หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ประสิทธิภาพและวางแผนในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่เรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-KXTH-180A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ประสิทธิภาพและวางแผนในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่เรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคดูแลหม้อน้ำบนเรือเดินทะเล 

3151 ช่างเทคนิคควบคุมการเดินเรือหรือช่างเครื่องประจำเรือ 

8182 พนักงานคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถมีทักษะวิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรใหญ่ การวางแผนการซ่อมบำรุงตามชั่วโมงการทำงาน วางแผนการซ่อมบำรุงในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเมินประสิทธิภาพเครื่องจักรใหญ่ในขณะทำงานในทุกสถาวะและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องจักรใหญ่เพิ่อปรับปรุงให้ดีขึ้น 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมช่างกลเรือ/อู่เรือ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH10501

ประเมินประสิทธิภาพเครื่องจักรใหญ่ในขณะทำงานในทุกสภาวะ

1.1 อ่านอุณหภูมิเครื่องจักรในขณะเดิน เครื่องจักรในสภาวะปกติ 

FH10501.01 221429
FH10501

ประเมินประสิทธิภาพเครื่องจักรใหญ่ในขณะทำงานในทุกสภาวะ

1.2 อ่านแรงดันต่าง ๆของเครื่องจักรในขณะเดิน เครื่องจักรในสภาวะปกติ

FH10501.02 221430
FH10501

ประเมินประสิทธิภาพเครื่องจักรใหญ่ในขณะทำงานในทุกสภาวะ

1.3 ทำการเปรียบเทียบอุณหภูมิและความดันที่เพิ่มขึ้นในขณะเครื่องเดินรอบสูง 

FH10501.03 221431
FH10501

ประเมินประสิทธิภาพเครื่องจักรใหญ่ในขณะทำงานในทุกสภาวะ

1.4 อ่านค่ากำลังอัดภายในกระบอกสูบเครื่องยนต์เพื่อประเมินประสิทธิภาพเครื่องจักร ได้ 

FH10501.04 221432
FH10502

ปรับแต่งประสิทธิภาพของเครื่องจักร ใหญ่ให้เหมาะสมในทุกสภาวะการทำงาน

2.1 ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการปรับแต่งเครื่องยนต์ (Tune Up) ขณะเดินเครื่อง

FH10502.01 221433
FH10502

ปรับแต่งประสิทธิภาพของเครื่องจักร ใหญ่ให้เหมาะสมในทุกสภาวะการทำงาน

2.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพโดยการซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) 

FH10502.02 221434
FH10502

ปรับแต่งประสิทธิภาพของเครื่องจักร ใหญ่ให้เหมาะสมในทุกสภาวะการทำงาน

2.3 ปรับปรุงประสิทธิภาพโดยการดัดแปลงเครื่อง (Modified) 

FH10502.03 221435
FH10503

วิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรใหญ่ 

3.1 อ่านบันทึกอุณหภูมิและความดันในสมุดปูมเรือเพื่อตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรใหญ่ในขณะเดินรอบปกติ

FH10503.01 221436
FH10503

วิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรใหญ่ 

3.2 วิเคราะห์ความผิดปกติจากการเดินเครื่องจักรใหญ่ที่เกิดจากการมีรอบสูงขึ้น

FH10503.02 221437
FH10503

วิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรใหญ่ 

3.3 วางแผนและควบคุมขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักรใหญ่

FH10503.03 221438
FH10504

วางแผนการซ่อมบำรุงตามชั่วโมงการทำงาน 

4.1 วางแผนและควบคุมการบันทึกชั่วโมงการทำงานของเครื่องให้เป็นไปตามคู่มือคำแนะนำการบำรุงรักษา 

FH10504.01 221439
FH10504

วางแผนการซ่อมบำรุงตามชั่วโมงการทำงาน 

4.2 วางแผนการจัดหาอะไหล่ตามชั่วโมง2.4 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือให้พร้อม

FH10504.02 221440
FH10504

วางแผนการซ่อมบำรุงตามชั่วโมงการทำงาน 

4.3 วางแผนการถอด/ประกอบอุปกรณ์ตาม ขั้นตอนในคู่มือซ่อมบำรุง 

FH10504.03 221441
FH10505

วางแผนการซ่อมบำรุงในสถานการณ์ฉุกเฉิน

5.1 ประเมินสภาพทะเลก่อนการดำเนินการซ่อมทำฉุกเฉิน 

FH10505.01 221442
FH10505

วางแผนการซ่อมบำรุงในสถานการณ์ฉุกเฉิน

5.2 รายงานสถานการณ์ฉุกเฉินให้เจ้าของเรือทราบ 

FH10505.02 221443
FH10505

วางแผนการซ่อมบำรุงในสถานการณ์ฉุกเฉิน

5.3 วางแผนและควบคุมขั้นตอนการทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน

FH10505.03 221444
FH10505

วางแผนการซ่อมบำรุงในสถานการณ์ฉุกเฉิน

5.4 การวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหา 

FH10505.04 221445

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า 

- เป็นผู้ผ่านการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพต้นกลเรือประมง ระดับ 4 และต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 12 เดือน 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการปฏิบัติงานในห้องเครื่องบนเรือ

- ทักษะในการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องเครื่อง  

- ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักรใหญ่  

- ทักษะในการใช้งานอุปกรณ์วัดต่างๆของเครื่องจักร 

- ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ 

- ทักษะในการบริหารเวลาให้งานสำเร็จ  

- ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาที่พบและตัดสินใจ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลเรือ

- หลักการความรู้เกี่ยวกับวิเคราะห์เครื่องยนต์ 

- ความรู้ในการวางแผนการบำรุงรักษา 

- หลักการ วิธีการ ควบคุม อะไหล่และอุปกรณ์ 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายช่างกลเรือ จากกรมเจ้าท่า

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง  

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้  

(ง) วิธีการประเมิน 

   - สอบสัมภาษณ์ 

   - แฟ้มสะสมผลงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การวางแผนในการบำรุงรักษาเครื่องจักรใหญ่ครอบคลุมถึงเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนเรือให้ สามารถมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน 

   การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ครอมคลุมถึงประสิทธิภาพของเครื ่องจักรใหญ่บนเรือ ต้องเปรียบเทียบจากคู่มือปฏิบัติงาน ใช้เครื่องมือหรือเครื่องวัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สืบหาสาเหตุและแก้ไข ปัญหาของระบบเครื่องจักรใหญ่ 

(ก) คำแนะนำ  

   - การบำรุงต้องสอดคล้องกับคำแนะนำในคู่มือการใช้งานเครื่องยนต์ 

   - ในการบำรุงในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้คำนึงถึงหลักความปลอดภัยของคนประจำเรือและเรือ 

   - ตรวจสอบจากคู่มือการปฏิบัติการและการควบคุมเครื่องยนต์นั้นๆ 

   - ใช้ความรู้และทักษะตามข้อ 13 (ก) และ (ข) 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

   - คู่มือการบำรุงรักษา เป็นคู่มือที่แนะนำการซ่อมบำรุงตามอายุการใช้งานของเครื่องจักร 

   - ประวัติการซ่อมบำรุง อาจเป็นการสมุดบันทึก หรือโปรแกรมการซ่อมบำรุงแบบบันทึกในคอมพิวเตอร์ เครื่องมือวัดกำลังดันภายในกระบอกสูบ ใช้หากำลังดันในการอัดระเบิดเพื่อคำนวณกำลังของเครื่องยนต์  


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- สอบสัมภาษณ์ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 



ยินดีต้อนรับ