หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-XOTW-372B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือด้านการวิจัย    โดยวิเคราะห์องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์หรือบริการต้นแบบ และดำเนินการตามขั้นตอน/กระบวนการทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของผลิตภัณฑ์หรือบริการวิเคราะห์ผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการประเมินผลการวิเคราะห์ผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ อีกทั้งสามารถพัฒนาปรับปรุงและต่อยอดผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยนำผลการวิเคราะห์ต้นแบบผลิตภัณฑ์มาใช้ในการวางแผนการพัฒนาและปรับปรุง วิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงกับแผนผลิตภัณฑ์ (ทั้งด้านกายภาพและด้านเศรษฐศาสตร์) พัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์และการบริการ และนำผลการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์และการบริการไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555) -    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 -    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 -    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558-    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง  การปองกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 -    กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางานเกี่ยวกับความรอน  แสงสวาง  และเสียง พ.ศ. 2549 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ

-    ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ

-    ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทของสังคม ตลาด ความต้องการ แนวโน้มต่างๆ

-    ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล 

-    ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

-    ทักษะการวิเคราะห์ การประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง

-    ทักษะการถ่ายทอด การกำกับดูแล 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ความรู้เกี่ยวกับผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทสังคม 

-    ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการตันแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน/กระบวนการในการทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของผลิตภัณฑ์ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทสังคม 

-    ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการตันแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน/กระบวนการในการทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของผลิตภัณฑ์ 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         -    ผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 

         -    แฟ้มสะสมผลงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

         -    ผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 

         -    แฟ้มสะสมผลงาน                        

         -    แบบประเมินการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

         ในการประเมินควรพิจารณาความรอบรู้ในหลายๆ มิติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต้นแบบ ทั้งด้านกายภาพของผลิตภัณฑ์ เศรษฐศาสตร์ สังคม โดยต้องแสดงออกซึ่งผลของการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ

(ง)    วิธีการประเมิน

       -    การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์

       -    การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือด้านการวิจัย พัฒนาปรับปรุงและต่อยอดผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ

(ก)    คำแนะนำ 

       -    ควรมีความเข้าใจผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ รวมถึง บริบทสังคม และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการ

       -    สามารถทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการต้นแบบที่ได้จากการวิจัยหรือต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ และบริการเดิม

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

       การทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการจะดำเนินการเมื่อสร้างผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วจะต้องนำไปตรวจสอบความเหมาะสม และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ถ้าหากผลการตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพยังไม่เป็นที่พึงพอใจ หรือมีบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์จะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขจนกระทั่งผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ (วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2552)                 

        -    การทดลองกับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก 

เป็นการทดลองเบื้องต้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม ผลประเมินเชิงคุณภาพเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ในโรงเรียน 1 - 3 แห่ง เด็กนักเรียน 6 - 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสังเกต สัมภาษณ์ สอบถาม แล้วนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ

       -    การทดลองกับกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ 

เป็นการนำผลิตภัณฑ์ไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายที่มีขนาดใหญ่ หรือเรียกว่ากลุ่มนำร่อง (Pilot Group) ตัวอย่างเช่น การนำไปใช้ในโรงเรียน 5 - 15 แห่ง  มีจำนวนนักเรียน 30 - 100 คน โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ นำผลที่ประเมินเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ หรือกลุ่มควบคุมที่เหมาะสม วัตถุประสงค์หลักของการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มขนาดใหญ่เพื่อต้องการที่จะบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการที่พัฒนาขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหรือไม่ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการดำเนินการ ของขั้นตอนนี้จะใช้การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design) แล้วนำผลการวิจัยมาแก้ไขปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ

        -    การทดลองความพร้อมนำไปใช้ 

        หลังจากปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการจนมีความมั่นใจในด้านคุณภาพ ผู้วิจัยจึงนำรูปแบบไปทดลองใช้เพื่อตรวจสอบความพร้อมสู่การปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น การนำไปใช้ในโรงเรียน 10 - 30 แห่ง นักเรียน 40 - 200 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกต เพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีความพร้อมที่จะนำไปใช้ในโรงเรียนได้หรือไม่เพียงใด แล้วนำสารสนเทศที่ได้จากขั้นตอนนี้มาแก้ไขปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เช่น คู่มือในการใช้ผลิตภัณฑ์มีความชัดเจนหรือไม่ เป็นต้น การดำเนินการในขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลการใช้ผลิตภัณฑ์ในภาพรวมทั้งหมด ซึ่งจะประเมินทั้งตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการใช้ผลิตภัณฑ์ ผลที่ได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เป็นต้น ผลที่ได้จากการประเมินจะนำไปสู่การตัดสินใจปรับปรุงผลิตภัณฑ์นั้นๆ หากพิจารณาแล้วพบว่าไม่คุ้มค่าหรือเสี่ยงอันตรายก็จะยุติการใช้ผลิตภัณฑ์นั้น แต่ถ้าหากผลการประเมินพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ก็จะนำไปสู่การดำเนินการขั้นต่อไปคือการจดลิขสิทธิ์ การเผยแพร่ และการประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



ยินดีต้อนรับ