หน่วยสมรรถนะ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ILS-IIOW-370B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | N/A |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08) |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถสืบค้นข้อมูล โดยกำหนดคำหลัก (Key Words) หรือประเด็นหลัก (Key Issues) ในการสืบค้นได้ สืบค้นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการสืบค้นได้ ใช้คำ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย ในการสืบค้นได้ และเข้าถึงฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการสืบค้นได้อีกทั้งสามารถประเมิน/กลั่นกรองข้อมูล โดยกลั่นกรองแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการศึกษาได้ และระบุแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องในการนำไปสู่การกำหนดโครงสร้างของการทบทวนวรรณกรรมได้ นอกจากนี้ยังสามารถเรียบเรียงข้อมูล โดยจำแนกข้อมูลที่ตรงตามสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ นำข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ มาเรียบเรียง วิเคราะห์และสังเคราะห์ได้อย่างมีตรรกะ สละสลวย และเข้าใจง่ายและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - ทักษะในการกำหนดคำหลักหรือประเด็นหลักในการสืบค้น (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดคำหลักหรือประเด็นหลักในการสืบค้น |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรม คือ การสืบค้นข้อมูล การประเมิน/กลั่นกรองข้อมูล การเรียบเรียงข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้ได้ ความคิดที่เป็นแนวที่จะดำเนินงานวิจัยต่อไป และได้หลักการทางวิชาการที่ได้ข้อสรุปมาจากการวิจัย เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ 1) การกลั่นกรองข้อมูลจากการสังเคราะห์และประเมินข้อมูล 2) การกำหนดแนวคิดหลักและการโต้แย้งหลักของแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) การกำหนดโครงสร้างและจัดระบบแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4) การเขียนงานแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5) การเขียนบรรณานุกรม |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
ประเมินโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน |