หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-TCES-213A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO 

   3152 กัปตันเรือเดินทะเล/เจ้าพนักงานเดินเรือ (ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน) นักเดินเรือ(ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)/นักเดินเรือ

   6222 ชาวประมงชายฝั่งทะเล/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่งทะเล/ชาวประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก

   6223 ไต้ก๋งเรือ/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงทะเลน้ำลึก/ไต๋เรือ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะมีทักษะในการขนย้ายสัตว์น้ำ ตรวจสอบสภาพสัตว์น้ำก่อนและหลังการขนย้ายภายในเรือ และย้ายออกจากเรือ สามารใช้อุปกรณ์ช่วยขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ และขนย้ายสัตว์น้ำขณะอยู่บนท่าเรือ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- กฎกระทรวง การขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์- ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ออกโดยกรมประมง ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า

- มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานบนเรือประมงไม่น้อยกว่า 3 เดือน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการใช้เครื่องมือยกกว้าน 

- ทักษะการคัดแยกสัตว์น้ำ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เรื่องน้ำหนักในการบรรทุก เช่น ระวางขับน้ำ กรอสตัน แนวน้ำบรรทุก

- ความรู้เรื่องการจัดวางสัตว์น้ำในพื้นที่จัดเก็บ

- ความรู้เรื่องระบบยกและขนย้าย

- ความรู้เรื่องการทรงตัวของเรือ

- มาตรฐานสุขลักษณะการดูแลรักษาสัตว์น้ำหลังการจับและการขนส่ง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - การสัมภาษณ์

   - สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การบรรทุกและการขนย้ายสัตว์น้ำภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีขอบเขตครอบคลุมตั้งแต่การจับสัตว์น้ำ การขนย้ายสัตว์น้ำที่จับมาได้ขึ้นบนเรือ การขนย้าย/บรรทุกระหว่างอยู่บนเรือ การขนย้าย/บรรทุกออกจากเรือเพื่อขึ้นท่าเรือ รวมไปจนถึงการใช้แรงงาน/ลูกเรือประมง และการใช้เครื่องมือ/เครื่องจักรอุปกรณ์ในการขนย้าย/บรรทุกที่จำเป็น

   (ก) คำแนะนำ 

     - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

     - N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- การสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ