หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องถือท้ายและหางเสือเพื่อบังคับทิศทางเรือ

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-DMBG-205A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องถือท้ายและหางเสือเพื่อบังคับทิศทางเรือ

3. ทบทวนครั้งที่ ์N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO  

3152 กัปตันเรือเดินทะเล/เจ้าพนักงานเดินเรือ (ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน) นักเดินเรือ 

(ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)/นักเดินเรือ 

6222 ชาวประมงชายฝั่งทะเล/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่ง 

ทะเล/ชาวประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก 

6223 ไต้ก๋งเรือ/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงทะเลน้ำลึก/ไต๋เรือ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีสามารถในการเตรียมความพร้อมก่อนออกเรือ ควบคุมการใช้เครื่องยนต์เรือบังคับใช้เครื่องถือท้ายและหางเสือปฎิบัติการเดินเรือและหลบหลีก บังคับและขับเรือเรือยนต์เร็ว เข้า-ออก ท่าจอดเรือ ในทุกสภาวการณ์  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 - พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน ปี พ.ศ. 2522   - ข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ปฏิบัติการบนเรือ ฝ่ายเดินเรือ พ.ศ. 2557- ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่ออนุญาตให้ใช้เรือและใบสำคัญแสดงการตรวจเรือเพื่อจดทะเบียนเรือไทยสำหรับเรือประมง พ.ศ. 2561

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH50501

 เตรียมความพร้อมก่อนออกเรือ 

1.1 เตรียมความพร้อมของเรือด้านอุปกรณ์ช่วยชีวิตและความปลอดภัย 

FH50501.01 221706
FH50501

 เตรียมความพร้อมก่อนออกเรือ 

1.2 เตรียมความพร้อมของตัวเรือและของใช้ในเรือ 

FH50501.02 221707
FH50502

บังคับใช้เครื่องถือท้ายและหางเสือ 

2.1 บังคับใช้เครื่องถือท้ายและหางเสือได้ทุกสภาวการณ์

FH50502.01 221708
FH50502

บังคับใช้เครื่องถือท้ายและหางเสือ 

2.2 บังคับเพื่อการเข้าเทียบ-ออกจากเทียบท่าจอดเรือและร่องน้ำทางเดินเรือ 

FH50502.02 221709

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า

- มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานบนเรือประมงไม่น้อยกว่า 3 เดือน 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการผูกเงื่อนเชือก

- ทักษะในการปฎิบัติการแทงเชือก ลวด 

- ทักษะในการผสมสีและทาสีเรือ 

- ทักษะในการชักหย่อนรอก 

- ทักษะในการบำรุงรักษาตัวเรือ และส่วนต่าง ๆ ของเรือ รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเรือ 

- ทักษะการใช้ศัพท์และเข้าใจส่วนต่าง ๆ ของสมอที่ใช้ในการปฎิบัติการสมอเรือ 

- ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้อื่น 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้ในการบ่งบอกลักษณะของพื้นที่ ที่ใช้จอดทอดสมอเรือ

- ความรู้เกี่ยวกับเข้ายามเรือจอดทอดสมอ

- ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างตัวเรือ (Hull Structure) 

- ความรู้เกี่ยวกับใช้กว้านสมอเรือในการหย่อนและเก็บสมอเรือ 

- ความรู้เกี่ยวกับการเก็บเชือกเรือ 

- ความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติการใช้เชือก ลวด รอกในการเข้าอู่เรือ 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือรับรองการทำงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 

   - หลักฐานวุฒิการศึกษา (ถ้ามี) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - สอบข้อเขียน 

   - การสัมภาษณ์ 

   - สอบปฏิบัติ 

   - แฟ้มสะสมผลงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

   ควบคุม บังคับและขับเรือประมงโดยใช้เครื่องยนต์ในทะเลบริเวณใกล้ชายฝั่งและนอกชายฝั่ง บังคับ ขับเรือประมง เข้า - ออก เทียบท่าเรือ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน 

   (ก) คำแนะนำ  

   หลักการเดินเรือในในทะเลและบริเวณใกล้ชายฝั่ง ให้พิจารณาตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ. 2456     

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

   สภาวการณ์ หมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น หมอกลงจัด ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง หรือ พายุ เป็นต้น ที่ทำให้เรือตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ยากลำบากเพราะภัยธรรมชาติ 

   การบำรุงรักษาเรือ หมายถึง การดูแลรักษาให้เรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา เช่น การขัดเรือ การทาสีเรือ การซ่อมแซมเรือ การอัดจารบีรอก ลวด ให้คงสภาพการทำงานยาวนาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน  

- การสัมภาษณ์ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- การสาธิตการปฏิบัติงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน  



ยินดีต้อนรับ