หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-KTET-209A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO

   3152 กัปตันเรือเดินทะเล/เจ้าพนักงานเดินเรือ (ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน) นักเดินเรือ(ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)/นักเดินเรือ

   6222 ชาวประมงชายฝั่งทะเล/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่งทะเล/ชาวประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก

   6223 ไต้ก๋งเรือ/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงทะเลน้ำลึก/ไต๋เรือ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้งานเครื่องมือประมงประเภทอวนลอย รวมทั้งรู้วิธีการซ่อมแซมและเก็บรักษาเครื่องมือประมงประเภทอวนลอยได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มผู้ปฏิบัติงานบนเรือประมง เช่น ผู้ควบคุมเรือประมง เป็นต้น

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ออกโดย กรมประมง ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558และที่แก้ไขเพิ่มเติม

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพลูกเรือประมง ระดับ 4 และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระดับ 4 อย่างน้อย 12 เดือน

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการใช้อวนลอยในการจับสัตว์น้ำ

- ทักษะการใช้เครื่องมือซ่อมแซมอวนและอุปกรณ์เกี่ยวข้อง

- ทักษะการทำความสะอาดอวนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

- ทักษะการจัดเก็บอุปกรณ์อวนลอย

- ทักษะการอ่านแปลนอวนลอย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- พื้นฐานการทำประมงด้วยเครื่องมือประมงอวนลอยของไทย

- คุณสมบัติของวัสดุ เนื้ออวน เชือก ทุ่น และตะกั่ว 

- เครื่องมือซ่อมแซมอวนและอุปกรณ์เกี่ยวข้อง

- การใช้เงื่อนที่สำคัญต่อการทำประมง 

- คำนวณอัตราย่นของผืนอวน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน 

   - การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

   เครื่องมือประมงประเภทอวนลอยภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่ อวนลอยปลาอินทรีย์ อวนลอยปลาทู อวนปู อวนลอยกุ้งสามชั้น ซึ่งเรือที่ใช้พบตั้งแต่เรือเล็กที่มีระวางบรรทุกขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส และเรือขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีระวางบรรทุกตั้งแต่ 10 ตันกรอสขึ้นไป 

   (ก) คำแนะนำ 

     - ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการทำเชือก อวน และข้อต่อต่างๆ และข้อควรระวังในการใช้งาน

     - ควรรู้วิธีการป้องกันเครื่องมือประมงจากสิ่งรบกวน อันได้แก่ น้ำฝน ลม น้ำทะเล แสงแดด และสัตว์กัดแทะบนเรือ

     - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

     
- เครื่องมือประมงประเภทอวนลอย เป็นอวนติดตาประเภทหนึ่ง คือเครื่องมือทำการประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า วิธีการใช้เครื่องมือจะวางอวนขวางหรือปิดล้อมสัตว์น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำว่ายชนแล้วติดหรือพันตาอวน การใช้เครื่องมือไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้ทำการประมง ได้หลายสภาพพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีหินใต้น้ำหรือพื้นที่ราบเรียบ น้ำลึกและน้ำตื้น ผิวน้ำหรือหน้าดิน และ ใช้ได้ในเวลากลางวันและกลางคืน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- สาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ