หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดโจทย์วิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎีเชิงวิชาการ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-ENBG-361B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดโจทย์วิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎีเชิงวิชาการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)         



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถทบทวนแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัยได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับโจทย์วิจัย รวมทั้งเรียบเรียงและเขียนที่มาและความสำคัญของงานวิจัยได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0110101

ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ วิจัย

1. ค้นคว้า และศึกษาข้อมูลสำหรับโจทย์วิจัย

0110101.01 218458
0110101

ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ วิจัย

2. ทบทวนแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัย

0110101.02 218459
0110101

ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ วิจัย

3. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทบทวนเพื่อตัดสินใจกำหนดโจทย์งานวิจัย

0110101.03 218460
0110102

เขียนหัวข้อวิจัย และที่มาความสำคัญของโจทย์วิจัย

1. เขียนหัวข้อวิจัยและระบุที่มาความสำคัญของงานวิจัยได้

0110102.01 218461
0110102

เขียนหัวข้อวิจัย และที่มาความสำคัญของโจทย์วิจัย

2. เลือกใช้คำที่เหมาะสมกับการเขียนโจทย์วิจัย และครอบคลุมกับสิ่งที่นักวิจัยต้องการจะดำเนินการวิจัย

0110102.02 218462

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย 

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ

-    ความรู้เกี่ยวกับบริบทด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ทักษะการคิดเชิงสังเคราะห์

-    ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการสรุปผลการวิจัย

-    ทักษะในการค้นคว้าข้อมูล

-    ทักษะในการทบทวนงานวิจัย

-    ทักษะในการเขียน

-    ทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการเขียน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลการวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการค้นคว้าข้อมูล

-    ความรู้เกี่ยวกับการทบทวนงานวิจัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการเขียน

-    ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อการเขียน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         -    เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ

         -    แฟ้มสะสมผลงาน

         -    รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

         -    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ

         -    ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

         เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

         -    การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์

         -    การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

         ขอบเขตการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น สมรรถนะย่อยแรกกล่าวถึงการทบทวนแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกียวข้องกับโจทย์วิจัย โดยค้นคว้าและศึกษาข้อมูลสำหรับโจทย์วิจัย เพื่อทบทวนแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัย และวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทบทวนเพื่อตัดสินใจกำหนดโจทย์งานวิจัย สมรรถนะย่อยถัดมากล่าวถึงการเขียนหัวข้อวิจัยและที่มาและความสำคัญของโจทย์วิจัย โดยเลือกใช้คำที่เหมาะสมกับการเขียนหัวข้อวิจัยและครอบคลุมกับสิ่งที่นักวิจัยต้องการดำเนินการวิจัย

(ก)    คำแนะนำ 

         -    ผู้เข้ารับการประเมินทบทวนแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัย

         -    ผู้เข้ารับการประเมินเขียนโจทย์วิจัยให้ชัดเจน และเข้าใจง่าย

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

         การกำหนดโจทย์วิจัยในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ เป็นการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น  สิ่งที่ก่อให้เกิดข้อสงสัยใคร่รู้ เป็นประเด็นที่สงสัย ต้องการหาคำตอบ และเป็นข้อสงสัยที่ต้องใช้หลักวิชาการ มีทฤษฎีรองรับในการหาคำตอบ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินโดยใช้การสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



ยินดีต้อนรับ