หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-JEOP-371B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้นแบบ โดยเข้าใจผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้นแบบ หรือกระบวนการ และเข้าใจบริบทสังคมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย/ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้นแบบ หรือกระบวนการ อีกทั้งสามารถพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย    โดยเข้าใจแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้นแบบ วิเคราะห์การนำไปใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้นแบบ  ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้นแบบ และพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักการตลาด นักบริหารทั่วไป

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555) -    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 -    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 -    พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ

-    ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ

-    ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทของสังคม ตลาด ความต้องการ แนวโน้มต่างๆ

-    ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล 

-    ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

-    ทักษะการวิเคราะห์ การประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง

-    ทักษะการถ่ายทอด การกำกับดูแล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะทางกายภาพ สามารถมองเห็นประโยชน์จากงานวิจัยผลิตภัณฑ์หรือบริการต้นแบบ

-    ทักษะในการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ 

-    ทักษะในการวิเคราะห์การนำไปใช้ประโยชน์ของงานวิจัยผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้นแบบ 

-    ทักษะในการประเมินผลการวิเคราะห์ของต้นแบบผลิตภัณฑ์

-    ทักษะในการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือทักษะในการปรับปรุงแผนผลิตภัณฑ์ 

-    ทักษะในการคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า 

-    ทักษะการจัดการ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทสังคม 

-    ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์ หรือการบริการตันแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน/กระบวนการ ในการทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของผลิตภัณฑ์ 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        -    ผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 

        -    แฟ้มสะสมผลงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

       -    ผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 

       -    แฟ้มสะสมผลงาน

       -    แบบประเมินการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

        ในการประเมินควรพิจารณาความรอบรู้ในหลายๆ มิติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต้นแบบ ทั้งด้านกายภาพของผลิตภัณฑ์ เศรษฐศาสตร์ สังคม โดยต้องแสดงออกซึ่งผลของการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ

(ง)    วิธีการประเมิน

       -    การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์

       -    การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

         การปฏิบัติเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรมขึ้นเป็นแบบฉบับให้ดีกว่าเดิม รวมทั้งให้เข้ากับบริบทสังคม และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

(ก)    คำแนะนำ 

        -    ควรมีความเข้าใจผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ รวมถึง บริบทสังคม และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการ

        -    สามารถผลิตผลิตภัณฑ์และบริการต้นแบบที่ได้จากการวิจัยหรือการต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ และบริการเดิม

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

        N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



ยินดีต้อนรับ