หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

Check หน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-LKJQ-411A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ Check หน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 821 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะความสามารถในการเตรียมตรวจสอบและทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง โดยมีความรู้ในการทดสอบหน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง อีกทั้งยังสามารถสร้างเอกสารรายงานการทดสอบได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103MA05.1

ติดตั้งและจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

1.1 เลือกใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าในการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

103MA05.1.01 217955
103MA05.1

ติดตั้งและจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

1.2 ติดตั้งเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าลงบนอุปกรณ์ที่ต้องการทดสอบ

103MA05.1.02 217956
103MA05.1

ติดตั้งและจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

1.3 จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าอย่างถูกต้อง

103MA05.1.03 217957
103MA05.1

ติดตั้งและจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

1.4 จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังอย่างถูกต้อง

103MA05.1.04 217958
103MA05.2

ทดสอบหน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

2.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

103MA05.2.01 217959
103MA05.2

ทดสอบหน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

2.2 ตรวจวิธีการป้องกันอันตรายระหว่างการทดสอบ

103MA05.2.02 217960
103MA05.2

ทดสอบหน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

2.3 ตรวจความสมบูรณ์ของเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังในขณะทำงาน

103MA05.2.03 217961
103MA05.3

สร้างเอกสารรายงานผลการทดสอบ

3.1 บันทึกผลการทำงานของเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

103MA05.3.01 217962
103MA05.3

สร้างเอกสารรายงานผลการทดสอบ

3.2 สรุปการทดสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

103MA05.3.02 217963

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถอ่าน  ตีความ และปฏิบัติตามแผ่นงานประกอบ คำสั่ง และมาตรฐานกระบวนการปฏิบัติงาน

2.    สามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าในการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังที่เหมาะสม

3.    สามารถปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของสถานประกอบการ หรือขั้นตอนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

4.    สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

5.    สามารถสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

6.    สามารถใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าอย่างถูกหลักการ

7.    สามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือแผ่นงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

8.    สามารถตรวจสอบการเดินสายไฟว่ามีความเหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมที่ติดตั้งและป้องกันอย่างเหมาะสมจากความเสียหายหรือความร้อนสูงเกินไป

9.    สามารถแสดงวิธีการป้องกันและเครื่องมือแพทย์ทางไฟฟ้าได้รับการตรวจสอบตามข้อกำหนดสำหรับการป้องกันการโอเวอร์โหลดและการลัดวงจร

10.    สามารถตรวจสอบสวิตช์เกียร์และเกียร์ควบคุมว่าอยู่ในสภาพที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการด้านการใช้งาน

11.    สามารถตรวจสอบส่วนประกอบของระบบสายดินว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและมีขนาดตัวนำที่ถูกต้อง

12.    สามารถดูแลทำความสะอาดเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

13.    สามารถซ่อมแซมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าเบื้องต้น

14.    สามารถแสดงการเก็บรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าเบื้องต้น

15.    สามารถบันทึกผลการทำงานของเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังตามกระบวนการที่กำหนดไว้

16.    สามารถสรุปการทดสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังตามกระบวนการที่กำหนดไว้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับประเภทและการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

2.    ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ตามชื่อ สี ตัวบ่งชี้ขั้ว และลักษณะที่ปรากฏ

3.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดการและการจัดเตรียมชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย

4.    ความรู้เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และอันตรายในการทำงาน

5.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน

6.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ความไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน

7.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่ส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยสำหรับใช้ปฏิบัติงาน

8.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการทางไฟฟ้าและการประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรที่มีอยู่ในการพิจารณาว่าเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังที่มีอยู่เป็นไปตามและการทำงานอย่างปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่

9.    ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบภาคบังคับในการดำเนินการกับเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังที่เชื่อมต่ออยู่ทั้งหมดและวงจรที่มีอยู่เพื่อตรวจสอบว่า ความต้านทานในตัวนำของสายดินนั้นต่ำพอสมควร ความต้านทานของฉนวนสูงเพียงพอ การต่อขั้วไฟฟ้าทั้งหมดถูกต้อง และการเชื่อมต่อวงจรถูกต้อง

10.    ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบหาวงความผิดปกติของอิมพีแดนซ์ว่ามีค่าต่ำเพียงพอหรือไม่ และเครื่องมือแพทย์ทางไฟฟ้าสามารถทำงานด้วยกระแสไฟฟ้าตกค้างตามที่ได้กำหนดไว้หรือไม่

11.    ความรู้ด้านการดูแลทำความสะอาด ซ่อมแซม และเก็บรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    แบบบันทึกรายการผลจากสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการ Check หน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังหรือ

      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการ Check หน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลังหรือ

      3.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ     

      1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานขณะประกอบชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ โดยสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคลระหว่างการปฏิบัติงาน

      2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่านแบบทางไฟฟ้า และตีความได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบแสดงชิ้นส่วนประกอบ และสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า

      3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจ หน้าที่ และจุดมุ่งหมายการใช้งานของเครื่องมือแพทย์

      4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า เช่น มัลติมิเตอร์ และ ออสซิลโลสโคป

      5.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะในการตรวจสอบการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าจากเครื่องมือแพทย์

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.    เครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device) หมายถึง เครื่องมือแพทย์ที่ทำงานโดยอาศัยกำลังจากไฟฟ้า

(ค)    วัสดุและอุปกรณ์

      1.    อุปกรณ์ที่ควรมีประกอบด้วย Check Sheet สำหรับตรวจสอบการทำงาน และแบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานเครื่องมือแพทย์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการติดตั้งและจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ทางไฟฟ้า

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ทางไฟฟ้า

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการทดสอบหน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ทางไฟฟ้าตามกฎความปลอดภัยในการ

       ทำงาน

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ทางไฟฟ้า

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการสร้างเอกสารรายงานผลการทดสอบ

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ