หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่เรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-IHYR-179A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่เรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคดูแลหม้อน้ำบนเรือเดินทะเล 

3151  ช่างเทคนิคควบคุมการเดินเรือหรือช่างเครื่องประจำเรือ 

8182 พนักงานคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารจัดหาและกำหนดอะไหล่ให้เหมาะสมในการทำงาน ควบคุมและติดตามอะไหล่ที่มีปริมาณต่ำกว่าที่กำหนด ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่อยู่กับที่ได้ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่เคลื่อนที่ เข้าใจการใช้เครื่องมือในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่ และจัดเตรียมเครื่องมือในการถอดประกอบเครื่องจักรใหญ่ และถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ๋ได้ถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมช่างกลเรือ/อู่เรือ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH10401

จัดหาและกำหนดอะไหล่ให้เหมาะสมในการทำงาน

1.1 บอกรหัสและปริมาณอะไหล่ที่ใช้งานตามคู่มือเครื่องจักรใหญ่

FH10401.01 221407
FH10401

จัดหาและกำหนดอะไหล่ให้เหมาะสมในการทำงาน

1.2 ตรวจนับปริมาณอะไหล่คงเหลือในคลัง รายงาน รายการขอซื้ออะไหล่ไปยังเจ้าของเรือ และติดตามรายการอะไหล่ที่มีจำนวนไม่ครบไปยังเจ้าของเรือ 

FH10401.02 221408
FH10402

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่อยู่กับที่ 

2.1 ซ่อมบำรุงการรั่วจากท่อร่วมไอเสีย

FH10402.01 221409
FH10402

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่อยู่กับที่ 

2.2 ซ่อมบำรุงการรั่วไหลบริเวณฝาสูบ 

FH10402.02 221410
FH10402

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่อยู่กับที่ 

2.3 ซ่อมบำรุงการรั่วของเสื้อสูบ

FH10402.03 221411
FH10402

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่อยู่กับที่ 

2.4 ซ่อมบำรุงการรั่วของผนังอ่างน้ำมันหล่อลื่น 

FH10402.04 221412
FH10402

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่อยู่กับที่ 

2.5 ตรวจสอบส่วนยึดเครื่องและฐานเครื่องไม่ให้หลวม 

FH10402.05 221413
FH10403

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่เคลื่อนที่ 

3.1 ซ่อมบำรุงเพลาขับ

FH10403.01 221414
FH10403

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่เคลื่อนที่ 

3.2 ซ่อมบำรุงเพลาลูกเบี้ยว

FH10403.02 221415
FH10403

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่เคลื่อนที่ 

3.3 ซ่อมบำรุงปัมป์หัวฉีด

FH10403.03 221416
FH10403

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่เคลื่อนที่ 

3.4 ซ่อมบำรุงกระเดื่องกดลิ้นและกลไกบังคับลิ้น

FH10403.04 221417
FH10403

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่เคลื่อนที่ 

3.5 ซ่อมบำรุงลูกสูบ

FH10403.05 221418
FH10403

ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่เคลื่อนที่ 

3.6 ซ่อมบำรุงสายพาน 

FH10403.06 221419
FH10404

อธิบายการใช้เครื่องมือในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่

4.1 ใช้เครื่องมือตรวจสอบก่อนทำการซ่อมบำรุงได้

FH10404.01 221420
FH10404

อธิบายการใช้เครื่องมือในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่

4.2 แปลผลของเครื่องมือในการซ่อมบำรุงได้

FH10404.02 221421
FH10404

อธิบายการใช้เครื่องมือในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่

4.3 ตัดสินใจในการเลือกเครื่องมือในการบำรุงอย่างถูกวิธี 

FH10404.03 221422
FH10405

จัดเตรียมเครื่องมือและถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ได้ถูกต้อง

5.1 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการถอดและประกอบเครื่อง

FH10405.01 221423
FH10405

จัดเตรียมเครื่องมือและถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ได้ถูกต้อง

5.2 ปฏิบัติตามข้อกำหนดของคู่มือการใช้เครื่องด้านความปลอดภัยในการถอด/ประกอบเครื่องได้ 

FH10405.02 221424
FH10405

จัดเตรียมเครื่องมือและถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ได้ถูกต้อง

5.3 ถอดชิ้นส่วนของเครื่องจักรใหญ่ตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือ 

FH10405.03 221425
FH10405

จัดเตรียมเครื่องมือและถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ได้ถูกต้อง

5.4 ตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนของเครื่องจักรใหญ่ 

FH10405.04 221426
FH10405

จัดเตรียมเครื่องมือและถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ได้ถูกต้อง

5.5 ปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ชำรุด

FH10405.05 221427
FH10405

จัดเตรียมเครื่องมือและถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ได้ถูกต้อง

5.6 บันทึกรายงานการซ่อมบำรุง

FH10405.06 221428

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า

- ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพรองต้นกลเรือประมง ระดับ 3 และมีประสบการณ์ในระดับ 3 อีกอย่างน้อย 12 เดือน 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการจัดเก็บของบนเรือ 

- ทักษะในการประเมินการสึกหรอในเครื่องจักรและอุปกรณ์ 

- ทักษะในการประเมินการทำงานของเครื่องจักร 

- ทักษะในการใข้เครื่องมือซ่อมบำรุง 

- มีทักษะฝีมือช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า 

- ทักษะการเตรียมและใช้เครื่องมือในการถอด/ประกอบ วัด ตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์ 

- วิเคราะห์ ตรวจสอบ ทดสอบ ระบบการทำงานและชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่ขัดข้อง 

- ทักษะการใช้เครื่องมือช่าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- หลักการ วิธีการ ควบคุม อะไหล่และอุปกรณ์ 

- หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลเรือ 

- ความรู้เรื่องส่วนประกอบของเครื่องจักรใหญ่ และอะไหล่ที่ใช้งาน 

- พื้นฐานความรู้ในการบำรุงรักษา 

- หลักการ วิธีการใช้ และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์วิเคราะห์ ถอด/ประกอบ วัด ตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์ 

- ลำดับขั้นตอนการถอด/ประกอบ วัด ตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายช่างกลเรือ จากกรมเจ้าท่า

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง  

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน

   - สอบสัมภาษณ์

   - สอบปฏิบัติ

   - แฟ้มสะสมผลงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่ ครอบคลุมทั้งชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่อยู่กับที่ได้ ส่วนเครื่องจักรใหญ่ที่เคลื่อนที่ ในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงานอยู่ และในขณะหยุดเครื่อง รวมถึงการนำเครื่องมือในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่แต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม 

   การจัดเตรียมอะไหล่ครอบคลุมถึงอะไหล่สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในการขับเคลื่อนเรือ  

   การถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ครอบคลุมถึงการถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรใหญ่ เครื่องจักรช่วย เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงการปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องจักร        

(ก) คำแนะนำ  

   - พิจารณาคำแนะนำการจัดการเก็บอะไหล๋จากคู่มือการใช้งานเครื่องยนต์

   - ปฏิบัติตามคู่มือการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่ 

   - หลักการแก้ปัญหาตามคู่มือปฏิบัติงาน 

   - การถอดเพลาขับเคลื่อนออกจากเครื่องจักรต้องมีปรับศูนย์เพลาโดยเครื่องวัดการเยื้องศูนย์ทุกครั้ง 

   - การวาง ใช้ และอ่านเครื่องมือวัดละเอียดต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง 

   - การติดเครื่องครั้งแรกต้องสังเกตความดันในระบบหล่อลื่นให้อยู่ในเกณฑ์ 

   - การวัดปากแหวน ต้องวัดให้ถูกตำแหน่ง และการจัดปากแหวนที่ลูกสูบ 

   - ใช้ความรู้และทักษะตามข้อ 13 (ก) และ (ข) 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   - ปริมาณอะไหล่ในการใช้งาน ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์และเวลาในการทำการประมง 

   - คู่มือการถอดประกอบเครื่อง เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงในคู่มือการใช้คำแนะนำในการใช้เครื่องจักรใหญ่บนเรือ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- สอบสัมภาษณ์  

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

- สอบปฏิบัติ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ