หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินประสิทธิภาพและปฏิบัติการควบคุมการทำงานของระบบเครื่องทำความเย็น

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-DGDN-200A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินประสิทธิภาพและปฏิบัติการควบคุมการทำงานของระบบเครื่องทำความเย็น

3. ทบทวนครั้งที่ ์N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO  

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคดูแลหม้อน้ำบนเรือเดินทะเล

3151  ช่างเทคนิคควบคุมการเดินเรือหรือช่างเครื่องประจำเรือ 

8182 พนักงานคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำความเย็นแบบใช้เครื่องทำความเย็น และแบบใช้น้ำแข็ง เข้าใจการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเย็นสอดคล้องกับการเก็บสัตว์น้ำแต่ละประเภท และควบคุมการเดินเครื่องทำความเย็นบนเรือประมได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมช่างกลเรือ/อู่เรือ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH31001

ประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำความเย็นแบบใช้น้ำแข็ง

1.1 บอกปริมาณของน้ำแข็งในการจัดเก็บได้ อย่างเหมาะสมในแต่ละเที่ยวเรือ

FH31001.01 221606
FH31001

ประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำความเย็นแบบใช้น้ำแข็ง

1.2 แนะนำการจัดเก็บให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำแข็งบนเรือ

FH31001.02 221607
FH31001

ประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำความเย็นแบบใช้น้ำแข็ง

1.3 ประเมินประสิทธิสภาพของฉนวนที่ใช้ในการกันความเย็นได้อย่างเหมาะสม  

FH31001.03 221608
FH31002

ประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำความเย็นแบบใช้เครื่องทำความเย็น 

2.1 วิเคราะห์ความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องเย็นได้ตามมาตรฐานของคู่มือ

FH31002.01 221609
FH31002

ประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำความเย็นแบบใช้เครื่องทำความเย็น 

2.2 วิเคราะห์กำลังดันทางดูดและทางส่งได้ตามมาตรฐานของคู่มือการใช้งาน 

FH31002.02 221610
FH31002

ประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำความเย็นแบบใช้เครื่องทำความเย็น 

2.3 เดินเครื่องทำความเย็นได้อย่างต่อเนื่อง 

FH31002.03 221611
FH31003

ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเย็นให้สอดคล้องกับการเก็บสัตว์น้ำแต่ละประเภท

3.1 เข้าใจการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเย็นให้สอดคล้องกับการเก็บสัตว์น้ำแต่ละประเภท 

FH31003.01 221612
FH31003

ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเย็นให้สอดคล้องกับการเก็บสัตว์น้ำแต่ละประเภท

3.2 ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเย็นให้สอดคล้องกับชนิดของสัตว์น้ำแต่ละประเภทต่าง 

FH31003.02 221613
FH31004

ควบคุมการเดินเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง 

4.1 อธิบายหลักการทำงานของระบบเครื่องทำความเย็นได้

FH31004.01 221614
FH31004

ควบคุมการเดินเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง 

4.2 ทำการเตรียมอุณหภูมิห้องเย็น (Pre cooled) 

FH31004.02 221615
FH31004

ควบคุมการเดินเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง 

4.3 บันทึกอุณหภูมิของห้องเย็นและความดันของการไหลกลับของสารทำความเย็น

FH31004.03 221616
FH31004

ควบคุมการเดินเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง 

4.4 ตรวจการทำงานของเครื่องอัดแก๊ส(Compressor) ตามคำแนะนำของคู่มือการ ทำงาน

FH31004.04 221617
FH31004

ควบคุมการเดินเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง 

4.5 ตรวจสอบการไหลของสารทำความเย็น 

FH31004.05 221618
FH31005

ระบุสาเหตุการขัดข้องและแก้ปัญหาของเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้

5.1 ระบุสาเหตุและข้อบกพร่องจากเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้

FH31005.01 221619
FH31005

ระบุสาเหตุการขัดข้องและแก้ปัญหาของเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้

5.2 ดำเนินการแก้ไขปัญหาเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้

FH31005.02 221620
FH31005

ระบุสาเหตุการขัดข้องและแก้ปัญหาของเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้

5.3 ตรวจสอบการรั่วซึมของระบบเครื่องทำความเย็นได้

FH31005.03 221621
FH31005

ระบุสาเหตุการขัดข้องและแก้ปัญหาของเครื่องทำความเย็นบนเรือประมงได้

5.4 ทำการทดสอบการกระจายความเย็นในห้องเย็น 

FH31005.04 221622

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า

- เป็นผู้ผ่านการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพต้นกลเรือประมง ระดับ 5 และต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งระดับ 5 ไม่น้อยกว่า 12 เดือน 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการจัดเก็บสัตว์ในห้องเย็น 

- ทักษะในการเตรียมห้องเย็น 

- ทักษะในการใช้งานอุปกรณ์เครื่องทำความเย็น 

- ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติและข้อบกพร่อง 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- หลักการเครื่องทำความเย็น 

- ความรู้การถ่ายเทความร้อน  

- การจัดเก็บและดูแลสัตว์น้ำ 

- ข้อกำหนดขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations ; FAO) 

- ข้อกำหนดของอุณหภูมิการจัดเก็บสัตว์น้ำ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)  

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   - ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน

   - สอบสัมภาษณ์ 

   - สอบปฏิบัติ

   - แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเย็น ครอบคลุมการจัดเก็บโดยใช้ระบบเครื่องทำความเย็น การเดินระบบและการปรับแต่งความเย็นในการจัดเก็บ 

    ประเมินและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำความเย็นแบบใช้เครื่องทำความเย็น และแบบใช้น้ำแข็ง ที่มีใช้บนเรือประมงพาณิชย์ได้ 

(ก) คำแนะนำ 

   - ศึกษาการใช้งานจากคู่มือการปฏิบัติการและการควบคุมเครื่องทำความเย็น

   - คู่มือการปฏิบัติการและการควบคุมเครื่องทำความเย็น 

   - ใช้ความรู้และทักษะตามข้อ 13 (ก) และ (ข) 

(ข) คำบอกรายละเอียด 

   ห้องเย็น หมายถึง พื้นที่ที่ใช้ในการจัดเก็บสัตว์ที่จับมาได้ บนเรือประมงส่วนใหญ่จัดเก็บไว้ใต้ท้องเรือมีการหุ้มฉนวนกันความร้อน เพื่อให้สามารถเก็บสัตวน้ำไว้ได้นานที่สุด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- สอบสัมภาษณ์ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

- สอบปฏิบัติ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 



ยินดีต้อนรับ