หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-TNWF-376B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเสนอนวัตกรรมสู่สาธารณะและเครือข่ายเพื่อสร้างการรับรู้ โดยนำเสนอนวัตกรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียได้ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย และถ่ายทอดนวัตกรรมต่อสาธารณชนได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย อีกทั้งสามารถถ่ายทอดนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ โดยถ่ายทอดนวัตกรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน และพัฒนาคู่มือหรือเอกสารข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ

-    ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ

-    ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทของสังคม ตลาด ความต้องการ แนวโน้มต่างๆ

-    ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล 

-    ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

-    ทักษะการวิเคราะห์ การประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง

-    ทักษะการถ่ายทอด การกำกับดูแล 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะทางในการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ 

-    ทักษะทางในการมองเห็นประโยชน์จากงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือบริการต้นแบบ 

-    ทักษะทางในการวิเคราะห์การนำไปใช้ประโยชน์ของงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ทักษะทางในการประเมินผลการวิเคราะห์ผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์ 

-    ทักษะทางในการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือการปรับปรุงแผนผลิตภัณฑ์ 

-    ทักษะทางในการขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน 

-    ทักษะทางในการค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น 

-    ทักษะทางในการคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไป 

-    ทักษะการจัดการ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทสังคม 

-    ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการตันแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน/กระบวนการในการทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของผลิตภัณฑ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         -    ผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 

         -    แฟ้มสะสมผลงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        -    ผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 

        -    แฟ้มสะสมผลงาน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

        ในการประเมินควรพิจารณาความรอบรู้ในหลายๆ มิติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต้นแบบ ทั้งด้านกายภาพของผลิตภัณฑ์ เศรษฐศาสตร์ สังคม โดยต้องแสดงออกซึ่งผลของการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ

(ง)    วิธีการประเมิน

       -    การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยแฟ้มสะสมผลงาน

       -    การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

นำเสนอนวัตกรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย ถ่ายทอดนวัตกรรมต่อสาธารณชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

(ก)    คำแนะนำ 

         -    ควรมีความเข้าใจผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ รวมถึง บริบทสังคม และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

         การถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรม คือ กระบวนการในการนำผลลัพธ์ที่ได้จากผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรม มาส่งต่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ผ่านวิธีการต่างๆ โดยรูปแบบในการถ่ายทอดและวิธีการสื่อสารต้องเหมาะสมตามบริบท สถานการณ์ และประเภท ของผู้รับการถ่ายทอดสู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ หากผู้ถ่ายทอดวิธีการถ่ายทอดได้เหมาะกับธรรมชาติของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม และให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการถ่ายทอดย่อมทำให้ผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรม เป็นที่ยอมรับได้ดี และมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



ยินดีต้อนรับ