หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-PRRB-216A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO

   3434 หัวหน้ากุ๊ก

   3434 หัวหน้าพ่อครัว/แม่ครัว

   5120 พ่อครัว/ แม่ครัว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถปฏิบัติงานครัวได้อย่างปลอดภัย และถูกต้องตามหลักสุขอนามัย และ สามารถทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาหารได้ ทำความสะอาดพื้นครัว และกำจัดเศษซากของเสียภายในครัว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- หลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคประมงทะเล ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ. 2556

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ครัว

- ทักษะในการเตรียมอาหารตามกรรมวิธีต่าง ๆ 

- ทักษะการทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาหาร และพื้นครัว

- ทักษะการกำจัดของเสียที่เหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เรื่องการเตรียมอาหารตามกรรมวิธีต่างๆ 

- ความรู้เรื่องสถานที่ประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ 

- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดแยกขยะของเสีย

- ความรู้การกำจัดเศษอาหารและของเสีย

- ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค 

- ความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาล และสุขอนามัยที่ดี

- ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบอาหาร และพื้นครัว


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน 

   - การสัมภาษณ์

   - การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การปฏิบัติงานครัวอย่างปลอดภัยและมีสุขอนามัยภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีความครอบคลุมในเรื่องของวัตถุดิบ (อาหารแห้ง อาหารสด และเครื่องปรุงต่างๆ) ที่ใช้ในการปรุงอาหาร ขั้นตอน/วิธีการ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการอาหาร และการล้างทำความสะอาด โดยเริ่มตั้งแต่ในขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การปรุงอาหาร การเก็บรักษาอาหารและวัตถุดิบประกอบอาหาร รวมไปจนถึงการป้องกัน/กำจัดสัตว์และแมลงรบกวน และการกำจัดเศษซากของเสียที่เกิดจากการปรุงอาหาร 

   (ก) คำแนะนำ 

     - สภาพแวดล้อมและสถานที่ควรมีความสะอาด เช่น พื้นครัวที่สะอาด ไม่แฉะ ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ อากาศถ่ายเทได้สะดวก   แสงสว่างเพียงพอ มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ปราศจากแมลงและสัตว์พาหะนำโรค 

     - สถานการณ์ที่ไม่ปกติต่อการทำงาน เช่น ไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก มีดบาด หรือเกิดอัคคีภัย แก๊สรั่ว สามารถแก้ไขปัญหาและปฐมพยาบาลได้ทันที 

     - สามารถใช้ทรัพยากรในครัวได้อย่างถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เช่น การล้างผักหรือเนื้อสัตว์ก่อนหั่น การแยกวัตถุดิบของสดและสุก การเก็บรักษาที่เหมาะสมกับวัตถุดิบนั้นๆ

     - ควรมีบ่อดักไขมันและตักไขมันทิ้งบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์ 

     - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข) 

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

     - การเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ควรใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่นไม่ควรนำวัสดุที่ทำจากอลูมิเนียม หรือพลาสติก มาใส่อาหารที่มีความเป็นกรด ไม่ใช่ทัพพีหรือตะหลิวในการชิมอาหารโดยตรง แยกเขียงประกอบอาหารโดยอาหารสดและอาหารสุก

     - วัตถุดิบที่ใช้ต้องล้างก่อนนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ การจัดเก็บต้องถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุดิบแต่ละชนิด เช่น ผักจัดใส่ถุงหรือกล่องเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและการสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ควรนำไปเก็บรวมกับอาหารที่มีกลิ่นเช่นเนื้อสัตว์ควรแยกกันชัดเจน

     - การเตรียมสุขอนามัยส่วนบุคคล เริ่มตั้งแต่สวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ผ้าเช็ดมือ ให้ครบถ้วนก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง      และมีความสะอาดทุกครั้งก่อนการสวมใส่

     - ของเสียในครัว หมายถึงเศษอาหารเศษเนื้อเศษผักและผักผลไม้ ของเสียประเภทนี้จะทําให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็น เนื่องจากแบคทีเรียย่อยสลายอินทรียสาร

     - ล้างและทำความสะอาด รางระบายนํ้าโสโครกทุกวัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- การสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ