หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการควบคุมและวิเคราะห์ประสิทธิภาพเครื่องสูบบนเรือประมง

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-MSPZ-193A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการควบคุมและวิเคราะห์ประสิทธิภาพเครื่องสูบบนเรือประมง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO  

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 

3132 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคดูแลหม้อน้ำบนเรือเดินทะเล 

3151  ช่างเทคนิคควบคุมการเดินเรือหรือช่างเครื่องประจำเรือ 

8182 พนักงานคุมเครื่องจักรไอน้ำบนเรือ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถเข้าใจหลักการควบคุมการทำงานของเครื่องสูบบนเรือประมง ควบคุมการเดินเครื่องสูบทุกประเภทบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง สามารถระบุสาเหตุการขัดข้องของเครื่องสูบบนเรือประมง และแก้ไขปัญหาเครื่องสูบที่ไม่สามารถทำงานได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมช่างกลเรือ/อู่เรือ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FH30301

เข้าใจและควบคุมการเดินเครื่องสูบทุกประเภทบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง 

1.1 อธิบายหลักการทำงานเครื่องสูบบนเรือประมงประเภทต่างๆได้ 

FH30301.01 221541
FH30301

เข้าใจและควบคุมการเดินเครื่องสูบทุกประเภทบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง 

1.2 ควบคุมการใช้เครื่องสูบน้ำในการปรับแต่งน้ำอับเฉาถ่วงเรือได้

FH30301.02 221542
FH30301

เข้าใจและควบคุมการเดินเครื่องสูบทุกประเภทบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง 

1.3 ควบคุมการใช้เครื่องสูบน้ำในการควบคุมน้ำเสียให้เครื่องได้อย่างถูกต้องและไม่เป็น มลภาวะทางทะเล 

FH30301.03 221543
FH30301

เข้าใจและควบคุมการเดินเครื่องสูบทุกประเภทบนเรือประมงได้อย่างถูกต้อง 

1.4 ควบคุมการใช้เครื่องสูบน้ำมันในการปฏิบัติการของระบบน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่าง เหมาะสม

FH30301.04 221544
FH30302

ระบุสาเหตุการขัดข้องและแก้ไขปัญหาของเครื่องสูบบนเรือประมง 

2.1 บอกสาเหตุการขัดข้องของเครื่องสูบ

FH30302.01 221545
FH30302

ระบุสาเหตุการขัดข้องและแก้ไขปัญหาของเครื่องสูบบนเรือประมง 

2.2 แก้ไขปัญหาการขัดข้องของเครื่องสูบ

FH30302.02 221546
FH30303

วิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องสูบได้ 

3.1 วัดอัตราการไหลทางออกของเครื่องสูบ 

FH30303.01 221547
FH30303

วิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องสูบได้ 

3.2 วัดกำลังดันด้านทางออกของเครื่องสูบเพื่อประเมินประสิทธิภาพ 

FH30303.02 221548
FH30303

วิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องสูบได้ 

3.3 วัดกระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ขับเคลื่อน 

FH30303.03 221549
FH30304

ประเมินการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องสูบได้ 

4.1 วัดระยะห่างระหว่างใบพัดและเสื้อสูบได้

FH30304.01 221550
FH30304

ประเมินการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องสูบได้ 

4.2 วัดการสึกหรอของบุชคอเสื้อสูบและฐานเสื้อสูบ

FH30304.02 221551
FH30304

ประเมินการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องสูบได้ 

4.3 ตรวจสอบการสึกหรอของโครงสร้างใบพัดเครื่องสูบ 

FH30304.03 221552

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานของผู้ปฏิบัติการบนเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า

- เป็นผู้ผ่านการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพต้นกลเรือประมง ระดับ 4 และต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งระดับ 4 ไม่น้อยกว่า 12 เดือน 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะการใช้เครื่องสูบประเภทต่างๆ

- มีทักษะการใช้เครื่องมือช่าง 

- มีทักษะการสูบน้ำ 

- ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องสูบ  

- ทักษะในการแก้ปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- การทำงานของเครื่องสูบ 

- ความรู้เรื่องคุณสมบัติของของเหลว 

- หลักการทำงานอย่างปลอดภัยทางไฟฟ้า 

- ความรู้เกี่ยวกับระบบและอุปกรณ์เครื่องสูบ

- ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างปลอดภัย 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

   
- หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)  

   - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว 

   - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

   - 
ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า

   - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

   ผู้ประเมินตรวจประเมินพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน 

   - สอบสัมภาษณ์  

   - ข้อสอบปฏิบัติ 

   - แฟ้มสะสมผลงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

   การทำงานของเครื่องสูบบนเรือประมง ครอบคลุมถึงการเดินเครื่องสูบบนเรือประมง ในทุกระบบที่มีการใช้เครื่องสูบ ผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้และเข้าใจในการทำงาน รวมทั้งสามารถรายงานปัญหาของเครื่องสูบให้ผู้บังคับบัญชาทราบ การแก้ปัญหาการขัดข้องในเครื่องสูบ ต้องให้เครื่องสูบต่าง ๆ ของทุกระบบบนเรือประมงทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพซึ่งประกอบด้วยระบบน้ำมันเชื้อเพลิงระบบน้ำมันหล่อลื่น ระบบหล่อเย็น ทั้งนี้การแก้ไขข้อขัดข้องในการปฎิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของคู่มือ 

(ก) คำแนะนำ  

   - ศึกษาคู่มือการปฏิบัติการและการควบคุมเครื่องสูบ 

   - การสูบน้ำออกนอกเรือต้องระวังในเรื่องไหลย้อนกลับ 

   - การสูบน้ำมันต้องระมัดระวังมลภาวะทางทะเล 

   - ศึกษาการวิเคราะห์ปัญหา (Trouble shooting) จากคู่มือการปฏิบัติการ 

   - ใช้ความรู้และทักษะตามข้อ 13 (ก) และ (ข) 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   - N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- สอบสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- สอบปฏิบัติ 

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

- แฟ้มสะสมผลงาน 

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ