หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-JEOF-367B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตีพิมพ์รายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในวารสารวิชาการ โดยจัดเตรียมต้นฉบับให้ตรงกับข้อกำหนดในการเขียนบทความหรือรายงานการวิจัยของวารสารวิชาการนั้นๆ อย่างเคร่งครัด และส่งต้นฉบับบทความหรือรายงานการวิจัยให้กับวารสารวิชาการ ด้วยวิธีการที่ทางวารสารวิชาการนั้นๆ กำหนดไว้ เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ อีกทั้งยังสามารถนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการ    โดยวางแผนการนำเสนอผลงานวิจัย เตรียมเนื้อหาหลักและสื่อที่ใช้ในการนำเสนอผลงานวิจัย และฝึกซ้อมพูดนำเสนอผลงานวิจัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูล 

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ

-    ทักษะการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่องานวิจัย 

-    ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา

-    ทักษะด้านการนำเสนอและการสื่อสาร

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการนำเสนอผลงานวิจัย

-    ทักษะในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 

-    ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

-    ทักษะในการอธิบายผลงานวิจัย

-    ทักษะในการปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอผลงานวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 

-    ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

-    ความรู้เกี่ยวกับการอธิบายผลงานวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        -    แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

        -    เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ

        -    แฟ้มสะสมผลงาน

        -    รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        -    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ

        -    ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

       เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

        -    การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์

        -    การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

        เป้าหมายของการวิจัย คือ การสร้างสรรค์ สั่งสมความรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ การวิจัยจะบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย อำนวยประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์ จำเป็นต้องมีการเผยแพร่ผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อเชื่อมโยงและเกื้อกูลให้การวิจัยได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ สนับสนุนการพัฒนาบุคคล องค์กร วิชาชีพ และสังคม 

สำหรับรูปแบบการเผยแพร่ในลักษณะการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการนั้น นับว่าเป็นช่องทางที่มีความเป็นรูปธรรมและสามารถดำเนินการได้โดยไม่ยาก เนื่องจากมีวารสารจำนวนมากที่จัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานประเภทบทความวิจัยโดยตรง นอกจากนี้หน่วยงานอื่นๆ ยังต้องการสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดคุณค่าแล้ว ยังเป็นการประกันคุณภาพของหน่วยงานอีกด้วย ดังนั้น “วารสารทางวิชาการ” จึงนับเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้นักวิชาการในทุกหน่วยงานได้เสริมบทบาทการเป็นนักวิจัย โดยที่การจัดทำวารสารต่างๆ

(ก)    คำแนะนำ 

         N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



ยินดีต้อนรับ