หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยบนเรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-IQOJ-219A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยบนเรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO  



3152 นักเดินเรือ/นักเรือ (ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)  

8350  ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

2144 นายช่างกลเรือ (ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือเพื่อขอความช่วยเหลือทางทะเลได้ เช่น นกหวีด ไฟฉาย ธง เป็นต้น และต้องสามารถจัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ จำเป็นบนเรือเพื่อเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกเรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนเรือประมง  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมง 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456  - พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน ปี พ.ศ. 2522  - ข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ปฏิบัติการบนเรือ ฝ่ายเดินเรือ พ.ศ. 2557  - ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ- เพื่ออนุญาตให้ใช้เรือและใบสำคัญแสดงการตรวจเรือเพื่อจดทะเบียนเรือไทยสำหรับเรือประมง พ.ศ. 2561 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH80101

ปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือ

2.1 ปฏิบัติตามมาตราการความปลอดภัยบน เรือ

FH80101.01 221850
FH80101

ปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือ

2.2 การขอความช่วยเหลือทางทะเล เช่น นกหวีด ไฟฉาย ธง เป็นต้น

FH80101.02 221851
FH80102

ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกเรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

2.1 ให้ความช่วยเหลือจากอุบัติเหตุต่าง ๆ 

FH80102.01 221852
FH80102

ปฏิบัติการช่วยเหลือลูกเรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

2.2 จัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ที่จำเป็นบนเรือประมง 

FH80102.02 221853

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ทักษะชาวเรือ 

- ความปลอดภัยและความรับผิดชอบบนเรือ 

- การปองกันและการดับไฟ 

- การดำรงชีพในทะเล 

- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในใช้เสื้อชูชีพ 

- ทักษะในการใช้ห่วงชูชีพ 

- ทักษะการใช้อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือทางทะเล 

- ทักษะในการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลบนเรือ 

- ทักษะในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงประเภทต่าง ๆ บนเรือ 

- ทักษะในการให้ความช่วยเหลือเก็บคนตกน้ำ 

- ทักษะในการปฏิบัติการผายปอดเบื้องต้น 

- ทักษะในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความร้อนในร่างกาย 

- ทักษะในการจัดให้มียา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นบนเรือ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงาน

- ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลบนเรือ 

- ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงประเภทต่าง ๆ บนเรือ 

- ความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือเก็บคนตกน้ำ 

- ความรู้ด้านการปฏิบัติการผายปอดเบื้องต้น 

- ความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความร้อนในร่างกาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   
- ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 

   - หลักฐานวุฒิการศึกษา (ถ้ามี) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - สอบข้อเขียน 

   - การสัมภาษณ์ 

   - แฟ้มสะสมผลงาน 

   - การสอบปฏิบัติ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การปฏิบัติเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือประมงภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นกิจกรรมที่เรือทุกลำต้องมีการจัดทำแผนในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือ หรือแผนฉุกเฉินประจำเรือ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกำหนดการเดินเรือสากล และแผนดังกล่าวจะกำหนดให้มีการฝึกประจำ 

(ก) คำแนะนำ 

   - ทำความเข้าใจแผนฉุกเฉินบนเรือ  

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   - สภาวการณ์ หมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น หมอกลงจัด ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง หรือพายุ เป็นต้น ที่ทำให้เรือตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ยากลำบากเพราะภัยธรรมชาติ  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- การสัมภาษณ์ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- การสาธิตการปฏิบัติงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน  



ยินดีต้อนรับ