หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-GVZP-208A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO

   3152 กัปตันเรือเดินทะเล/เจ้าพนักงานเดินเรือ (ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน) นักเดินเรือ(ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ)/นักเดินเรือ

   6222 ชาวประมงชายฝั่งทะเล/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่งทะเล/ชาวประมงพื้นบ้าน/ประมงขนาดเล็ก

   6223 ไต้ก๋งเรือ/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงทะเลน้ำลึก/ไต๋เรือ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถระบุความสำคัญของโครงสร้างเรือประมงต่าง ๆ ได้จำแนกประเภทของเรือประมงประเภทต่าง ๆ ได้สามารถวิเคราะห์คุณลักษณะการทรงตัวของเรือ และมีทักษะในการรักษาการทรงตัวของเรือ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 - พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน ปีพ.ศ. 2522 - ข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ปฏิบัติการบนเรือ ฝ่ายเดินเรือ พ.ศ. 2557 - ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่ออนุญาตให้ใช้เรือและใบสำคัญแสดงการตรวจเรือเพื่อจดทะเบียนเรือไทยสำหรับเรือประมง พ.ศ.2561

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า

- เป็นผู้ผ่านการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพต้นกลเรือประมง ระดับ 4 และต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 12 เดือน (สำหรับอาชีพต้นกลเรือประมง)

- ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ควบคุมเรือประมง ระดับ 4 และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระดับ 4 อย่างน้อย 12 เดือน (สำหรับอาชีพผู้ควบคุมเรือประมงระดับ)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะพื้นฐานการย้ายน้ำหนักบรรทุกบนเรือ

- ทักษะการจัดเก็บสัตว์ที่จับมาได้

- ทักษะในการใช้เครื่องมือยกกว้าน 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ประเภทและชนิดของเรือประมง

- โครงสร้างของเรือ และหลักการทรงตัวของเรือเบื้องต้น เช่น การทรงตัวของเรือทางขวาง การทรงตัวของเรือทางตามยาว การควบคุมน้ำทะลุเข้าเรือ รวมทั้งการแบ่งระวางภายในเรือ

- ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเรือ

- ความรู้เรื่องน้ำหนักในการบรรทุก เช่น ระวางขับน้ำ กรอสตัน แนวน้ำบรรทุก

- ความรู้เรื่องการจัดวางสัตว์น้ำในพื้นที่จัดเก็บ

- ความรู้เรื่องระบบยกและขนย้าย

- ความรู้เรื่องการทรงตัวของเรือ

- มาตรฐานสุขลักษณะการดูแลรักษาสัตว์น้ำหลังการจับและการขนส่ง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน 

   - สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การรักษาการทรงตัวของเรือ เป็นสถานะการทรงตัวสถิตยของเรือในน้ำนิ่งอยางปลอดภัย โดยตัวแปรสําคัญในการพิจารณาคือ โมเมนต์ตั้งตรง (Righting Moment) ซึ่งก็คือแรงลอยตัวกับน้ำหนักเรือและแขนของโมเมนต์ตั้งตรง (Righting Moment Arm) หรือระยะระหวางแรงลอยตัวกับแรงเนื่องจากน้ำหนัก

   การบรรทุกและการขนย้ายสัตว์น้ำภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีขอบเขตครอบคลุมตั้งแต่การจับสัตว์น้ำ การขนย้ายสัตว์น้ำที่จับมาได้ขึ้นบนเรือ การขนย้าย/บรรทุกระหว่างอยู่บนเรือ การขนย้าย/บรรทุกออกจากเรือเพื่อขึ้นท่าเรือ รวมไปจนถึงการใช้แรงงาน/ ลูกเรือประมง และการใช้เครื่องมือ/เครื่องจักรอุปกรณ์ในการขนย้าย/บรรทุกที่จำเป็น

   (ก) คำแนะนำ 

     
- ศึกษาจากคู่มือควบคุมการทรงตัวของเรือนั้นๆ (Stability booklet)

     - ทำความเข้าใจแบบแปลนและโครงสร้างเรือ

     - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข) 

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

     
- หลักการทรงตัวของเรือเป็นศาสตร์ที่ผู้ทำงานบนเรือต้องเข้าใจ ซึ่งพิจารณาไดจากขนาดโมเมนตแรงคู

ควบระหว่างแรงลอยตัว (ทิศทางขึ้นขางบน) กับน้ำหนักเรือ (ทิศทางกระทําลงลาง) หรือที่เรียกว่าเป็น “โมเมนต์ตั้งตรง” (Righting Moment) ระยะระหวางแรงลอยตัวกับแรงเนื่องจากน้ำหนักคือ แขนของโมเมนต์ตั้งตรง (Righting Moment Arm) ซึ่งโมเมนต์ตั้งตรงและแขนของโมเมนต์ตั้งตรงจะเปนตัวแปรสําคัญในการพิจารณาการทรงตัวของเรือ ทั้งนี้ขึ้นอยูกับตําแหน่งการกระทําของแรง

ลอยตัวและแรงเนื่องจากน้ำหนักเรือ ตราบใดที่ตําแหนงทั้งสองก่อให้เกิดโมเมนต์ช่วยพยุงเรือกลับตั้งตรง เรือจะยังคงสามารถทรงตัวได้อย่างปลอดภัย

   - คู่มือควบคุมการทรงตัวของเรือ (Stability booklet) เป็นหนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะปกติ (Intact stability booklet) ต้องระบุรายละเอียดถังสินค้าหรือห้องโดยสาร ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ถังอับเฉา และถังน้ำจืด โดยมีการกําหนดความหนาแน่นของสินค้าหรือจํานวนคนโดยสารในสภาพการบรรทุกต่างๆ และต้องเปรียบเทียบค่าความทรงตัวที่คํานวณได้กับหลักเกณฑ์ความทรงตัวมาตรฐาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- การสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ