หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าสำรองบนเรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-XPQU-183A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าสำรองบนเรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

 รหัส ISCO

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคดูแลหม้อน้ำบนเรือเดินทะเล 

3151  ช่างเทคนิคควบคุมการเดินเรือหรือช่างเครื่องประจำเรือ 

8182 พนักงานคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถจัดหาและกำหนดอะไหล่ให้เหมาะสมในการทำงาน ควบคุมและติดตามอะไหล่ที ่มีปริมาณต่ำกว่าที่กำหนด สามารถบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินบนเรือประมงได้  บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบใช้แบตเตอรรี่บนเรือประมงได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมช่างกลเรือ/อู่เรือ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH20201

จัดหาและกำหนดอะไหล่ของระบบไฟฟ้าให้ เหมาะสมในการทำงาน

1.1 กำหนดจำนวนของชิ้นส่วนอะไหล่แต่ละประเภทได้ถูกต้องตามความต้องการใช้งาน

FH20201.01 221462
FH20201

จัดหาและกำหนดอะไหล่ของระบบไฟฟ้าให้ เหมาะสมในการทำงาน

1.2 กำหนดสถานที่จัดเก็บได้ถูกต้องและปลอดภัย

FH20201.02 221463
FH20201

จัดหาและกำหนดอะไหล่ของระบบไฟฟ้าให้ เหมาะสมในการทำงาน

1.3 รู้จำนวนชิ้นส่วนอะไหล่ที่เก็บแต่ละสถานที่

FH20201.03 221464
FH20201

จัดหาและกำหนดอะไหล่ของระบบไฟฟ้าให้ เหมาะสมในการทำงาน

1.4 มีระบบในการบันทึกเพื่อบริหารจัดการอะไหล่ 

FH20201.04 221465
FH20202

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินบนเรือประมงได้ 

2.1 ดำเนินการบำรุงรักษาระบบการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินได้ 

FH20202.01 221466
FH20202

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินบนเรือประมงได้ 

2.2 ดำเนินการบำรุงรักษาตู้จ่ายกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินได้ 

FH20202.02 221467
FH20203

บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบใช้แบตเตอร์รี่บนเรือประมงได้

3.1 ดำเนินการบำรุงรักษาแบตเตอรี่ระบบไฟฟ้าสำรอง

FH20203.01 221468
FH20203

บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบใช้แบตเตอร์รี่บนเรือประมงได้

3.2 ตรวจวัดระดับค่าความถ่วงจำเพาะในแบตเตอรี่ได้ 

FH20203.02 221469
FH20203

บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบใช้แบตเตอร์รี่บนเรือประมงได้

3.3 ตรวจวัดประสิทธิภาพของแบตเตอรี่บนเรือได้

FH20203.03 221470

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการใช้เครื่องมือช่าง

- ทักษะการแก้ปัญหาระบบไฟฟ้าบนเรือ 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- หลักการ วิธีการ ควบคุม อะไหล่และอุปกรณ์ของระบบไฟฟ้าบนเรือ

- หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าสำรอง 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)  

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายช่างกลเรือ จากกรมเจ้าท่า - 

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง  

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - สอบสัมภาษณ์  

   - ข้อสอบปฏิบัติ 

   - แฟ้มสะสมผลงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การจัดเตรียมอะไหล่ที่สามารถใช้ในการซ่อมบำรุงในขณะที่เรือ ปฏิบัติการในทะเล โดยจัดเตรียมอะไหล่ที่มีความจำเป็น เป็นหลัก ผู้ควบคุมดูแลต้องตรวจสอบดูแลให้อะไหล่มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ  

   การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินบนเรือประมงได้ ครอบคลุมระบบไฟฟ้าที ่ใช้เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน และระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบใช้แบตเตอรี่ 

(ก) คำแนะนำ  

   - พิจารณาคำแนะนำการจัดการเก็บอะไหล๋จากคู่มือการใช้งานเครื่องยนต์ 

   - พิจารณาถึงความต้องการใชกระแสไฟฟ้าในสถานการณ์ฉุกเฉินบนเรือ 

   - เข้าใจระบบในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน 

   - ใช้ความรู้และทักษะตามข้อ 13 (ก) และ (ข) 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

   - จำนวนการใช้งาน ขึ้นอยู่กับขนาด และจำนวนสูบของเครื่องยนต์ และเวลาในการทำการประมง 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบสัมภาษณ์ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- ข้อสอบปฏิบัติ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 



ยินดีต้อนรับ