หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการควบคุมระบบบังคับทิศทางเรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-ORJK-195A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการควบคุมระบบบังคับทิศทางเรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคดูแลหม้อน้ำบนเรือเดินทะเล 

3151  ช่างเทคนิคควบคุมการเดินเรือหรือช่างเครื่องประจำเรือ 

8182 พนักงานคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถควบคุมการเดินเครื่องบังคับเลี้ยวบนเรือประมง ใช้ความเร็วรอบของเครื่องจักรใหญ่ในการช่วยควบคุมการเลี้ยวได้ อธิบายหลักการเลี้ยวของหางเสือเรือ ระบุสาเหตุการขัดข้องและข้อบกพร่องของเครื่องบังคับเลี้ยวได้แก้ไขปัญหาเครื่องบังคับเลี้ยวได้ ควบคุมสถานการณ์ของเหตุขัดข้องได้ สามารถระบุสาเหตุการขัดข้องและข้อบกพร่องของใบจักรและเพลาใบจักร แก้ไขปัญหาการขัดข้องและการติดขัดของใบจักรและเพลาใบจักร และควบคุมสถานการณ์ในขณะที่เกิดปัญหากับใบจักรและเพลาใบจักรเรือ  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมช่างกลเรือ/อู่เรือ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH30501

ควบคุมการเดินเครื่องบังคับเลี้ยวบนเรือประมง

1.1 เดินเครื่องบังคับเลี้ยวหางเสือได้ 

FH30501.01 221561
FH30501

ควบคุมการเดินเครื่องบังคับเลี้ยวบนเรือประมง

1.2 บอกหลักการทำงานของหางเสือเรือประมงได

FH30501.02 221562
FH30501

ควบคุมการเดินเครื่องบังคับเลี้ยวบนเรือประมง

1.3 ใช้ความเร็วรอบของเครื่องจักรใหญ่ในการช่วยบังคับเลี้ยวอย่างปลอดภัย 

FH30501.03 221563
FH30502

ระบุสาเหตุและแก้ไขการขัดข้องและข้อบกพร่องของเครื่องบังคับเลี้ยวได้ 

2.1 ประเมินสถานการณ์ของเหตุขัดข้อง 

FH30502.01 221564
FH30502

ระบุสาเหตุและแก้ไขการขัดข้องและข้อบกพร่องของเครื่องบังคับเลี้ยวได้ 

2.2 บอกสาเหตุการขัดข้องและข้อบกพร่องของเครื่องบังคับเลี้ยวและหางเสือ 

FH30502.02 221565
FH30502

ระบุสาเหตุและแก้ไขการขัดข้องและข้อบกพร่องของเครื่องบังคับเลี้ยวได้ 

2.3 ปฏิบัติการแก้ไขเครื่องบังคับเลี้ยวและ หางเสือให้กลับมาใช้งานได้ 

FH30502.03 221566
FH30503

ระบุสาเหตุและแก้ไขปัญหาของใบจักรและเพลาใบจักรของเรือประมงได้ 

3.1 ประเมินสถานการณ์ของเหตุขัดข้อง 

FH30503.01 221567
FH30503

ระบุสาเหตุและแก้ไขปัญหาของใบจักรและเพลาใบจักรของเรือประมงได้ 

3.2 บอกสาเหตุการขัดข้องและข้อบกพร่องที่เกิดปัญหากับใบจักรและเพลาใบจักร

FH30503.02 221568
FH30503

ระบุสาเหตุและแก้ไขปัญหาของใบจักรและเพลาใบจักรของเรือประมงได้ 

3.3 ปฏิบัติการแก้ไขใบจักรและเพลาใบจักรให้กลับมาใช้งานได้ 

FH30503.03 221569

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า

- เป็นผู้ผ่านการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพต้นกลเรือประมง ระดับ 4 และต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 12 เดือน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะการใช้เครื่องมือช่างมีทักษะในการประเมินการเคลื่อนที่ของเรือ

- ทักษะในการตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรใหญ่

- ทักษะการประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน

- มีทักษะการแก้ไขเครื่องบังคับเลี้ยว

- มีทักษะในการใช้เครื่องมือช่าง

- มีทักษะในการแก้ไขปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ระบบการขับเคลื่อนเรือ 

- โครงสร้างและการออกแบบใบจักรและเพลาใบจักร  

- หลักการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล 

- หลักการทำงานระบบไฮดรอลิค 

- การทำงานของเฟืองและระบบส่งกำลัง 

- หลักความปลอดภัยในการทำงาน 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

- หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) 

- หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

- แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

- ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า  

- เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

- ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน

-  สอบสัมภาษณ์

- แฟ้มสะสมผลงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

   ระบบบังคับเลี้ยวบนเรือประมง ประกอบด้วยเครื่องบังคับเลี้ยว (Steering gear) และหางเสือ (Rudder) ผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจการควบคุมการทำงาน ของระบบเป็นอย่างดี รวมทั้งการควบคุมในสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย 

   ระบบบังคับเลี้ยวครอบคลุมถึงเครื่องกลและระบบที่เกี่ยวข้องในการบังคับทิศทางเรือประมงพาณิชย์ 

   การขัดข้องและข้อบกพร่องของใบจักรและเพลาใบจักร ครอบคลุมถึงการขัดข้องและการติดขัดของใบ

จักรและเพลาใบจักรในขณะทำงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถประเมินและวิเคราะห์อันตรายที่จะส่งผลต่อการเดินทางของเรือ  

(ก) คำแนะนำ  

   - การแก้ปัญหาควรมีการประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานก่อนเสมอ

   - ปฏิบัติตามคู่มือหรือแผนฉุกเฉินในการทำงานบนเรือตามคำแนะนำของบริษัทหรือเจ้าของเรือ 

   - ศึกษาและเข้าใจในการออกแบบระบบบังคับเลี้ยวบนเรือประมง 

   - ใช้ความรู้และทักษะตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด  

   - เครื่องบังคับเลี้ยว (Steering gear) เป็นกลไกในการควบคุมหางเสือ อาจเป็นระบบไฮดรอลิค หรือระบบเฟืองทด 

   - หางเสือ ออกแบบมาเพื่อการเลี้ยวเรือ มีหลายประเภท จะรับแรงขับน้ำจากใบจักรและผลักส่งไปตามทิศทางของมุมหางเสือ 

   - พังงา คือคันบังคับในการเลี้ยว (มีลักษณะแบบเดียวกับพวงมาลัยรถยนต์) 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- สอบสัมภาษณ์  

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- แฟ้มสะสมผลงาน 

  ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน     



ยินดีต้อนรับ