หน่วยสมรรถนะ
เผยแพร่ผลงานเป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ การจัดประชุมเผยแพร่ผลงานวิจัย หรือการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ILS-HGSR-366B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | เผยแพร่ผลงานเป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ การจัดประชุมเผยแพร่ผลงานวิจัย หรือการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08) |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล โดยกำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ วางโครงร่าง (Outline) รายงานการวิจัยหรือเขียนบทความวิชาการฉบับร่าง ตรวจทานรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับร่าง เพื่อปรับปรุงและแก้ไข และจัดพิมพ์รายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการตามรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล และนำส่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ อีกทั้งยังสามารถจัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ โดยค้นหาเวทีการประชุมวิชาการที่จะนำเสนอผลงานวิจัยให้สอดคล้องกับเรื่องที่ทำวิจัย ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ สมัครลงทะเบียนเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย ออกแบบและผลิตสื่อที่ใช้ประกอบการนำเสนอ และเตรียมตัวนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมวิชาการ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
0130101 เขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล | 1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ | 0130101.01 | 225988 |
0130101 เขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล | 2. วางโครงร่าง (Outline) รายงานการวิจัยหรือเขียนบทความวิชาการฉบับร่าง | 0130101.02 | 225989 |
0130101 เขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล | 3. ตรวจทานรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับร่าง เพื่อปรับปรุงและแก้ไข | 0130101.03 | 225990 |
0130101 เขียนรายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล | 4. จัดพิมพ์รายงานการวิจัยหรือบทความวิชาการตามรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล และนำส่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ | 0130101.04 | 225991 |
0130102 จัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ | 1. ค้นหาเวทีการประชุมวิชาการที่จะนำเสนอผลงานวิจัยให้สอดคล้องกับเรื่องที่ทำวิจัย ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ | 0130102.01 | 225992 |
0130102 จัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ | 2. สมัครลงทะเบียนเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย | 0130102.02 | 225993 |
0130102 จัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ | 3. ออกแบบและผลิตสื่อที่ใช้ประกอบการนำเสนอ | 0130102.03 | 225994 |
0130102 จัดประชุมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ | 4. เตรียมตัวนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมวิชาการ | 0130102.04 | 225995 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - ทักษะในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การจัดทำผลงานวิจัยในรูปแบบรายงานการวิจัย บทความวิชาการ การจัดประชุม เผยแพร่ผลงานวิจัย หรือการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ ซึ่งบทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการประเภทเดียวกับรายงานการวิจัย (Research Report) ที่มีสาระและรูปแบบการนำเสนอคล้ายคลึงกัน แต่มีลักษณะต่างกันที่สำคัญ 3 ประการ ประการแรก คือ บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่นักวิจัยเขียนขึ้นในรูปบทความวิชาการ (Academic Article) เพื่อนำเสนอข้อค้นพบเชิงประจักษ์และ/หรือ นวัตกรรมที่เป็นผลงานการศึกษาค้นคว้าวิจัยของตน ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร รวมทั้งการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ เนื่องจากวารสารมีจำนวนหน้าจำกัด และการประชุมทางวิชาการมีเวลาจำกัด บทความวิจัยจึงมีความยาวจำกัด มีจำนวนหน้าน้อยกว่ารายงานการวิจัยโดยทั่วไป ประการที่สอง คือ บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัย เพราะในระหว่างการดำเนินการวิจัย นักวิจัยอาจตัดตอนผลจากการวิจัยนำร่อง หรือผลงานวิจัยบางส่วน นำเสนอเป็นบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่หรือตรวจสอบความคิดได้ อันจะมีส่วนช่วยทำให้นักวิจัยได้แนวทางไปปรับปรุงโครงการวิจัยให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น บทความวิจัยจึงอาจเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยที่นักวิจัยนำเสนอก่อนรายงานการวิจัย และเป็นสารสนเทศที่ทันเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัยที่มีการเผยแพร่เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัย และประการที่สาม คือ บทความวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ตามมาตรฐานสากลส่วนใหญ่มีคุณภาพสูงกว่ารายงานการวิจัยโดยทั่วไป เพราะการพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการ หรือการเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการนั้น ต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาสาระและรูปแบบให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสาร หรือคณะกรรมการจัดการประชุม |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
ประเมินโดยแฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน |