หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

Check หน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ Non-Active

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-HFNL-410A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ Check หน้าที่การทำงานเครื่องมือแพทย์ Non-Active

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 821 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะ ความสามารถในการตรวจสอบหน้าที่การทำงานของเครื่องมือแพทย์ทางกลที่ไม่มีกำลังหรือไม่ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน โดยสามารถวาง แผนการตรวจสอบ กำหนดเกณฑ์การตรวจสอบ ดำเนินการตรวจสอบ และตัดสินผลการตรวจสอบได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103MA04.1

วางแผนการตรวจสอบ

1.1 เข้าใจหน้าที่การทำงาน

103MA04.1.01 217949
103MA04.1

วางแผนการตรวจสอบ

1.2 กำหนดแผนการตรวจสอบ

103MA04.1.02 217950
103MA04.2

ตรวจสอบความสมบูรณ์

2.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์และถูกต้องของการประกอบ

103MA04.2.01 217951
103MA04.2

ตรวจสอบความสมบูรณ์

2.2 บันทึกผลการตรวจสอบ

103MA04.2.02 217952
103MA04.3

สรุปผลการตรวจสอบ

3.1 ตัดสินความสมบูรณ์ในการทำหน้าที่

103MA04.3.01 217953
103MA04.3

สรุปผลการตรวจสอบ

3.2 กำหนดวิธีการแก้ไขในกรณีที่เกิดความไม่สมบูรณ์

103MA04.3.02 217954

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถอ่านและตีความ Work Instruction ของการประกอบ

2.    สามารถอ่านแบบทางวิศวกรรม

3.    สามารถเข้าใจหน้าที่หน้าที่การทำงาน และกลไกการเคลื่อนไหว

4.    สามารถลำดับงาน วางแผนการตรวจสอบหน้าที่หน้าที่การทำงาน และกลไกการเคลื่อนไหว

5.    สามารถกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบหน้าที่การทำงาน

6.    สามารถดำเนินการตรวจสอบหน้าที่การทำงาน

7.    สามารถเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางกลที่ใช้ในการตรวจสอบ

8.    สามารถดำเนินการบันทึกผลการตรวจสอบ

9.    สามารถตัดสินผลการตรวจสอบตามเกณฑ์การตรวจสอบ

10.    สามารถวิเคราะห์ปัญหา และบ่งชี้วิธีการแก้ไขหากเกิดความบกพร่อง

11.    สามารถจัดทำรายงานการตรวจสอบหน้าที่การทำงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนทางกล

2.    ความรู้เกี่ยวกับผังไหลสำหรับวางแผนงาน

3.    ความรู้ด้านหลักการคิดเชิงวิกฤติ

4.    ความรู้ด้าน Quality Control

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานขณะประกอบชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ โดยสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคลระหว่างการตรวจสอบงาน

      2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่านแบบทางวิศวกรรม และตีความได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบแสดงชิ้นส่วนประกอบ และ Bill of Materials

      3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจ หน้าที่ และจุดมุ่งหมายการใช้งานของเครื่องมือแพทย์

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      
1.    อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์นิรภัยที่ป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัย เชือกนิรภัย ชุดนิรภัย รองเท้านิรภัย ถุงมือ เข็มขัดพยุงหลัง ชุดป้องกันสารเคมี ฯลฯ

      2.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

(ค)    วัสดุและอุปกรณ์

      1.    อุปกรณ์ที่ควรมีประกอบด้วย Check Sheet สำหรับตรวจสอบการทำงาน และแบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานเครื่องมือแพทย์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการวางแผนการตรวจสอบ

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านเครื่องมือแพทย์ที่ไม่มีกำลัง (Non-active)

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการวางแผนการตรวจสอบ

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความสมบูรณ์

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านเครื่องมือแพทย์ที่ไม่มีกำลัง (Non-active)

      3.    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านตรวจสอบความสมบูรณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปผลการตรวจสอบ

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านเครื่องมือแพทย์ที่ไม่มีกำลัง (Non-active)

      3.    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการสรุปผลการตรวจสอบ

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ