หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบเครื่องมือแพทย์โดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-GAUD-409A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบเครื่องมือแพทย์โดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 821 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความสามารถใช้งานและเลือกใช้เครื่องมือพื้นฐานทางไฟฟ้า (Electrical Hand Tools) และอุปกรณ์ทางไฟฟ้า (Electrical Devices) ให้เหมาะสมกับงานประกอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device) โดยต้องมีความรู้ในการจำแนกประเภท สามารถจัดเตรียม ตรวจสอบ จัดเก็บ ดูแลรักษาเครื่องมือพื้นฐานทางไฟฟ้าและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า และสามารถใช้เครื่องมือพื้นฐานทางไฟฟ้าและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103MA03.1

อ่านและทำความเข้าใจแผ่นงาน เลือกและจัดเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ในการประกอบเครื่องมือแพทย์

1.1 อ่านแล้วทำความเข้าใจแผ่นงานและคำสั่งแล้วปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

103MA03.1.01 217940
103MA03.1

อ่านและทำความเข้าใจแผ่นงาน เลือกและจัดเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ในการประกอบเครื่องมือแพทย์

1.2 เลือกใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ตามคำสั่งหรือแผ่นงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานของงานประกอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device)

103MA03.1.02 217941
103MA03.1

อ่านและทำความเข้าใจแผ่นงาน เลือกและจัดเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ในการประกอบเครื่องมือแพทย์

1.3 จัดเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ให้พร้อมใช้งานได้

103MA03.1.03 217942
103MA03.2

ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า และดำเนินการ

2.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

103MA03.2.01 217943
103MA03.2

ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า และดำเนินการ

2.2 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าได้

103MA03.2.02 217944
103MA03.2

ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า และดำเนินการ

2.3 ดำเนินการใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าในการประกอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device) ได้อย่างถูกต้อง

103MA03.2.03 217945
103MA03.2

ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า และดำเนินการ

2.4 ปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือแผ่นงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

103MA03.2.04 217946
103MA03.3

จัดเก็บและดูแลรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

3.1 จัดเก็บเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

103MA03.3.01 217947
103MA03.3

จัดเก็บและดูแลรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

3.2 ดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม

103MA03.3.02 217948

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถอ่าน  ตีความ และปฏิบัติตามแผ่นงานประกอบ คำสั่ง และมาตรฐานกระบวนการปฏิบัติงาน

2.    สามารถเลือกใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่เหมาะสม

3.    สามารถเลือกชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ตามชื่อ สี ตัวบ่งชี้ขั้ว และลักษณะที่ปรากฏ

4.    สามารถจัดเตรียมชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สำหรับการบัดกรีและการนำลวดเชื่อมต่อกับอุปกรณ์โดยตรง

5.    สามารถปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของสถานประกอบการ หรือขั้นตอนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

6.    สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

7.    สามารถสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

8.    สามารถใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าอย่างถูกหลักการ

9.    สามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือแผ่นงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

10.    สามารถบัดกรีชิ้นส่วนประกอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมต่อสายเคเบิลเข้ากับปลั๊ก/ซ็อกเก็ตได้

11.    สามารถตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์หลังการประกอบ

12.    สามารถดูแลทำความสะอาดเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

13.    สามารถซ่อมแซมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าเบื้องต้น

14.    สามารถแสดงการเก็บรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าเบื้องต้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับประเภทและการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

2.    ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ตามชื่อ สี ตัวบ่งชี้ขั้ว และลักษณะที่ปรากฏ

3.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดการและการจัดเตรียมชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย

4.    ความรู้เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และอันตรายในการทำงาน

5.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน

6.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ความไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน

7.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่ส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยสำหรับใช้ปฏิบัติงาน

8.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทางไฟฟ้ากับชิ้นส่วนทางไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ การบัดกรีและการนำลวดเชื่อมต่อกับอุปกรณ์โดยตรง

9.    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดการเชื่อมต่อของปลั๊กและซ็อกเก็ตที่หลากหลาย

10.    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและเทคนิคการป้องกันไฟฟ้าสถิตย์

11.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการที่ใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเพื่อระบุขั้วไฟฟ้าและจุดเชื่อมต่อที่ใช้งานได้สำหรับการวัดหรือการทดสอบ

12.    ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลจำเพาะที่ต้องมีการตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์

13.    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์หลังการประกอบ

14.    ความรู้ด้านการดูแลทำความสะอาด ซ่อมแซม และเก็บรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    แบบบันทึกรายการผลจากสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device) โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า หรือ

      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device) โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า หรือ

      3.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ     

      1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานขณะประกอบชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ โดยสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคลระหว่างการปฏิบัติงาน

      2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่านแบบทางไฟฟ้า และตีความได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบแสดงชิ้นส่วนประกอบ และสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า

      3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องทราบศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางช่างของอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.    อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์นิรภัยที่ป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัย เชือกนิรภัย ชุดนิรภัย รองเท้านิรภัย ถุงมือ เข็มขัดพยุงหลัง ชุดป้องกันสารเคมี ฯลฯ

      2.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

      3.    เครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device) หมายถึง เครื่องมือแพทย์ที่ทำงานโดยอาศัยกำลังจากไฟฟ้า

(ค)    วัสดุและอุปกรณ์

      1.    วัสดุที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย ชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ ที่ผลิตมาสำเร็จแล้ว รวมถึงชิ้นส่วนสำหรับยึด เช่น สกรู เป็นต้น หรือวัสดุสิ้นเปลืองในการประกอบทางไฟฟ้า เช่น ฟลักซ์ และตะกั่ว เป็นต้น

      2.    อุปกรณ์ที่ควรมีประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันภัย เครื่องมือตัด เครื่องมือตัด ประแจ ไขควง เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า หัวแร้ง และแบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการอ่านและทำความเข้าใจแผ่นงาน เลือกและจัดเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์

ทางไฟฟ้า ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ในการประกอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device)

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านอิเล็กทรอนิกส์

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการอ่านและทำความเข้าใจแผ่นงาน เลือกและจัดเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ในการประกอบเครื่องมือแพทย์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและ

อุปกรณ์ทางไฟฟ้า และดำเนินการประกอบเครื่องมือแพทย์ตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านอิเล็กทรอนิกส์

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการตรวจสอบชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า และดำเนินการประกอบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง (Active Medical Device) ตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการจัดเก็บและดูแลรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านอิเลคทรอนิกส์

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการจัดเก็บและดูแลรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ