หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียม จัดเก็บ และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาหาร

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-QGGH-217A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียม จัดเก็บ และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาหาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO  

3434 หัวหน้ากุ๊ก 

3434 หัวหน้าพ่อครัว/แม่ครัว 

5120 พ่อครัว/ แม่ครัว 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะมีทักษะในการเลือกใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ได้เหมาะสมกับงานครัวต่างๆ สามารถแยกประเภทของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร สามารถจัดเก็บเครื่องมือ/อุปกรณ์ให้พร้อมกับการใช้งานครัวได้ สามารถวางแผนการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร มีทักษะในการตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมง 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- หลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคประมงทะเล ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ. 2556 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH70201

แยกประเภทและเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งาน 

1.1 แยกประเภทของเครื่องมือตามหลัก สุขาภิบาลอาหาร เช่น การเตรียม ผสม ประกอบ เป็นต้น

FH70201.01 221835
FH70201

แยกประเภทและเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งาน 

1.2 เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสม กับการใช้งาน

FH70201.02 221836
FH70201

แยกประเภทและเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งาน 

1.3 วางแผนและจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ ในการประกอบอาหารได้ตามรายการอาหาร ที่ออกแบบไว้ 

FH70201.03 221837
FH70202

จัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมกับการใช้งาน

2.1 จัดทำรายการและตรวจนับเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร 

FH70202.01 221838
FH70202

จัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมกับการใช้งาน

2.2 ทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ได้ ถูกต้องตามชนิดของวัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องมือ อุปกรณ์นั้น

FH70202.02 221839
FH70202

จัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมกับการใช้งาน

2.3 จัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์แยกตาม ชนิดจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ในที่เก็บให้ เหมาะสมกับการใช้งานอย่างปลอดภัย 

FH70202.03 221840
FH70202

จัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมกับการใช้งาน

2.4 วางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือและ อุปกรณ์ 

FH70202.04 221841
FH70202

จัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมกับการใช้งาน

2.5 บำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ 

FH70202.05 221842

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การประกอบอาหาร  

- ทักษะการดูแล/จัดเก็บอุปกรณ์ครัว

- ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ภายในครัว  

- ทักษะในการตรวจสอบการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์ครัว

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์งานครัว

- ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์งานครัว  

- ความรู้เรื่องวิธีการดูแลรักษา จัดเก็บอุปกรณ์งานครัว

- ความรู้เกี่ยวกับประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาหารแต่ละประเภท 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า 

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน  

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - การสัมภาษณ์ 

   - การสาธิตการปฏิบัติงาน 

   - การสอบข้อเขียน 

   - แฟ้มสะสมผลงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

  การเตรียมและจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาหารภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีขอบเขตมุ่งเน้นในเรื่องของการเลือกใช้ การแยกประเภทตามขั้นตอนการปรุงอาหาร จนถึงการจัดเก็บ โดยครอบคลุมเริ่มตั้งแต่ขั้นการเตรียมอาหาร การปรุงอาหาร การจัดเสิร์ฟ การทำความสะอาด  

   การบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาหารภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้เป็นปกติ เพื่อป้องกันความเสียหาย และเพื่อยืดอายุการใช้งาน พร้อมทั้งสามารถประเมินอายุการใช้งานของเครื่องมือและทำการบำรุงรักษาก่อนเครื่องมือและอุปกรณ์จะเสียหายได้

(ก) คำแนะนำ 

   - ศึกษารายการอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อการจัดเตรียมอุปกรณ์  

   - แยกประเภทของเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ ตะหลิว ทัพพี เขียง มีด 

และอุปกรณ์ในการจัดเสิร์ฟ เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ 

   - แยกประเภทของเครื่องมือในการทำความสะอาดอุปกรณ์ นํ้ายาล้างจาน ฝอยขัดหม้อ ฟองนํ้า ผ้าเช็ดจาน ผ้าขาวบาง ผ้าเช็ดจาน ผ้าเช็ดโต๊ะ ผ้าเช็ดพื้น

   - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

  (ข) คำอธิบายรายละเอียด - 

   - การตรวจสอบเครื่องมือ คือ การเช็คเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และทราบถึงสภาพของเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อเตรียมพร้อมในการใช้งานตลอดเวลา 

   - ตรวจนับเครื่องมือและอุปกรณ์ คือ การตรวจนับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบงานครัวให้ครบถ้วนเพื่อป้องกันการสูญหาย และให้มีพร้อมใช้งานตลอดเวลา   

   - บำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ คือ การบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารให้อยู่ในสภาพเดิมและอย่างถูกวิธี ต้องบำรุงให้ถูกประเภทของการใช้งานเพื่อชะลอความเสื่อมสภาพของเครื่องมือ และอุปกรณ์ และป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน   


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน     

- การสัมภาษณ์ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- การสาธิตการปฏิบัติงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน   



ยินดีต้อนรับ