หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-KGYU-201A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO

   3152 กัปตันเรือเดินทะเล/เจ้าพนักงานเดินเรือ (ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน) นักเดินเรือ(ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)/นักเดินเรือ

   6222 ชาวประมงชายฝั่งทะเล/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่งทะเล/ชาวประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก

   6223 ไต้ก๋งเรือ/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงทะเลน้ำลึก/ไต๋เรือ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะในการเดินเรือใกล้ฝั่งโดยใช้อุปกรณ์เดินเรือ ใช้เครื่องมือช่วยจับสัตว์น้ำ ประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจในการแก้ปัญหาในการเดินเรือ ใช้อุปกรณ์วิทยุสื่อสารระหว่างเรือกับเรืออื่นและสถานีบนฝั่ง และทำการประมงตามที่กฎหมายกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ประมงพื้นบ้าน อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 - พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน ปีพ.ศ. 2522 - ข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ปฏิบัติการบนเรือ ฝ่ายเดินเรือ พ.ศ. 2557 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพลูกเรือประมง ระดับ 4 และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระดับ 4 อย่างน้อย 12 เดือน

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการหาตำบลที่เรือ

- ทักษะการเดินเรือ

- ทักษะการควบคุมบังคับเรือ 

- ทักษะการอ่านร่องคลื่น เช่น คลื่นลม (Wind wave) และคลื่นหัวเรียบ (Swell)

- ทักษะการหาที่กำบังลม

- ทักษะการถือท้ายเรือ

- ทักษะการใช้อุปกรณ์เดินเรือและอุปกรณ์สื่อสาร

- ทักษะการใช้เครื่องมือวัดทางทะเลอื่น ๆ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผนที่เดินเรือประเภทต่าง ๆ 

- การจราจรทางน้ำและทัศนสัญญานต่าง ๆ ในการเดินเรือ

- ความรู้เรื่องวิชาการเรือที่ระบุในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ.2456 หมวดที่ 1มาตรา 12 - 16

- ความรู้ในระเบียบปฏิบัติการขออนุญาตนำเรือเข้าออกเมืองท่าต่าง ๆ

- การแบ่งเขตเศรษฐกิจทางทะเลและพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล 

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์หาพิกัด (GPS)

- ความรู้พื้นฐานการใช้ทัศนสัญญานในการเดินเรือ

- ความรู้พื้นฐานการใช้งานเข็มทิศ และกำหนดทิศหัวเรือ

- ความรู้พื้นฐานการใช้วิทยุสื่อสาร เช่น การเรียกสถานีชายฝั่ง การแสดงชื่อเรือของตน

- วิธีการบันทึกปูมเรือ ของกรมเจ้าท่า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน 

   - การสัมภาษณ์

   - การสาธิตการปฏิบัติงาน

   - การจำลองสถานการณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การเดินเรือ (Navigating) ครอบคลุมถึงเทคนิคการควบคุม บังคับ นำเรือให้เดินทางจากตำบลที่หนึ่ง ไปยังอีกตำบลที่หนึ่งเพื่อภารกิจของเรือลำนั้นๆ ด้วยความปลอดภัย และเป็นไปตามกฎการเดินเรือสากล

   ตำบลที่เรือ (Ship’s position) ครอบคลุมถึงพิกัดของเรือบนพื้นที่ใด ๆ ในท้องทะเล บนพื้นโลก เหมือนกับการให้พิกัดทั่วๆไป        ซึ่งบ่งบอกเป็นองศาแลทติจูด และลองกิจูด

   การนำเรือและบังคับเรือภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ ผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจรูปแบบการเคลื่อนที่ของเรือ ได้แก่ การโคลง การโยน       การแกว่ง การหมุนรอบตัว การแอ่นกลาง และการตกท้องช้าง รวมทั้ง การควบคุมถือท้ายเรือโดยเครื่องบังคับเลี้ยวของเรือประมงแต่ละประเภท

   การเข้ายามเรือเดิน และยามเรือจอด (Watch keeping) ครอบคลุมถึง การปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมและดูแลการเดินเรือ และตำบลที่เรือในขณะเรือจอด ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและปลอดภัย ตามแผนการเดินเรือและข้อบังคับ  ต่าง ๆ รวมถึงการปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือ และการปฏิบัติเท่าที่จำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เรือและชีวิตบนเรือ

   (ก) คำแนะนำ 

     - หลีกเลี่ยงการเดินเรือในพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมายกำหนด ตามเขตพื้นที่ทำการประมง ตามพระราชกำหนดการประมง กรมประมง พ.ศ. 2558 เช่น แนวเขตอนุรักษ์ปะการังและพืชทะเลต่าง ๆ เป็นต้น

     - หลักการเข้าเวรเรือเดิน-เรือจอดให้พิจารณาตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ.2456

     - การหลีกเลี่ยงการเดินเรือในพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมายกำหนด ตามเขตพื้นที่ทำการประมงตามพระราชกำหนดการประมง กรมประมง พ.ศ. 2558 เช่น แนวเขตอนุรักษ์ประการังและพืชทะเลต่างๆ

     - ศึกษาและเข้าใจอัตราเลี้ยวของเรือ (Rate of turn) และพิสัยปฏิบัติการของเรือ

     - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

     - GPS (Global Positioning System) หมายถึง ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก โดยใช้วิธีการคำนวณตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ของอุปกรณ์รับสัญญาณ จากค่าตำแหน่งพิกัดจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ที่ส่งผ่านสัญญาณนาฬิกามายังโลก เป็นระบบนำร่องโดยอาศัยคลื่นวิทยุและรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging) จำนวน 24 ดวงที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก สามารถใช้ในการหาตำแหน่งบนพื้นโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ทุก ๆ จุดบนผิวโลก

   - หลักนำ เป็นที่หมายที่ใช้ในการนำเรือในร่องน้ำ จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานที่ควบคุมการจราจรทางน้ำ

   - บรรณสารการเดินเรือ เอกสารหนังสือที่ช่วยในการเดินเรือ ประกอบด้วยหนังสือนํารอง ประกาศชาวเรือ ทำเนียบไฟและทุ่น มาตราน้ำ ทำเนียบวิทยุ ประมวลสัญญานสากล ปฏิทินดาราศาสตร์และประกาศการแก้ไขแผนที่

   - เก็บเป็นความลับตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 นอกจากนี้ระบบยังสามารถระบุพื้นที่เฝ้าระวังบนแผนที่และสามารถแจ้งเตือนเมื่อมีเรือเข้ามาพื้นที่เฝ้าระวังเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดได้ ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับเรือ ชาวประมงบนเรือสามารถกดปุ่มฉุกเฉินบนเรือขอความช่วยเหลือมายังศูนย์ปฏิบัติการฯ และเจ้าของเรือ เพื่อติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีต่อไป อีกทางหนึ่งศูนย์ปฏิบัติการ VMS สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบ SMS (Short Message Service) เพื่อแจ้งข่าวหรือการเตือนภัยให้แก่เรือทุกลำในระบบได้อีกด้วย

   - สมุดปูมเรือ หมายถึง รายละเอียดของเครื่องจักรทุกประเภทที่อยู่บนเรือ ขนาดของเรือที่มีการออกแบบโดยกรมเจ้าท่าในการบังคับใช้กับเรือกลเดินทะเลทุกประเภท ผู้ปฏิบัติงานบนเรือต้องทำการลงบันทึกให้ครบถ้วนและใช้ในการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานตรวจเรือทุก 6 เดือน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- การสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 



ยินดีต้อนรับ