หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดพารามิเตอร์ด้วยการทุบขึ้นรูป (Forging)

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-SGQM-399A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดพารามิเตอร์ด้วยการทุบขึ้นรูป (Forging)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทำเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถทักษะในการเลือกเครื่องทุบขึ้นรูป และตั้งค่าพารามิเตอร์ในการทุบขึ้นรูป รวมถึงวางแผนและทดสอบ ดำเนินการเก็บผลความสมบูรณ์ของชิ้นงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลสรุปผลการกำหนดพารามิเตอร์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MM22.1

เตรียมเครื่องทุบขึ้นรูปและวัสดุ

1.1 เลือกเครื่องทุบขึ้นรูป

102MM22.1.01 217877
102MM22.1

เตรียมเครื่องทุบขึ้นรูปและวัสดุ

1.2 คุณสมบัติวัสดุ

102MM22.1.02 217878
102MM22.2

ตั้งค่าพารามิเตอร์

2.1 กำหนดอุณหภูมิในการขึ้นรูป

102MM22.2.01 217879
102MM22.2

ตั้งค่าพารามิเตอร์

2.2 กำหนดค่าพารามิเตอร์ในการทุบขึ้นรูป

102MM22.2.02 217880

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถอ่านแบบแม่พิมพ์

2.    สามารถอ่านสมบัติโลหะจากผลการทดสอบ ใบสมบัติวัสดุในใบรับรอง หรือ Datasheet

3.    สามารถเลือกใช้เครื่องทุบขึ้นรูปที่เหมาะสมกับแม่พิมพ์

4.    สามารถตัดสินผลการตรวจสอบ

5.    สามารถกำหนดพารามิเตอร์เพื่อใช้ในการขึ้นรูปแบบ Mass Production

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เรื่องหน่วยทางวิทยาศาสตร์

2.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทุบขึ้นรูป

3.    ความรู้เกี่ยวกับประเภทและสมบัติวัสดุ

4.    ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณแรงปิดแม่พิมพ์ และปริมาตรวัตถุดิบ

5.    ความรู้เกี่ยวกับการอ่านคุณลักษณะ (Specification) ของเครื่องทุบขึ้นรูป

6.    ความรู้เกี่ยวกับพารามิเตอร์การทุบขึ้นรูป

7.    ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบงานทุบขึ้นรูปพลาสติก

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    แบบรายงานหรือคำสั่งงานในการกำหนดขนาดและพารามิเตอร์ของเครื่องทุบขึ้นรูป

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นรูปด้วยการทุบขึ้นรูป หรือ

      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นรูปด้วยการทุบขึ้นรูป หรือ

      3.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

       เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะการใช้งานเครื่องทุบขึ้นรูป

      2.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีทักษะในการใช้เครื่องคิดเลขเพื่อช่วยคำนวณ

      3.    ผู้เข้ารับการทดสอบควรมีความเข้าในด้านสมบัติโลหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิในการขึ้นรูป

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการเตรียมเครื่องทุบขึ้นรูปและวัสดุ

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการทุบขึ้นรูป

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการตั้งค่าพารามิเตอร์

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการทุบขึ้นรูป

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ