หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการเดินเรือประมงชายฝั่ง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-BVMB-202A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการเดินเรือประมงชายฝั่ง

3. ทบทวนครั้งที่ ์N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO

3152 กัปตันเรือเดินทะเล/เจ้าพนักงานเดินเรือ (ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน) นักเดินเรือ (ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)/นักเดินเรือ 

6222 ชาวประมงชายฝั่งทะเล/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่งทะเล/ชาวประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก 

6223 ไต้ก๋งเรือ/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงทะเลน้ำลึก/ไต๋เรือ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีทักษะการเดินเรือได้ในทุกสภาวะแวดล้อม ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเรือ อุปกรณ์ในการช่วยหาสัตว์น้ำ บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะแวดล้อม และใช้อุปกรณ์วิทยุสื่อสารระหว่างเรือกับเรืออื่นและสถานีบนฝั่ง และทำการประมงตามที่กฎหมายกำหนดได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ประมงชายฝั่ง อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456  - พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน ปี พ.ศ. 2522   - ข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ปฏิบัติการบนเรือ ฝ่ายเดินเรือ พ.ศ. 2557  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH50201

ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเรือ 

1.1 ตรวจสอบว่าอุปกรณ์เฝ้าติดตามเรือ (Vessel Monitoring System) มีการเปิดและทำงาน

FH50201.01 221659
FH50201

ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเรือ 

1.2 สามารถใช้เข็มทิศแม่เหล็ก 

FH50201.02 221660
FH50201

ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเรือ 

1.3 ใช้อุปกรณ์ GPS/Plotter ในการช่วยหาตำบลที่เรือและเดินเรือ

FH50201.03 221661
FH50201

ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเรือ 

1.4 ใช้เครื่องมือหยั่งน้ำ Echo sounder ในการวัดความลึกของน้ำเพื่อการประเมินความ ปลอดภัยในการเดินเรือ

FH50201.04 221662
FH50202

ใช้อุปกรณ์ในการช่วยหาสัตว์น้ำ 

2.1 สามารถใช้เครื่องมือประเภท Sonar ในค้นหาสัตว์น้ำเป้าหมาย 

FH50202.01 221663
FH50202

ใช้อุปกรณ์ในการช่วยหาสัตว์น้ำ 

2.2 ดูแลรักษาเครื่องหาสัตว์น้ำประเภท Sonar 

FH50202.02 221664
FH50203

บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะ แวดล้อม 

3.1 ประเมินผลกระทบจากลมและกระแสน้ำในการนำเรือ

FH50203.01 221665
FH50203

บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะ แวดล้อม 

3.2 บังคับเรือในน้ำตื้น

FH50203.02 221666
FH50203

บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะ แวดล้อม 

3.3 พ่วงจูงและการถูกพ่วงจูง 

FH50203.03 221667
FH50203

บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะ แวดล้อม 

3.4 กำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมง 

FH50203.04 221668
FH50203

บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะ แวดล้อม 

3.5 ควบคุมเรือเข้าหาฝูงปลาและสัตว์น้ำที่จะทำการจับ 

FH50203.05 221669
FH50203

บังคับและนำเรือประมงในทุกสภาวะ แวดล้อม 

3.6 ใช้ความเร็วเรือที่เหมาะสมและปลอดภัยในขณะการทำประมง

FH50203.06 221670
FH50204

ใช้อุปกรณ์วิทยุสื่อสารระหว่างเรือกับเรืออื่นและสถานีบนฝั่ง  

4.1 ปฎิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในงานส่งวิทยุสื่อสาร 

FH50204.01 221671
FH50204

ใช้อุปกรณ์วิทยุสื่อสารระหว่างเรือกับเรืออื่นและสถานีบนฝั่ง  

4.2 ใช้วลีพื้นฐานในการติดต่อสื่อสารทางทะเล

FH50204.02 221672
FH50204

ใช้อุปกรณ์วิทยุสื่อสารระหว่างเรือกับเรืออื่นและสถานีบนฝั่ง  

4.3 ปฏิบัติการรับ-ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือให้เป็นไปตามประกาศของ กสทช. 

FH50204.03 221673

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ควบคุมเรือประมง ระดับ 3 และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระดับ 3 อย่างน้อย 6 เดือน

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการหาตำบลที่เรือ

- ทักษะการเดินเรือ 

- ทักษะการควบคุมบังคับเรือ  

- ทักษะการอ่านร่องคลื่น เช่น คลื่นลม (Wind wave)  และคลื่นหัวเรียบ (Swell) 

- ทักษะการหาที่กำบังลม 

- ทักษะการถือท้ายเรือ 

- ทักษะการใช้อุปกรณ์เดินเรือและอุปกรณ์สื่อสาร 

- ทักษะการใช้เครื่องมือวัดทางทะเลอื่น ๆ  

- ทักษะการใช้และบำรุงรักษาเข็มทิศแม่เหล็ก 

- ทักษะการคำนวณและแก้อัตราผิดของเข็มทิศแม่เหล็ก  

- ทักษะในการตัดสินใจและแก้ปัญหา 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผนที่เดินเรือประเภทต่าง ๆ  

- การจราจรทางน้ำและทัศนสัญญานต่าง ๆ ในการเดินเรือ 

- ความรู้เรื่องวิชาการเรือที่ระบุในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ. 2456  

- การแบ่งเขตเศรษฐกิจทางทะเลและพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล  

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์หาพิกัด (GPS) 

- ความรู้พื้นฐานการใช้ทัศนสัญญานในการเดินเรือ 

- ความรู้พื้นฐานการใช้งานเข็มทิศ และกำหนดทิศหัวเรือ 

- วิชาการใช้เข็มทิศแม่เหล็ก 

- การแก้อัตราการเบี่ยงเบนของเข็มทิศแม่เหล็ก โดยใช้ข้อมูลจากแผนที่เดินเรือ 

- ความรู้พื้นฐานการใช้วิทยุสื่อสาร เช่น การเรืยกสถานีชายฝั่ง การแสดงชื่อเรือของตน

- วิธีการบันทึกปูมเรือ ของกรมเจ้าท่า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า 

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง  

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - การสัมภาษณ์ 

   - การสาธิตการปฏิบัติงาน 

   - การสอบข้อเขียน 

   - แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การเดินเรือ (Navigating)  ครอบคลุมถึงเทคนิคการควบคุม บังคับ นำเรือให้เดินทางจากตำบลที่หนึ่ง ไปยังอีกตำบลที่หนึ่ง เพื่อภารกิจของเรือลำนั้น ๆ ด้วยความปลอดภัย และเป็นไปตามกฎการเดินเรือสากล 

   ตำบลที่เรือ (Ship’s position) ครอบคลุมถึงพิกัดของเรือบนพื้นที่ใด ๆ ในท้องทะเล บนพื้นโลก เหมือนกับการให้พิกัดทั่ว ๆ ไป ซึ่งบ่งบอกเป็นองศาแลทติจูด และลองกิจูด 

   เข็มทิศแม่เหล็ก ครอบคลุมทั ้งเข็มทิศเรือนเอก (Standard Compass) และเข็มทิศถือทาย (Steering 

Compass) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่ในเรือประมงทั่วไป 

   การนำเรือและบังคับเรือภายใต้หน่วยสมรรถนะนี ้ ผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจรูปแบบการเคลื่อนที่ของเรือ ได้แก่ การโคลง การโยน การแกว่ง การหมุนรอบตัว การแอ่นกลาง และการตกท้องช้าง รวมทั ้ง การควบคุมถือท้ายเรือโดยเครื่องบังคับเลี้ยวของเรือประมงแต่ละประเภท 

   การเข้ายามเรือเดิน และยามเรือจอด (Watch keeping) ครอบคลุมถึง การปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมและดูแลการเดินเรือ และตำบลที่เรือในขณะเรือจอด ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและปลอดภัย ตามแผนการเดินเรือและข้อบังคับต่าง ๆ รวมถึงการปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือ และการปฏิบัติเท่าที่จำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เรือและชีวิตบนเรือ 

(ค)  คำแนะนำ 

   - หลีกเลี่ยงการเดินเรือในพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมายกำหนด ตามเขตพื้นที่ทำการประมง ตามพระราชกำหนดการประมง กรมประมง พ.ศ. 2558 เช่น แนวเขตอนุรักษ์ปะการังและพืชทะเลต่าง ๆ เป็นต้น

   - การใช้เข็มทิศแม่เหล็กสามารถศึกษาได้จากคู่มือการใช้เข็มทิศแม่เหล็กบนเรือประมง 

   - หลักการเข้าเวรเรือเดิน-เรือจอดให้พิจารณาตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ. 2456 

   - การหลีกเลี่ยงการเดินเรือในพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมายกำหนด ตามเขตพื้นที่ทำการประมงตามพระราชกำหนดการประมง กรมประมง พ.ศ. 2558 เช่น แนวเขตอนุรักษ์ประการังและพืชทะเลต่างๆ 

   - ศึกษาและเข้าใจอัตราเลี้ยวของเรือ (Rate of turn) และพิสัยปฏิบัติการของเรือ

   - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

(ง) คำอธิบายรายละเอียด 

   - แผนที่เดินเรืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Navigational Chart (ENC)  หมายถึง แผนที่เดินเรือในรูปดิจิทอล (Digital) ที่สร้างตาม มาตรฐาน S-57 Edition 3.1 เรียกว่ามาตรฐานการถ่ายโอนข้อมูลอุทกศาสตร์ในรูปดิจิตอล (IHO TRANSFER STANDARD For DIGITAL HYDROGRAPHIC DATA Edition 3.1) ตามที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Office, IHO) กำหนดไว้เพื่อใช้กับระบบสารสนเทศเพื่อการเดินเรือ (Electronic Chart Display and Information System, ECDIS)  

   - GPS (Global Positioning System) หมายถึง ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก โดยใช้วิธีการคำนวณตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ของอุปกรณ์รับสัญญาณ จากค่าตำแหน่งพิกัดจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ที่ส่งผ่านสัญญาณนาฬิกามายังโลก เป็นระบบนำร่องโดยอาศัยคลื่นวิทยุและรหัสที ่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging) จำนวน 24 ดวงที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก สามารถใช้ในการหาตำแหน่งบนพื้นโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ทุก ๆ จุดบนผิวโลก

   - หลักนำ เป็นที่หมายที่ใช้ในการนำเรือในร่องน้ำ จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานที่ควบคุมการจราจรทางน้ำ

   - บรรณสารการเดินเรือ เอกสารหนังสือที ่ช่วยในการเดินเรือ ประกอบด้วยหนังสือนํารอง ประกาศชาวเรือ ทำเนียบไฟและทุ่น มาตราน้ำ ทำเนียบวิทยุ ประมวลสัญญานสากล ปฏิทินดาราศาสตร์และประกาศการแก้ไขแผนที่

   - เข็มทิศแม่เหล็ก หมายถึง อุปกรณบอกทิศทางซึ่งทํางานโดยอาศัยสนามแมเหล็กโลก โดยปกติ จะถูกติดตั้งตามแนวกึ่งกลางลําเรือในบริเวณที่มีการรบกวนของอํานาจแมเหล็กนอยที่สุด 

   - อัตราผิดเข็มทิศแมเหล็ก ประกอบด้วย  

      o วาริเอชั่น (Variation) คือ มุมแตกตางระหวางทิศเหนือแมเหล็กกับทิศเหนือภูมิศาสตรซึ่งเกิด จากอิทธิพลของสนามแมเหล็กโลก มีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามตําบลที่บนโลก คาดังกลาวจะแสดงไวในวงเข็มทิศของแผนที่  

      o ดิวิเอชั่น (Deviation) คือ มุมแตกตางระหวางทิศเหนือแมเหล็กกับแกนเข็มทิศแมเหล็ก ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของสนามแมเหล็กในตัวเรือ และมีคาเฉพาะสําหรับเรือแตละลํา ทั้งนี้ค่าดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปตามทิศหัวเรือ  

      o อัตราผิดเข็มทิศ (Compass Error) =  วาริเอชั่น +  ดิวิเอชั่น  

      o ทิศตะวันออก ทิศเหนือ เปนบวก และทิศตะวันตก ทิศใต้ เปนลบ 

   - ระบบติดตามเรือ (Vessel Monitoring System; VMS) หมายถึง ระบบที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

 ระหว่างเรือที่ออกปฏิบัติงานอยู่กลางทะเลกับเจ้าของเรือและศูนย์ปฏิบัติการ VMS ที่อยู่บนฝั่งด้วยการส่งสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเรือประมง (Embedded Tracking Unit - ETU) แล้วส่งสัญญาณมายังหน่วยรับที่ติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ภาครับหรือเครื่องควบคุมระบบที่อยู่บนฝั่งที่ศูนย์ปฏิบัติการ (Monitoring & Controlling Center - MCC) เพื่อบอกให้ทราบถึงตำแหน่งปัจจุบันของเรือ คามเร็วและทิศทางของเรือที่กำลังแล่น และข้อมูลจากเซนเซอร์ ตลอดจนมีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ตามเวลาที่ผ่านมาในอดีต โดยเจ้าของเรือหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ตามที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลจะถูกส่งผ่าน GPRS (General Packet Radio Service) มายังหน่วยรับบนฝั่งผ่านเครือข่าย GSM (Global Service Mobile) โดยปกติจะมีการส่งสัญญาณแบบอัตโนมัติทุก ๆ 4 ชั่วโมง รวม 6 ครั้งต่อวัน หรือทุก ๆ 6 ชั่วโมง รวม 4 ครั้งต่อวัน ซึ่งข้อมูลหรือสัญาณที่ส่งมายังศูนย์ปฏิบัติการบนฝั่งจะถูกแปลงมาแสดงบนแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ หรือแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของศูนย์ปฏิบัติการฯ ซึ่งเจ้าของเรือสามารถติดตามดูเรือหรือกลุ่มเรือของตัวเองได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งง่ายต่อการใช้งาน โดยข้อมูลเส้นทางเดินเรือที่ถูกบันทึกจะถูกเก็บเป็นความลับตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540  นอกจากนี้ระบบยังสามารถระบุพื้นที่เฝ้าระวังบนแผนที่และสามารถแจ้งเตือนเมื่อมีเรือเข้ามาพื้นที่เฝ้าระวังเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดได้ ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับเรือ ชาวประมงบนเรือสามารถกดปุ่มฉุกเฉินบนเรือขอความ

 ช่วยเหลือมายังศูนย์ปฏิบัติการฯ และเจ้าของเรือ เพื่อติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีต่อไป อีกทางหนึ่งศูนย์ปฏิบัติการ VMS สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบ SMS (Short Message Service) เพื่อแจ้งข่าวหรือการเตือนภัยให้แก่เรือทุกลำในระบบได้อีกด้วย 

   - เข็มทิศแม่เหล็ก หมายถึง อุปกรณบอกทิศทางซึ่งทํางานโดยอาศัยสนามแมเหล็กโลก โดยปกติ จะถูกติดตั้งตามแนวกึ่งกลางลําเรือในบริเวณที่มีการรบกวนของอํานาจแมเหล็กนอยที่สุด

   - สมุดปูมเรือ หมายถึง รายละเอียดของเครื่องจักรทุกประเภทที่อยู่บนเรือ ขนาดของเรือที่มีการออกแบบโดยกรมเจ้าท่าในการบังคับใช้กับเรือกลเดินทะเลทุกประเภท ผู้ปฏิบัติงานบนเรือต้องทำการลงบันทึกให้ครบถ้วนและใช้ในการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานตรวจเรือทุก 6 เดือน 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- การสัมภาษณ์ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- การสาธิตการปฏิบัติงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน    



ยินดีต้อนรับ