หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-TGDC-420A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 311 ช่างเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ Active วิเคราะห์ผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device) และตัดสินผลโดยใช้ข้อมูลจากมาตรฐาน หรือเอกสารทางวิชาการ รวมถึงจัดรายงานสรุปผลการทดสอบได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
104MT08.1

ตรวจสอบผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

1.1 วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของผลการทดสอบ

104MT08.1.01 218025
104MT08.1

ตรวจสอบผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

1.2 คำนวณสถิติด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ได้

104MT08.1.02 218026
104MT08.1

ตรวจสอบผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

1.3 ตรวจสอบผลการคำนวณทดสอบด้วยหลักสถิติ

104MT08.1.03 218027
104MT08.2

นำผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังมาวิเคราะห์

2.1 ใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์ผล

104MT08.2.01 218028
104MT08.2

นำผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังมาวิเคราะห์

2.2 บ่งชี้มาตรฐาน หรือหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผลการทดสอบได้

104MT08.2.02 218029
104MT08.3

ตัดสินผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

3.1 ตัดสินและสรุปผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

104MT08.3.01 218030
104MT08.3

ตัดสินผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

3.2 จัดทำรายงานสรุปผลการทดสอบได้

104MT08.3.02 218031

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถบ่งชี้ความน่าเชื่อถือของกระบวนการทดสอบและวิธีรวบรวมผลการทดสอบ

2.    เครื่องมือแพทย์มีกำลังสามารถจัดระเบียบข้อมูลทางสถิติที่เหมาะสมและคำนวณสถิติด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

3.    สามารถตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์การคำนวณสถิติ

4.    สามารถใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์และแสดงข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม

5.    สามารถตีความผลลัพธ์และบ่งชี้มาตรฐานหรือหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผลการทดสอบได้

6.    สามารถตัดสินและสรุปผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง จากการตีความข้อมูลจากผลลัพธ์รวมถึงตาราง กราฟ และการสรุปทางสถิติ

7.    สามารถจัดทำรายงานสรุปผลการทดสอบโดยใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูล

2.    ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่องและข้อมูลต่อเนื่อง

3.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดระเบียบข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อการคำนวณทางสถิติ

4.    ความรู้เกี่ยวกับประเภทของกราฟและการแสดงผลที่เหมาะสม

5.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์หรือสเปรดชีตเพื่อคำนวณสถิติและแสดงข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม

6.    ความรู้เกี่ยวกับหลักสถิติในการตีความผลลัพธ์ ตัดสิน และสรุปผล

7.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    แบบบันทึกรายการผลจากสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังหรือ

      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังหรือ

      3.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน หรือ

      4.    แบบบันทึกรายการผลการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือ การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ     

      1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน IEC 60601-1

      2.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน IEC 60601-1-2

      3.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน CISPR 14-1

      4.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน IEC 61000

      5.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน ISO 7637 

      6.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความเข้าใจจุดประสงค์การใช้งานของเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

      7.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความด้านรู้ด้านไฟฟ้า และเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.    เครื่องมือแพทย์มีกำลัง (Active Medical Device) หมายถึง เครื่องมือแพทย์ที่ทำงานโดยอาศัยกำลังจากไฟฟ้า

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

      3.    ประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการตรวจสอบผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการนำผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังมาวิเคราะห์

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

      3.    ประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการนำผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังมาวิเคราะห์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการตัดสินผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

      3.    ประเมินจากการสัมภาษณ์ในด้านการตัดสินผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน





 



ยินดีต้อนรับ