หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-VMYF-373B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ โดยวิเคราะห์ตลาด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในปัจจุบันและอนาคต เพื่อการคาดการณ์ปริมาณผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการต้นแบบ หรือกระบวนการที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการ และประสานองค์กร หน่วยงาน โรงงาน เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ การให้บริการ หรือ กระบวนการ อีกทั้งสามารถพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการอย่างต่อเนื่อง    โดยวิเคราะห์แนวโน้มตลาดและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง ศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ อย่างต่อเนื่อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ

-    ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ

-    ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทของสังคม ตลาด ความต้องการ แนวโน้มต่างๆ

-    ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล 

-    ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

-    ทักษะการวิเคราะห์ การประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง

-    ทักษะการถ่ายทอด การกำกับดูแล 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะทางกายภาพ สามารถมองเห็นประโยชน์จากงานวิจัยผลิตภัณฑ์หรือบริการต้นแบบ

-    ทักษะทางในการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ 

-    ทักษะทางในการนำไปใช้ประโยชน์ของงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ทักษะทางในการประเมินผลการวิเคราะห์ผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์ 

-    ทักษะทางในการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือการปรับปรุงแผนผลิตภัณฑ์ 

-    ทักษะทางในการขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ๆ 

-    ทักษะทางในการค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น 

-    ทักษะทางในการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไป 

-    ทักษะการจัดการ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทสังคม 

-    ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการตันแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน/กระบวนการในการทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของผลิตภัณฑ์ 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        -    ผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 

        -    แฟ้มสะสมผลงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        -    ผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 

        -    แฟ้มสะสมผลงาน

        -    แบบประเมินการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

          ในการประเมินควรพิจารณาความรอบรู้ในหลายๆ มิติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต้นแบบ ทั้งด้านกายภาพของผลิตภัณฑ์ เศรษฐศาสตร์ สังคม โดยต้องแสดงออกซึ่งผลของการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ

(ง)    วิธีการประเมิน

       -    การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์

       -    การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

         ผลิต พัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขต้นแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรม

(ก)    คำแนะนำ 

         -    ควรมีความเข้าใจผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ รวมถึง บริบทสังคม และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

         ต้นแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรม  เป็นการนำความรู้และผลการวิจัยที่ได้จากการสำรวจ สังเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเริ่มจากการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การกำหนดวิธีที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และทรัพยากรที่ต้องการเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งในด้านกำลังคน งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ และระยะเวลา เมื่อได้ผลิตภัณฑ์แล้วจึงทำการกลั่นกรองทางความคิดและรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรม  ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ของการใช้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ช่วยในการตรวจสอบแนวความคิด ว่าสิ่งที่ถูกออกแบบมานั้นถูกต้องตามที่คิดไว้หรือไม่ ทั้งเรื่องรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ วัสดุที่ใช้ในการผลิต กระบวนการในการผลิต ระบบหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นจึงดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะหรือรูปแบบตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรมที่จะพัฒนามีลักษณะอย่างไร หรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรม มีอะไรบ้างจะขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรม นั้นๆ ในขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้จะต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรมแต่ละชนิด (วาโร  เพ็งสวัสดิ์, 2552)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



ยินดีต้อนรับ