หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-OULH-375B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเลือกรูปแบบการสื่อสาร โดยศึกษารูปแบบสื่อสารที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือ กระบวนการ จัดลำดับความสำคัญและผลกระทบ รวมถึงโอกาส ที่จะเกิดจากการสื่อสารหลากหลายวิธี และเลือกรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม อีกทั้งสามารถถ่ายทอดนวัตกรรม  โดยทำการถ่ายทอดนวัตกรรมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ และติดตามประเมินผลการถ่ายทอดนวัตกรรมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการวิจัย ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทของสังคม ตลาด ความต้องการ แนวโน้มต่างๆ

-    ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล 

-    ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

-    ทักษะการสื่อสาร

-    ทักษะการถ่ายทอด การกำกับดูแล 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะทางในการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ 

-    ทักษะทางในการมองเห็นประโยชน์จากงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือบริการต้นแบบ 

-    ทักษะทางในการวิเคราะห์การนำไปใช้ประโยชน์ของงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ทักษะทางในการประเมินผลการวิเคราะห์ผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์ 

-    ทักษะทางในการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือการปรับปรุงแผนผลิตภัณฑ์ 

-    ทักษะทางในการขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน 

-    ทักษะทางในการค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น 

-    ทักษะทางในการคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไป 

-    ทักษะการจัดการ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทสังคม 

-    ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการตันแบบ 

-    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน/กระบวนการในการทดสอบหรือวิเคราะห์ผลของผลิตภัณฑ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการต้นแบบที่ได้จากการวิจัย หรือ การต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ และบริการเดิม

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        มีความเข้าใจผลผลิตและผลลัพธ์ของการวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการต้นแบบ รวมถึง บริบทสังคม และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

        ในการประเมินควรพิจารณาความรอบรู้ในหลายๆ มิติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต้นแบบ ทั้งด้านกายภาพของผลิตภัณฑ์ เศรษฐศาสตร์ สังคม โดยต้องแสดงออกซึ่งผลของการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ

(ง)    วิธีการประเมิน

       -    การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์

       -    การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

        หน่วยสมรรถนะพิจารณารูปแบบ วิธีการถ่ายทอดนวัตกรรม คือ การตรวจตราดูให้ละเอียดอย่างถี่ถ้วนสำหรับแนวทางหรือมาตรฐานที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือ กระบวนการ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบของการบอกต่อ หรือเผยแพร่ถ้อยคำข้อความ หนังสือ หรือวิธีการอื่นๆที่เหมาะสม ของนวัตกรรม อันได้แก่ สิ่งที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งอาจเป็นเทคโนโลยี ความคิด หรือผลิตภัณฑ์ ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ

(ก)    คำแนะนำ 

        -    ผู้เข้ารับการประเมินถ่ายทอดนวัตกรรมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยเลือกรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม

        -    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถติดตามประเมินผลการถ่ายทอดนวัตกรรมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

        N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



ยินดีต้อนรับ