้หมด แขวนไว้โดยให้ปลายเหนือจากพื้นเล็กน้อย เพื่อให้แห้งและไม่วางหรือแขวนตากฝน เพราะจะทำให้ด้ามเป็นสนิมและผุกร่อนได้ง่าย

10. การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร  

10.1 สารซักฟอก หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้งและให้พ้นมือเด็ก

10.2 น้ำยาล้างจาน หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท วางในที่หยิบใช้ได้สะดวกแต่ให้พ้นมือเด็ก

10.3 น้ำยาขัด ผงขัด หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท วางในที่หยิบใช้ได้สะดวกแต่ให้พ้นมือเด็ก

11. เตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน 

11.1 เตรียมความพร้อมร่างกาย 

- สวมเสื้อผ้ามิดชิด รัดกุม สะดวก เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน

- ใส่อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ได้แก่ เสื้อคลุม ถุงมือยาง หมวกคลุมผม และผ้าปิดปากจมูกให้เรียบร้อย

11.2 เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ 

- ตรวจดูสภาพของวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดก่อนนำไปใช้

- เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ที่ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น

- เตรียมถังน้ำและใส่น้ำสะอาด พร้อมผ้าสำหรับการเช็ดถูทำความสะอาด 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสังเกตการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์ 

3. การสาธิตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ