หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-BHKB-220A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO  

3152 นักเดินเรือ/นักเรือ (ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)  

8350  ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

2144 นายช่างกลเรือ (ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ) 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตบนเรือ ปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือ และปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางน้ำ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ประมงพื้นบ้าน อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456  - พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน ปี พ.ศ. 2522  - ข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ปฏิบัติการบนเรือ ฝ่ายเดินเรือ พ.ศ. 2557 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH80201

ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 

1.1 ปฏิบัติตามหน้าที่เมื่อเกิดไฟไหม้และใช้ เครื่องมือดับเพลิงพื้นฐาน 

FH80201.01 221857
FH80201

ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 

1.2 ปฏิบัติตามหน้าที่เมื่อเรือโดนกัน

FH80201.02 221858
FH80201

ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 

1.3 ปฏิบัติตามหน้าที่ในการสละเรือ

FH80201.03 221859
FH80201

ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 

1.4 ทำการอุดปะและค้ำจุนเรือ

FH80201.04 221860
FH80201

ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนเรือประมง 

1.5 แก้ไขการติดขัดของใบจักรเรือ

FH80201.05 221861
FH80202

ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 

2.1 จัดเตรียมและใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในสถานการณ์ฉุกเฉิน 

FH80202.01 221862
FH80202

ให้ความช่วยเหลือบุคลากรเรือประมงในสถานการณ์ฉุกเฉิน 

2.2 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

FH80202.02 221863

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ทักษะชาวเรือ

- ความปลอดภัยและความรับผิดชอบบนเรือ 

- การปองกันและการดับไฟ 

- การดำรงชีพในทะเล 

- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในใช้เสื้อชูชีพ 

- ทักษะในการใช้ห่วงชูชีพ 

- ทักษะการใช้อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือทางทะเล 

- ทักษะในการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลบนเรือ 

- ทักษะในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงประเภทต่าง ๆ บนเรือ 

- ทักษะในการให้ความช่วยเหลือเก็บคนตกน้ำ 

- ทักษะในการปฏิบัติการผายปอดเบื้องต้น 

- ทักษะในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความร้อนในร่างกาย 

- ทักษะในการจัดให้มียา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นบนเรือ 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงาน 

- ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลบนเรือ 

- ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงประเภทต่าง ๆ บนเรือ 

- ความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือเก็บคนตกน้ำ 

- ความรู้ด้านการปฏิบัติการผายปอดเบื้องต้น 

- ความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความร้อนในร่างกาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า 

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 

   - หลักฐานวุฒิการศึกษา (ถ้ามี) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - การสัมภาษณ์ 

   - การสอบข้อเขียน 

   - แฟ้มสะสมผลงาน

   - สอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การปฏิบัติเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือประมงภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นกิจกรรมที่เรือทุกลำต้องมีการจัดทำแผนในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือ หรือแผนฉุกเฉินประจำเรือ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกำหนดการเดินเรือสากล และแผนดังกล่าวจะกำหนดให้มีการฝึกประจำ

(ก) คำแนะนำ 

   - ทำความเข้าใจแผนฉุกเฉินบนเรือ  

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

   - สภาวการณ์ หมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น หมอกลงจัด ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง หรือพายุ เป็นต้น ที่ทำให้เรือตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ยากลำบากเพราะภัยธรรมชาติ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน   

- การสัมภาษณ์ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- การสาธิตการปฏิบัติงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      



ยินดีต้อนรับ