หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการควบคุมการทำงานเครื่องกว้านบนเรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-SFYV-197A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการควบคุมการทำงานเครื่องกว้านบนเรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO  

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคดูแลหม้อน้ำบนเรือเดินทะเล 

3151 ช่างเทคนิคควบคุมการเดินเรือหรือช่างเครื่องประจำเรือ 

8182 พนักงานคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถเข้าใจหลักการใช้งานเครื่องกว้านแต่ประเภทได้อย่างเหมาะสมและควบคุมการเดินเครื่องกว้านบนเรือประมง ระบุสาเหตุการขัดข้องและข้อบกพร่องของเครื่องกว้านบนเรือประมงได้แก้ไขปัญหาเครื่องกว้านบนเรือประมงได้ และควบคุมสถานการณ์ของเหตุขัดข้องได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมช่างกลเรือ/อู่เรือ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH30701

อธิบายการใช้งานเครื่องกว้านแต่ล่ะประเภทได้

1.1 บอกหลักการใช้งานเครื่องกว้านแบบไฮดรอลิคได้ 

FH30701.01 221578
FH30701

อธิบายการใช้งานเครื่องกว้านแต่ล่ะประเภทได้

1.2 บอกหลักการใช้งานเครื่องกว้านไฟฟ้าได้ 

FH30701.02 221579
FH30701

อธิบายการใช้งานเครื่องกว้านแต่ล่ะประเภทได้

1.3 บอกหลักการใช้งานเครื่องกว้านแบบเฟืองทดได้

FH30701.03 221580
FH30702

ควบคุมการเดินเครื่องกว้านบนเรือประมง

2.1 ใช้รอบของเครื่องกว้านได้อย่างเหมาะสม 

FH30702.01 221581
FH30702

ควบคุมการเดินเครื่องกว้านบนเรือประมง

2.2 ควบคุมกำลังดันไฮดรอลิคในเครื่องกว้านตามคู่มือการทำงาน

FH30702.02 221582
FH30702

ควบคุมการเดินเครื่องกว้านบนเรือประมง

2.3 ใช้แรงตึงเชือกอย่างเหมาะสมในขณะใช้เครื่องกว้าน 

FH30702.03 221583
FH30703

ระบุสาเหตุการขัดข้องและแก้ไขปัญหาของเครื่องกว้านบนเรือประมงได้

3.1 บอกสาเหตุการขัดข้องของเครื่องกว้านแต่ละประเภทได้

FH30703.01 221584
FH30703

ระบุสาเหตุการขัดข้องและแก้ไขปัญหาของเครื่องกว้านบนเรือประมงได้

3.2 ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขัดข้องของเครื่องกว้านแต่ละประเภท

FH30703.02 221585
FH30703

ระบุสาเหตุการขัดข้องและแก้ไขปัญหาของเครื่องกว้านบนเรือประมงได้

3.3 บันทึกสาเหตุและการแก้ปัญหาลงในสมุดปูมเครื่องมือ

FH30703.03 221586

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า

- เป็นผู้ผ่านการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพต้นกลเรือประมง ระดับ 4 และต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 12 เดือน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะการใช้เครื่องกว้าน เครื่องมือประเภทรอก

- มีทักษะในการใช้เครื่องมือช่าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- หลักการใช้เครื่องทุ่นแรงประเภทรอกต่าง ๆ

- การใช้งานเชือกบนเรือ  

- หลักการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล

- การทำงานด้วยความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)  

   - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า 

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน  

   ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - สอบสัมภาษณ์ 

   - แฟ้มสะสมผลงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การใช้งานเครื่องกว้านบนเรือ ครอบคลุมอุปกรณ์กว้านทั้งหมดที่ติดตั้ง และใช้การบนเรือ ประกอบด้วย กว้านยกของ กว้านในการเก็บอวน ใช้อวน กว้านในการเก็บบันไดขึ้น-ลงจากเรือ กว้านเชือกใช้ในการเทียบเรือ และกว้านสมอ 

   การขัดข้องและข้อบกพร่องเครื่องกว้านบนเรือภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ ครอบคลุมอุปกรณ์กว้านทั้งหมดที่ติดตั้ง และใช้การบนเรือ ประกอบด้วย กว้านยกของ กว้านในการเก็บอวน ใช้อวน กว้านในการเก็บบันไดขึ้น-ลงจากเรือ กว้านเชือกใช้ในการเทียบเรือ และกว้านสมอ 

(ก) คำแนะนำ  

   - ควรระบุแรง/กำลังสูงสุดที่เครื่องกว้านรับได้ในการทำงาน 

   - ระบุแรงดึงสูงสุดบนเครื่องกว้านเพื่อความปลออดภัยในการทำงาน 

   - ใช้ความรู้และทักษะตามข้อ 13 (ก) และ (ข) 

(ข) คำบอกรายละเอียด 

   - N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- สอบสัมภาษณ์ 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน      



ยินดีต้อนรับ