หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

หาแหล่งโจทย์วิจัยกำหนดแหล่งข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-YYWM-346B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ หาแหล่งโจทย์วิจัยกำหนดแหล่งข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถกำหนดปัญหาวิจัยได้ และทราบที่มาความสำคัญ หรือเหตุผลในการทำงานวิจัยเรื่องนั้นๆ รวมถึงการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยให้ตอบโจทย์ปัญหาการวิจัยได้อย่างถูกต้อง และมีวิธีดำเนินงานที่เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัย สามารถสรรหาแหล่งที่มาของโจทย์วิจัยได้ และคัดกรองข้อมูลจากแหล่งที่มาเพื่อกำหนดโจทย์และมองคาดการณ์ไปยังประเด็นสำคัญที่ส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถค้นคว้าข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ และสามารถกำหนดแหล่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามงานวิจัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักการตลาด นักบริหารทั่วไป

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0010101

ศึกษาปัญหาและความสำคัญของการวิจัย

1. ระบุประเด็นปัญหา/ความต้องการ/ยุทธศาสตร์/นโยบาย/บริบททั้งในประเทศและต่างประเทศ

0010101.01 218333
0010101

ศึกษาปัญหาและความสำคัญของการวิจัย

2. เข้าใจประเด็นปัญหาการวิจัย บริบท องค์ประกอบ และสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับงานวิจัย และสามารถเขียนที่มาและความสำคัญในการทำวิจัยเรื่องนั้นๆ

0010101.02 218334
0010101

ศึกษาปัญหาและความสำคัญของการวิจัย

3. วิเคราะห์โอกาส/ช่องว่างเพื่อให้ได้ประเด็นปัญหา

0010101.03 218335
0010101

ศึกษาปัญหาและความสำคัญของการวิจัย

4. สังเคราะห์ประเด็นปัญหาวิจัยให้เป็นประเด็นวิจัย/กิจกรรมย่อย/งานย่อย

0010101.04 218336
0010101

ศึกษาปัญหาและความสำคัญของการวิจัย

5. เขียนวัตถุประสงค์ได้ตรงตามปัญหาการวิจัย กำหนดขอบข่าย วัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับทรัพยากรการวิจัย (ทราบถึงข้อจำกัดของงบประมาณและเวลาที่เกี่ยวข้องในงานนั้นๆ) และกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ที่ชัดเจน  

0010101.05 218337
0010102

หาแหล่งโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ

1. ระบุแหล่งที่มาของการกำหนดโจทย์วิจัย โดยรู้จักแหล่งที่มาของการหาข้อมูลเพื่อกำหนดโจทย์วิจัย และรู้จักผู้ร่วมวิจัยว่ามีความเชี่ยวชาญทางด้านใด

0010102.01 218338
0010102

หาแหล่งโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ

2. หาข้อมูลเพื่อเตรียมคัดเลือกโจทย์วิจัย 

0010102.02 218339
0010102

หาแหล่งโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ

3. เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลจากแหล่งที่มาแต่ละแห่ง

0010102.03 218340
0010102

หาแหล่งโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ

4. คัดกรองข้อมูลจากแหล่งที่มาเพื่อกำหนดโจทย์วิจัย

0010102.04 218341
0010102

หาแหล่งโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ

5. วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกประเด็นในการกำหนดโจทย์วิจัย

0010102.05 218342
0010103

กำหนดแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. สืบค้น/ค้นคว้าข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

0010103.01 218343
0010103

กำหนดแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2. คัดกรอง/เลือกสรรและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายข้อมูลอย่างถูกต้องและเหมาะสม

0010103.02 218344
0010103

กำหนดแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3. จำแนกข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิออกจากกันได้

0010103.03 218345
0010103

กำหนดแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

4. กำหนดแหล่งข้อมูลได้ถูกตามงานวิจัย

0010103.04 218346

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ

-    ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล

-    ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

-    ทักษะการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่องานวิจัย 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการเข้าใจต่อกลุ่มบุคคลและกลุ่มเป้าหมาย

-    ทักษะในการกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข

-    ทักษะการสร้างความคิดและแนวคิด 

-    ทักษะการสร้างแบบจำลอง (Prototype) และทดสอบแบบจำลอง

-    ทักษะในการคิดวิเคราะห์โจทย์วิจัย

-    ทักษะในการสังเคราะห์งานวิจัยหรือประเด็นทางสังคม เพื่อใช้ในการกำหนดโจทย์วิจัย

-    ทักษะในการสืบค้นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-    ทักษะในการนำเข้าหรือบันทึกข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 

-    ทักษะในการเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

-    ทักษะในการอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูล

-    ทักษะในการประมวลข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล

-    ความรู้พื้นฐาน/ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพที่จะดำเนินการวิจัย

-    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย

-    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

-    ความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาการวิจัย บริบท องค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับงานวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา/ความต้องการ/ยุทธศาสตร์/นโยบาย/บริบททั้งในประเทศและต่างประเทศ

-    ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดคำหลักหรือประเด็นหลักในการตั้งโจทย์การวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการสืบค้นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-    ความรู้เกี่ยวกับการกลั่นกรองแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-    ความรู้เกี่ยวกับการระบุแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้อง 

-    ความรู้เกี่ยวกับการนำเข้าหรือบันทึกข้อมูล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 

-    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

-    ความรู้เกี่ยวกับการอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูล

-    ความรู้เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         -    แฟ้มสะสมผลงาน

         -    ใบรับรองการผ่านเข้าร่วมงานวิจัย

         -    ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ หรือเอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ

         -    รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

         -    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ

         -    ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย

         -    เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

         -    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

         -    เอกสารการจัดทำคู่มือ

         -    เอกสารการสอนงาน

         -    หรือเอกสารรับรองอื่นๆ ที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

         เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

        -    การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก  (สำหรับอาชีพนักวิจัยและอาชีพนักบริหารโครงการวิจัย ใช้แฟ้มสะสมผลงาน)

        -    การประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์

        -    การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงานเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพและวิธีการสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

         ขอบเขตการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น 

         สมรรถนะย่อยแรกกล่าวถึงการศึกษาปัญหาและความสำคัญของการวิจัย เสนอประเด็นปัญหาการวิจัยโดยระบุประเด็นปัญหา หรือความต้องการ หรือยุทธศาสตร์ได้ และเขียนที่มาและความสำคัญในการทำวิจัยได้ รวมถึงวิเคราะห์โอกาส/ช่องว่างเพื่อให้ได้ประเด็นปัญหา เขียนวัตถุประสงค์ได้ตรงตามปัญหาการวิจัย โดยเข้าใจประเด็นปัญหาการวิจัย บริบท องค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับงานวิจัย สังเคราะห์ประเด็นปัญหาวิจัยให้เป็นกิจกรรมหรืองานย่อยได้ และกำหนดขอบข่ายวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับทรัพยากรการวิจัย รวมไปถึงกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ที่ชัดเจน 

         สมรรถนะย่อยที่สองกล่าวถึงการหาแหล่งโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ ระบุแหล่งที่มาของการกำหนดโจทย์วิจัย โดยรู้จักแหล่งที่มาของการหาข้อมูลเพื่อกำหนดโจทย์วิจัย รวมถึงรู้จักความเชี่ยวชาญของนักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการและเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการคัดเลือกโจทย์วิจัย สมรรถนะย่อยถัดมากล่าวถึงการคัดกรองข้อมูลจากแหล่างที่มาเพื่อกำหนดโจทย์วิจัย โดยเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลจากแหล่งที่มาแต่ละแห่ง และวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อเลือกประเด็นในการกำหนดโจทย์วิจัย

          สมรรถนะย่อยที่สามกล่าวถึงการกำหนดแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การแสวงหาความรู้และแสวงหาข้อมูลได้ โดยสืบค้นข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้รวมถึงสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพและคัดกรองหรือเลือกใช้ประโยชน์จากเครือข่ายข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สมรรถนะย่อยถัดมากล่าวถึงการกำหนดแหล่งข้อมูลได้ถูกตามงานวิจัย โดยจำแนกข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิออกจากกันได้และเข้าใจที่มาและเหตุผลในการกำหนดแหล่งข้อมูล

(ก)    คำแนะนำ

        -    ผู้เข้ารับการประเมินคิดวิเคราะห์เพื่อกำหนดโจทย์งานวิจัยที่เหมาะสมได้

        -    ผู้เข้ารับประเมินสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการเป็นข้อมูลในการกำหนดโจทย์ได้

        -    ผู้เข้ารับการประเมินแสวงหาความรู้/ข้อมูลได้

        -    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถจำแนกประเภทข้อมูลได้

        -    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถกำหนดแหล่งข้อมูลได้

        -    ผู้เข้ารับการประเมินกำหนดเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์การวิจัย

        -    ผู้เข้ารับการประเมินอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างชัดเจนและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การวิจัย

        -    ผู้เข้ารับการประเมินนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาประมวลเพื่อเตรียมสรุปและอภิปรายผลการวิจัยได้

        -    ผู้เข้ารับการประเมินปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสรุปและอภิปรายผลการวิจัยได้



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

          การกำหนดโจทย์วิจัยผู้เข้ารับการประเมินควรที่จะทราบประเภทงานวิจัยทั้งหมด เพื่อที่จะพิจารณาได้ว่างานวิจัยที่ต้องการจะดำเนินการจะเป็นงานวิจัยประเภทไหน ทั้งนี้ประเภทของงานวิจัยมี 3 ประเภท คือ 

         1)    งานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) การค้นพบสิ่งใหม่ๆ หรือแนวคิด เครื่องมือใหม่ๆ

         2)    งานวิจัยเพื่อพัฒนา (Research & Development) เช่น งานวิจัยเชิงนโยบาย งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ งานวิจัยเชิงทดลอง เป็นต้น

         3)    งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ (Research for Empowerment) เช่นการสร้างเสริมศักยภาพชุมชน

                ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องอาศัยประสบการณ์ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ต่างๆ เพื่อค้นหาโจทย์ในการดำเนินการวิจัย นอกจากนี้ผู้เข้ารับการประเมินควรจะรู้ความสนใจตัวเองว่ามีความสนใจที่จะศึกษาด้านไหน และหากต้องใช้ความรู้แบบองค์รวม จำเป็นจะต้องระบุผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานที่ต้องติดต่อเพื่อที่จะสามารถดำเนินงานวิจัยชิ้นนั้นให้แล้วเสร็จได้

                 แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัยมาจากหลากหลายที่มา เท่าที่สามารถระบุได้ มีดังนี้

                 -    ประสบการณ์ของผู้วิจัย

                 -    การปฏิบัติงาน

          -    นโยบาย แผนงาน กลยุทธ์ หรือความต้องการของหน่วยงาน

          -    รายงานหรือผลงานวิจัยของบุคคลอื่น

          -    ทฤษฎี แนวคิด หลักการหรือข้อเสนอแนะด้านต่างๆ

          -    การเข้าร่วมประชุม/สัมมนา/เสวนา

          -    ข่าว สถานการณ์ ปรากฏการณ์ทางสังคม

          -    การอ่านหนังสือ ตำรา บทความด้านต่างๆ

          -    Web site, Internet

          -    หัวข้อวิจัยจากหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย

แนวทางการเลือกหัวข้อเรื่อง/ปัญหาในการวิจัย

          -    ความสนใจใคร่รู้ของผู้วิจัย

          -    ความสำคัญ/ความน่าสนใจของประเด็น

          -    ประโยชน์ต่อสังคม/ส่วนรวม/วิชาชีพ/วิชาการ

          -    ความสอดคล้องกับความสามารถของผู้วิจัย

          -    ความเป็นไปได้ในการดำเนินการ

          -    งบประมาณเพียงพอ

          -    จริยธรรมและคุณธรรม

         แหล่งที่มาของข้อมูล ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ บุคคล เช่น ผู้ให้สัมภาษณ์ ผู้กรอกแบบสอบถาม บุคคลที่ถูกสังเกต เอกสารทุกประเภท และข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน รวมไปถึง ภาพถ่าย แผนที่ แผนภูมิ หรือแม้แต่วัตถุและสิ่งของก็ถือเป็นแหล่งข้อมูลได้ทั้งสิ้น โดยทั่วไปสามารถจัดประเภทข้อมูลตามแหล่งที่มาได้ 2 ประเภท คือ 

         ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะการเลือกใช้ข้อมูลแบบปฐมภูมิ ผู้วิจัยจะสามารถเลือกเก็บข้อมูลได้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์ แต่มีข้อเสียตรงที่สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และอาจมีคุณภาพไม่ดีพอ หากเกิดความผิดพลาดในการเก็บข้อมูลภาคสนาม

         ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่มีผู้เก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่นักวิจัยนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาใหม่ เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร สถิติจากหน่วยงาน และเอกสารทุกประเภท ช่วยให้ผู้วิจัยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียเวลากับการเก็บข้อมูลใหม่ และสามารถศึกษาย้อนหลังได้ ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่ศึกษา แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องความครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ผู้วิจัยศึกษา และปัญหาเรื่องความ น่าเชื่อถือของข้อมูล ก่อนจะนำไปใช้จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นในบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินโดยใช้การทดสอบแบบข้อเขียน แฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์ หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



ยินดีต้อนรับ