หน่วยสมรรถนะ
เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ILS-BEEV-351B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08) |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ โดยกำหนดวิธีการ ประสานงาน ประเมินปัญหาและอุปสรรค และกำหนดแผนการรับมือกับปัญหาและอุปสรรค สามารถดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ โดยเก็บรวบรวมและจัดการข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในภาคสนามได้ โดยตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนและความถูกต้องของข้อมูลได้ บันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย และเก็บรักษาข้อมูลได้อย่างเหมาะสม |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
0020201 วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล |
1. กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ |
0020201.01 | 218377 |
0020201 วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล |
2. วางแผน/ประสานงานในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ |
0020201.02 | 218378 |
0020201 วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล |
3. ประเมินปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลได้ |
0020201.03 | 218379 |
0020201 วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล |
4. กำหนดแผนการรับมือกับปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้ |
0020201.04 | 218380 |
0020202 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล |
1. เก็บและจัดการข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ผลให้ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย |
0020202.01 | 218381 |
0020202 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล |
2. ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้ |
0020202.02 | 218382 |
0020202 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล |
3. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึง จัดการ และเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
0020202.03 | 218383 |
0020203 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในภาคสนาม |
1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนและความถูกต้องของข้อมูลได้ |
0020203.01 | 218384 |
0020203 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในภาคสนาม |
2. บันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย |
0020203.02 | 218385 |
0020203 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในภาคสนาม |
3. เก็บรักษาข้อมูลได้อย่างเหมาะสม |
0020203.03 | 218386 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - ทักษะในการกำหนดวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่จะได้ข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิและปฐมภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลจัดเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดำเนินการวิจัยที่มีความสำคัญและสามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของงานวิจัย ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับเทคนิควิธีและขั้นตอนต่างๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบจะทำให้ผู้วิจัยสามารถได้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังศึกษาหรือสภาพที่กำลังศึกษา |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
ประเมินโดยใช้การทดสอบแบบข้อเขียน แฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์ หรือ ใช้การประเมินแบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน |