หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประดิษฐ์ ดัดแปลง แก้ไข ตกแต่ง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-ETOL-429A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประดิษฐ์ ดัดแปลง แก้ไข ตกแต่ง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างกายอุปกรณ์, ISCO 3214 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านอุปกรณ์การแพทย์เทียม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการรับคำสั่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้วินิจฉัยสั่งการรักษาหรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์ตามความเหมาะสมทางกายภาพ ลักษณะทางพยาธิสภาพ และสภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อการวางแผน กำหนดขั้นตอน และปฏิบัติงานตามขั้นตอน ในการประดิษฐ์ ดัดแปลง แก้ไข กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน สามารถอธิบายวิธีการใช้งานและวิธีบำรุงรักษากายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนแก่คนพิการ ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้สั่งการรักษา และ/หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์ อาชีพช่างกายอุปกรณ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
203PO08.1

วางแผนให้บริการ กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

1.1 วางแผนเลือกวิธีการประดิษฐ์ หรือดัดแปลงกายอุปกรณ์เสริมตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้วินิจฉัยสั่งการรักษาหรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์

203PO08.1.01 218091
203PO08.1

วางแผนให้บริการ กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

1.2 เตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้พร้อมใช้งาน เพื่อประดิษฐ์ หรือดัดแปลงกายอุปกรณ์เสริม

203PO08.1.02 218092
203PO08.2

ประดิษฐ์ กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

2.1 สร้างแบบแม่พิมพ์ และสร้างหุ่น Positive Model 

203PO08.2.01 218093
203PO08.2

ประดิษฐ์ กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

2.2 สร้างชิ้นส่วนกายอุปกรณ์เสริมจากหุ่น Positive Model 

203PO08.2.02 218094
203PO08.2

ประดิษฐ์ กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

2.3 ประกอบชิ้นส่วนกายอุปกรณ์เสริมให้ครบถ้วน

203PO08.2.03 218095
203PO08.3

ดัดแปลง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

3.1 เลือกกายอุปกรณ์เสริมตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้วินิจฉัยสั่งการรักษา

203PO08.3.01 218096
203PO08.3

ดัดแปลง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

3.2 ดัดแปลงกายอุปกรณ์เสริมให้เหมาะสมตามพยาธิสภาพ

203PO08.3.02 218097
203PO08.4

ทดสอบ แก้ไข ปรับแต่ง และส่งมอบผลงานกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

4.1 ทดสอบกายอุปกรณ์เสริมแล้ว ตรวจสอบการใช้งาน แก้ไขภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์ ผู้สั่งการรักษา

203PO08.4.01 218098
203PO08.4

ทดสอบ แก้ไข ปรับแต่ง และส่งมอบผลงานกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

4.2 ปรับแต่งกายอุปกรณ์เสริมให้เหมาะสมกับคนไข้ร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์

203PO08.4.02 218099
203PO08.4

ทดสอบ แก้ไข ปรับแต่ง และส่งมอบผลงานกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

4.3 ส่งมอบกายอุปกรณ์เสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์ ผู้สั่งการ

203PO08.4.03 218100

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถกำหนดขั้นตอน วางแผนการประดิษฐ์ ตกแต่ง ดัดแปลง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

2.    สามารถเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้ตามลักษณะงาน ในงานประดิษฐ์ ตกแต่ง ดัดแปลง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน 

3.    สามารถเลือกใช้วัสดุ ในงานประดิษฐ์ ตกแต่ง ดัดแปลง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนได้ตามหลักวิชาการ

4.    สามารถถอดรูปสร้างแม่แบบจากส่วนของร่างกายที่เกี่ยวข้องได้ได้ตามหลักวิชาการ

5.    สามารถสร้างและตกแต่งหุ่น ส่วนของร่างกายที่เกี่ยวข้องจากแม่แบบให้เข้ากับผู้ป่วยตามหลักวิชาการ

6.    สามารถสร้างชิ้นส่วนกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนจากหุ่นได้ตามหลักวิชาการ

7.    สามารถประกอบและจัดแนวกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนได้ตามหลักวิชาการ

8.    สามารถปรับแก้หรือดัดแปลงกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนให้เข้ากับผู้ป่วยตามหลักวิชาการ

9.    ทักษะด้านการสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อการทำงาน

10.    ทักษะด้านความเป็นผู้นำและการนำเสนอผลงาน

11.    ทักษะด้านการจัดการเพื่อผลสำเร็จของหน่วยงาน

12.    ทักษะด้านดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

13.    ทักษะด้านความรับผิดชอบในหน้าที่และจริยธรรมในการปฏิบัติงานอาชีพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านชิ้นส่วน องค์ประกอบของกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน 

2.    ความรู้ด้านขั้นตอนการประดิษฐ์กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

3.    ความรู้ด้านกายวิภาค และชีวกลศาสตร์ประยุกต์

4.    ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องมือกล วัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ ตกแต่ง ดัดแปลงกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

5.    ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้ผลที่ได้จากการวัดขนาด-มิติของผู้ป่วย

6.    ความรู้ด้านการสร้างแม่แบบ Negative Model และสร้างหุ่น Positive model จากแม่แบบและตกแต่งหุ่น 

7.    ความรู้ด้านทฤษฎีการสร้างชิ้นงานกายอุปกรณ์เสริมแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับคนไข้ ในกรณีประดิษฐ์กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

8.    ความรู้ด้านทฤษฎีการดัดแปลงชิ้นงานกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน แต่ละชนิดให้เหมาะกับคนไข้ ในเป็นกรณีดัดแปลงกายอุปกรณ์เสริมสำเร็จรูป

9.    ความรู้เรื่องการประกอบชิ้นส่วนกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน 

10.    ความรู้ด้านการทดสอบกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

11.    ความรู้ด้านการวิเคราะห์การใช้งาน และการปรับแก้ให้เหมาะสมเข้ากับผู้ป่วยตามหลักวิชาการ  

12.    ความรู้ด้านการตกแต่งกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน ให้เหมาะสมเข้ากับผู้ป่วยตามหลักวิชาการ

13.    ความรู้เรื่องวิธีใช้งานและบำรุงรักษากายอุปกรณ์เสริมตามหลักวิชาการ  

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    แสดงผลงานที่เป็นชิ้นงานกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

      2.    แสดงการเขียนหรืออธิบายแผนกำหนดขั้นตอน การประดิษฐ์ ตกแต่ง ดัดแปลง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

      3.    แสดงการระบุหรือระบุการเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้ตามลักษณะงาน ในงานประดิษฐ์ ตกแต่ง ดัดแปลง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน 

      4.    แสดงการเลือกใช้วัสดุ ในงานประดิษฐ์ ตกแต่ง ดัดแปลง กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนได้ตามหลักวิชาการ

      5.    แสดงการถอดรูปสร้างแม่แบบจากส่วนของร่างกายที่เกี่ยวข้องได้ได้ตามหลักวิชาการ

      6.    แสดงการสร้างและตกแต่งหุ่น ส่วนของร่างกายที่เกี่ยวข้องจากแม่แบบให้เข้ากับผู้ป่วยตามหลักวิชาการ

      7.    แสดงการสร้างชิ้นส่วนกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนจากหุ่นได้ตามหลักวิชาการ

      8.    แสดงการประกอบและจัดแนวกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนได้ตามหลักวิชาการ

      9.    แสดงการปรับแก้หรือดัดแปลงกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนให้เข้ากับผู้ป่วยตามหลักวิชาการ

      10.    ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

      11.    แฟ้มสะสมผลงาน ที่เป็นเอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    ระบุหรืออธิบายชนิด ประเภท และหน้าที่ของชิ้นส่วน องค์ประกอบของกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน 

      2.    ระบุหรืออธิบายขั้นตอนการประดิษฐ์กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนถูกต้องตามหลักวิชาการ

      3.    อธิบายหลักกายวิภาค และชีวกลศาสตร์ประยุกต์ สำหรับงานกายอุปกรณ์

      4.    ระบุหรืออธิบายชนิด ประเภท และหลักการใช้การเครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องมือกล วัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ ตกแต่ง ดัดแปลงกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

      5.    อธิบายหลักการประยุกต์ใช้ผลที่ได้จากการวัดขนาด-มิติของผู้ป่วย

      6.    อธิบายขั้นตอนการสร้างแม่แบบ Negative Model และสร้างหุ่น Positive model จากแม่แบบและตกแต่งหุ่น ตามหลักวิชาการ

      7.    อธิบายทฤษฎีการสร้างชิ้นงานกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับคนไข้ ในกรณีประดิษฐ์กายอุปกรณ์เสริม

      8.    อธิบายทฤษฎีการดัดแปลงชิ้นงานกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนแต่ละชนิดให้เหมาะกับคนไข้ ในเป็นกรณีดัดแปลงกายอุปกรณ์เสริมสำเร็จรูป

      9.    อธิบายหรือกำหนดขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วนกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน

      10.    อธิบายหลักการหรือวิธีการทดสอบกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน 

      11.    อธิบายหลักการหรือทฤษฎีการวิเคราะห์การใช้งาน และการปรับแก้กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับ  ซ้อนให้เหมาะสมเข้ากับผู้ป่วยตามหลักวิชาการ  

      12.    อธิบายหลักการหรือวิธีการตกแต่งกายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนให้เหมาะสมเข้ากับผู้ป่วยตามหลักวิชาการ

      13.    อธิบายวิธีใช้งานและบำรุงรักษากายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อนตามหลักวิชาการ

      14.    วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกายอุปกรณ์

      15.    ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบ ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ ที่ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 

วิธีการประเมิน

      1)    แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน 

      2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

      การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะย่อยการผลิต ดัดแปลง แก้ไขกายอุปกรณ์เสริม โดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกันได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกตการปฏิบัติงาน การสอบข้อเขียน และการแสดงแฟ้มสะสมผลงาน

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1. กายอุปกรณ์เสริมที่มีความซับซ้อน หมายถึง

        (ก)    กายอุปกรณ์เสริมสำหรับกระดูกสันหลังที่ใช้ในกระดูกสันหลังระดับคอ (ยกเว้นปลอกคอ collar)

        (ข)    กายอุปกรณ์เสริมสำหรับคนไข้โรคกระดูกสันหลังคด

        (ค)    กายอุปกรณ์เสริมที่มีข้อสะโพกเป็นองค์ประกอบ  

        (ง)    กายอุปกรณ์เสริมที่มีข้อเข่าเป็นองค์ประกอบ 

        (จ)    กายอุปกรณ์เสริมสำหรับความพิการแต่กำเนิด 

        (ฉ)    กายอุปกรณ์เสริมสำหรับแขนและมือแบบไดนามิก 

        (ช)    กายอุปกรณ์เสริมที่ใช้พลังงานจากแหล่งจ่ายไฟภายนอก (externally powered prosthesis) หรือมีแผงวงจรควบคุม ซึ่งโดยปกติแล้ว ช่างกายอุปกรณ์ไม่ได้เป็นผู้ผลิต 

      2.  เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตกายอุปกรณ์เสริม เครื่องมือวัด เครื่องมือกลและเครื่องจักรกลที่ใช้ในการผลิตกายอุปกรณ์เสริม 

      3.    สถานประกอบการ หมายถึง โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน หรือสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการ ใช้ประกอบกิจการเป็นประจำ และให้หมายความรวมถึง สถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย 

(ค) รายการเครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องมือกล เครื่องจักรกล ที่จำเป็นต่อหน่วยสมรรถนะนี้

      1.    หุ่นตอแขนหรือตอขา

      2.    เครื่องดูดสุญญากาศพร้อมอุปกรณ์

      3.    ตู้อบให้ความร้อนหรือเตาอบวัสดุ

      4.    เครื่องมือวัด อาทิ บรรทัดเหล็ก เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ สายวัด ลูกดิ่ง

      5.    เครื่องมือกล อาทิ เลื่อยไฟฟ้า เครื่องเจาะตั้งโต๊ะ เครื่องขัดเพลาแหลม

      6.    อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

      7.    โต๊ะปฏิบัติงานกายอุปกรณ์

      8.    อุปกรณ์จัดแนว

      9.    วัสดุสำหรับทำ Positive Model และ Negative Model (สำหรับเทคนิคเฝือนปูนหรือเทคนิคแบบทราย)

      10.    วัสดุสำหรับทำชิ้นงานกายอุปกรณ์ 

      หมายเหตุ : ในการประเมินทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงาน สามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องมือกล เครื่องจักรกล อื่นเพิ่มเติมหรือทดแทนกันได้นอกเหนือจากที่กำหนด เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์การปฏิบัติงานตามหน่วยสมรรถนะนี้ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

      1)    แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน 

      2)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 



ยินดีต้อนรับ