หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการศึกษาวิจัย

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-QFRO-353B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการศึกษาวิจัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเรียบเรียงผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเรียบเรียงผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย และเรียบเรียงผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ให้อยู่ในรูปแบบที่ได้มาตรฐานสากล อีกทั้งยังสามารถนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล    โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย กำหนดรูปแบบในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะที่เข้าใจได้ง่ายตามลักษณะของข้อมูลนั้นๆ และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0030101

เรียบเรียงผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. เรียบเรียงผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย

0030101.01 218393
0030101

เรียบเรียงผลการวิเคราะห์ข้อมูล

2. เรียบเรียงผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ให้อยู่ในรูปแบบที่ได้มาตรฐานสากล

0030101.02 218394
0030102

นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

0030102.01 218395
0030102

นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

2. กำหนดรูปแบบในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะที่เข้าใจได้ง่ายตามลักษณะของข้อมูลนั้นๆ

0030102.02 218396
0030102

นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

3. นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

0030102.03 218397

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูล 

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ

-    ทักษะการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่องานวิจัย 

-    ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 

-    ทักษะในการสรุปและอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูล

-    ทักษะในการเรียบเรียงข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์

-    ทักษะในการปรับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม

-    ทักษะในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับของวัตถุประสงค์การวิจัย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 

-    ความรู้ในการสรุปและอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูล

-    ความรู้ในการเรียบเรียงข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์

-    ความรู้ในการปรับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม

-    ความรู้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับของวัตถุประสงค์การวิจัย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         -    แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

         -    เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ

         -    แฟ้มสะสมผลงาน

         -    รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

         -    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ

         -    ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

         เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

         -    การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก (สำหรับอาชีพนักวิจัยและอาชีพนักบริหารโครงการวิจัย ใช้แฟ้มสะสมผลงาน)

         -    การประเมินความรู้และการประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์

         -    การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

       การรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการเรียบเรียงผลการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นระบบ และอยู่ในรูปแบบที่ได้มาตรฐานสากล ในรูปแบบการนำเสนอแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับข้อมูลนั้นๆ 

(ก)    คำแนะนำ 

       -    ผู้เข้ารับการประเมินเรียบเรียงผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง และตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

       -    ผู้เข้ารับการประเมินนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เรียบเรียงแล้ว เพื่อเตรียมนำเสนอตามรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม

       -    ผู้เข้ารับการประเมินรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ในภาพรวม ที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และถูกต้อง

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

           การรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เป็นลักษณะของการบรรยายเป็นข้อความ ตารางนำเสนอข้อมูล ตารางนำเสนอประกอบการบรรยาย หรือแผนภาพ เพื่อใช้แสดงคำตอบของปัญหาการวิจัยตามลำดับที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานการวิจัย ที่จะมีการบรรยายในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ในภาพรวม ก่อนที่จะนำเสนอผลการวิเคราะห์ในแต่ละส่วนย่อยๆ ที่มีรายละเอียดชัดเจนด้วยการดำเนินการต่างๆ คือ อ่านค่าสถิติที่ได้จากการวิเคราะห์ โดยการบรรยายให้รายละเอียดข้อมูลจากค่าสถิติที่ได้อย่างชัดเจนและครบถ้วน

ให้ความหมายค่าสถิติที่ได้ สรุปผลการทดสอบสมมุติฐานว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกับสมมุติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ สรุปอ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสู่ประชากร สรุปความหมายของผลการวิเคราะห์โดยใช้สมมุติฐานการวิจัยเป็นแนวทางเพื่อให้ผลการวิจัยสามารถใช้ตอบคำถามการวิจัยได้ และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามการวิจัยแต่ละตอนว่ามีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกันอย่างไร รวมทั้งให้การอธิบายความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามพื้นฐานข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติแต่ละประเภท

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินโดยใช้การทดสอบแบบข้อเขียนและแฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



ยินดีต้อนรับ