หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำการประมงด้วยเครื่องมือประเภทอวนลาก

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-RTHD-210A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำการประมงด้วยเครื่องมือประเภทอวนลาก

3. ทบทวนครั้งที่ ์N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO  

3152 กัปตันเรือเดินทะเล/เจ้าพนักงานเดินเรือ (ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน) นักเดินเรือ (ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)/นักเดินเรือ 

6222 ชาวประมงชายฝั่งทะเล/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่ง ทะเล/ชาวประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก 

6223 ไต้ก๋งเรือ/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงทะเลน้ำลึก/ไต๋เรือ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะเข้าใจการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนลาก การซ่อมแซม และเก็บรักษาเครื่องมืออวนลาก รวมทั้งสามารถดัดแปลงและประยุกต์วิธีการทำประมงและเครื่องทุ่นแรงมาช่วยในการทำประมงอวนลากได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มผู้ปฏิบัติงานบนเรือประมง เช่น นักประมงอวนลาก นักประมงอวนล้อมจับ นักประมงอวนครอบ  นักประมงอวนติดตา เป็นต้น 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ใบอนุญาตทำการประมงที่ออกโดย กรมประมง ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH60201

ใช้งานเครื่องมือประมงประเภทอวนลาก

1.1 ระบุจุดเด่นของอวนลากแต่ละชนิด 

FH60201.01 221747

1.2 ระบุชนิดของสัตว์น้ำเป้าหมายในการทำประมงอวนลากแต่ละชนิด 

FH60201.02 221748

1.3 ระบุส่วนประกอบของอวนลากได้อย่างถูกต้อง

FH60201.03 221749

1.4 ระบุขั้นตอนการทำประมงอวนลากแต่ละชนิด

FH60201.04 221750

1.5 ตรวจสอบเครื่องมืออวนลากและเครื่องกว้านก่อนการใช้งาน 

FH60201.05 221751

1.6 ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานการทำประมงอวนลากด้วยความปลอดภัย

FH60201.06 221752
FH60202

ซ่อมแซมเครื่องมือประมงประเภทอวนลาก 

2.1 ระบุวัสดุและอุปกรณ์ช่วยซ่อมแซมอวนลาก

FH60202.01 221753

2.2 ระบุการผูกเงื่อน ต่อเชือก และการต่อสลิง 

FH60202.02 221754

2.3 อ่านแบบแปลนอวนลาก 

FH60202.03 221755

2.4 การตัดอวน เย็บอวน และซ่อมอวน

FH60202.04 221756
FH60203

เก็บรักษาเครื่องมือประมงประเภทอวนลาก 

3.1 ทำความสะอาดผืนอวนลากและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

FH60203.01 221757

3.2 ระบุขั้นตอนการถอดและประกอบเครื่องมืออวนลาก 

FH60203.02 221758

3.3 จัดเก็บเครื่องมืออวนลากให้พร้อมใช้งาน

FH60203.03 221759
FH60204

ดัดแปลงและประยุกต์เครื่องมือประมงประเภทอวน ลาก

4.1 ระบุเครื่องทุ่นแรงในการทำประมงอวนลาก

FH60204.01 221760

4.2 ความยาวสายลากที่เหมาะสมและความสัมพันธ์กับความลึกน้ำ ชนิดสัตว์น้ำ เป้าหมาย และพื้นที่ทำประมง

FH60204.02 221761

4.3 ดัดแปลงและประยุกต์วิธีการลากอวน

FH60204.03 221762

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ควบคุมเรือประมง ระดับ 3 และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระดับ 3 อย่างน้อย 6 เดือน

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการปล่อยอวนและกู้อวน 

- ทักษะในการสังเกตลักษณะอาการของอวนและแผ่นตะเฆ่ตลอดการทำงานประมง 

- ทักษะอ่านแบบแปลนเครื่องมืออวนลาก 

- ทักษะการซ่อมแซมอวนลากและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 

- ทักษะการใช้เครื่องมือช่าง 

- ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมืออวนลากและอุปกรณ์ช่วยทำการประมง 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- พื้นฐานการทำประมงด้วยเครื่องมือประมงอวนลากของไทย 

- พฤติกรรมและแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ 

- องค์ประกอบของเรือประมงอวนลาก 

- คุณสมบัติและความสำคัญของวัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องมือประมงอวนลาก 

- การใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือกว้าน 

- ความปลอดภัยในการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน  

   ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - การสอบข้อเขียน 

   - การสัมภาษณ์ 

   - สาธิตการปฏิบัติงาน 

   - แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

   เครื่องมือประมงประเภทอวนลาก (Trawl) ภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้จะครอบคลุมอวนลาก 3 ประเภท คือ  

   1) อวนลากคู่ที่ใช้เรือสองลำช่วยถ่างปากอวน ส่วนใหญ่จับปลาหน้าดิน ปลาผิวน้ำและหมึก  

   2) อวนลากแผ่นตะเฆ่ที่ใช้แผ่นตะเฆ่ช่วยถ่างปากอวน ซึ่งแบ่งออกเป็นอวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก อวนลากแคระ อวนลากกุ้ง และอวนลากปลา อวนลากเคย และอวนลากแมงกะพรุน 

   3) อวนลากคานถ่าง ที่ใช้คานช่วยถ่างปากอวน โดยชนิดที่นิยมในประเทศไทยได้แก่ อวนลากคานถ่างแบบลากกุ้ง อวนลากข้าง อวนลากแขก และอวนลากคานถ่าง แบบลากแมงกะพรุน อวนลากจอหนัง 

(ก) คำแนะนำ 

   - ผู้ปฏิบัติงานควรคำนึงถึงตำแหน่งที่ปลอดภัยบนเรือ รู้หน้าที่ของตนเอง และสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะทำการประมง 

ศึกษาและปฏิบัติตามคู่มือเพื่อรองรับกฎระเบียบของสหภาพยุโรปว่าด้วยการป้องกันยับยั้งและขจัด

    - การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (การประมงไอยูยู) สำหรับเรือประมงไทย โดยกรมประมง ปี พ.ศ. 2552 

   - ศึกษาและทำความเข้าใจจากคู่มือการใช้เครื่องหยั่งความลึกของน้ำที่ใช้บนเรือประมงนั้นๆ 

   - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

   เครื่องมือประมงประเภทอวนลาก (Trawl) หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุงใช้วิธีการจับสัตว์น้ำโดยการใช้เรือลากจูงอวนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง หลักการทำงานคือ จับสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณพื้นทะเล หรือเหนือพื้นทะเล  ทั้งแบบอยู่รวมกันเป็นฝูง/แพร่กระจายบริเวณกว้าง ชนิดเครื่องมืออวนลาก มีดังนี้ 

   - อวนลากคู่: อวนลากที่ใช้เรือสองลำช่วยถ่างปากอวน ส่วนใหญ่จับปลาหน้าดิน ปลาผิวน้ำและหมึก 

   - อวนลากแผ่นตะเฆ่: อวนลากที่ใช้แผ่นตะเฆ่ช่วยถ่างปากอวน 

      1) อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก: อวนลากแคระ/อวนลากกุ้ง 

      2) ชนิดอวนที่ใช้: อวนลากปลา อวนลากกุ้ง อวนลากเคย อวนลากแมงกะพรุน   

   - อวนลากคานถ่าง: อวนลากที่ใช้คานช่วยถ่างปากอวน ชนิดในประเทศไทยคือ  

      1) อวนลากคานถ่างแบบลากกุ้ง/อวนลากข้าง/อวนลากแขก 

      2) อวนลากคานถ่างแบบลากแมงกะพรุน/อวนลากจอหนัง

เอคโคซาวเดอร์ (Echo Sounder): ใช้เป็นอุปกรณ์คำนวณระยะทางระหว่างใต้ท้องเรือและพื้นดินใต้ท้องเรือหรือวัตถุ ใต้ท้องเรือ แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ เอคโคซาวเดอร์จะใช้คลื่นเสียงอุลตร้าโซนิค ซึ่งสามารถเดินทางใต้ น้ำได้ด้วยความเร็ว 1,500 เมตร/วินาที เมื่อคลื่อนเสียงเดินทางไปกระทบกับวัตถุใต้น้ำ เช่น ฝูงปลาหรือหน้าดิน คลื่นที่เดินทางไปกระทบกับวัตถุนั้นก็จะเดินทางกลับมายัง 

Transducer ดังนั้น การคำนวณความแตกต่างระหว่างคลื่นเสียงที่ส่งไป และคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาการคำนวณหาค่าความลึกและวัตถุใต้น้ำจึงต้องใช้การคำนวณที่รวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งโดยทั่วไปเอคโคซาวเดอร์จะสามารถคำนวณโดยใช้เวลาสั้นกว่า 1 ส่วน 1,000 วินาที กระบวนการคำนวณประมวลผล

 ของเอคโคซาวเดอร์ เริ่มต้นด้วยการส่ง สัญญาณไฟฟ้าไปยังหัว Transducer เป็นสัญญาณพัลซ์สั้นๆ สัญญาณพัลซ์นี้จะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่นอุลตร้าโซนิคโดยหัว Transducer แล้วส่งไปในน้ำ สัญญาณที่ไปกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนกลับมา (เช่น ฝูงปลา) จะถูกรับกลับโดยหัว Transducer แล้ว Transducer จะเปลี่ยนคลื่นอุลตร้าโซนิคเป็นสัญญาณไฟฟ้าและจะถูกขยายโดยภาคขยายของเครื่องเอคโคซาวเดอร์และจะแสดงผลออกมาทางจอภาพ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน 

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

- การสัมภาษณ์                          

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน                            

- สาธิตการปฏิบัติงาน 

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน   

- แฟ้มสะสมผลงาน          

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน